การประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ACSC) และวงประชุมประชาชนอาเซียน (APF) เป็นพื้นที่ที่ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในอาเซียนได้พยายามเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในขบวนการขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านเสียงของประชาชนไปสู่ผู้นำอาเซียนและกลุ่มผู้ตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ อาเซียนซัมมิท
เวทีล่าสุดที่ผ่านมาเป็นเวทีปีที่ 17 มีการประชุมเมื่อ 3-5 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยมีการจัดงานภายใต้ธีมหลัก “ปกป้องและยืนยันพื้นที่ของภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน เพื่อมุ่งสู่ความเท่าเทียมและสังคมที่เป็นธรรม”
ซึ่งในงานประชุมครั้งนี้ก็มีตัวแทนภาคประชาชนและประชาสังคมมากกมายจากประเทศไทยไปร่วมแลกเปลี่ยนด้วย ทั้งในฐานะคณะกรรมการจัดงาน ผู้จัด Workshop ผู้นำเสนอ และผู้เข้าร่วม กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้มีโอกาสไปร่วมงานนี้เห็นว่าพื้นที่นี้เป็นอีกพื้นที่ที่เราจะได้ส่งเสียงเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและควรสนับสนุนให้มีคนรุ่นใหม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในระดับภูมิภาคมากขึ้นอีกในปีต่อๆ ไป จึงได้ริเริ่มให้มีวงสนทนาแลกเปลี่ยน “17 ปี เวทีประชาชนอาเซียน (APF) การเปลี่ยนผ่าน และก้าวต่อไปของคนรุ่นใหม่“ ขึ้นมา
เวทีนี้เป็นความร่วมมือของ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (Thai Volunteer Services), Amnesty international Thailand, SEM, สำนักข่าวประชาไท, The Mekong Butterfly, ETOs Watch Coalition (เครือข่ายการติดตามการลงทุนไทยและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน) และอื่นๆ
สำหรับ ‘สันติภาพและความมั่นคงของมนุษย์’ (Peace and Human Security) ก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจในเวที ACSC/APF 2022 ที่ประกอบไปด้วยประเด็นอื่นๆ ได้แก่
- ปกป้องพื้นทีของภาคประชาสังคม จากระบอบทหารและอํานาจนิยม (Defending Civic Space from Militarism & Authoritarianism)
- เผชิญหน้าระบอบเสรีนิยมใหม่ เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม ภูมิอากาศที่เป็นธรรม และอธิปไตยทางอาหาร (Combating Neoliberalism for Economic Justice, Climate Justice, and Food Sovereignty)
- ชีวิตทีมีศักดิศรี : การคุ้มครองทางสังคม งานทีมีคุณค่า และการบริการด้านสุขภาพถ้วนหน้า หลังการฟื้นตัวจากการระบาด ของโควิด-19 (Life with Dignity: Social Protection, Decent Work, and Healthcare for All in the Post COVID-19 Recovery)
- สันติภาพและความมันคงของมนุษย์ (Peace and Human Security)
- ภูมิภาคนิยมที่เป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Peoples’ Alternative Regionalism)
ว่าด้วยเรื่อง สันติภาพและความมันคงของมนุษย์ (Peace and Human Security)
หากเริ่มต้นจากคำถามที่ว่าถ้าไม่สามารถรักษาเสถียรภาพและความสงบสุขภายใต้ความขัดแย้งที่รุนแรงได้ จะนำไปสู่การทำลายล้างทั้งชีวิตโครงสร้างทางเศรษฐกิจ หรือว่าสังคม อย่างไร?
ประชากรโลกสามารถที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจ รวมถึงแสวงหาแนวทางเพื่อการปฏิรูปทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อสามารถลดภัยคุกคามของความขัดแย้งที่รุนแรงในระยะยาวได้อย่างไร?
การแลกเปลี่ยนในห้อง Convergence Space ในครั้งนี้ ก็มีการพูดถึงเรื่อง สันติภาพและความมันคงของมนุษย์ (Peace and Human Security) โดยกล่าวถึง Common Security 2022 ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวโยงกับตัว บทสรุปของเวที (joint statement) ที่ในเนื้อหาของก็มีการพูดถึง ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการจัดการกับปัญหาในแต่ละหัวข้อต่างกันไป มาดูกันว่ามีเนื้อหาอย่างไรบ้าง
ในปัจจุบันนี้บริเวณอินโด-แปซิฟิก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กําลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน มีปัญหาที่ความซับซ้อนอย่างมากในโลกสมัยใหม่นี้ ขณะที่ตัวละครอย่างชาติมหาอํานาจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน เป็นหนึ่งในปัจจัยใจที่ทำให้สถานการณ์ในแทบจะทั่วทุกภูมิภาคมีความซับซ้อนขึ้น เช่น เรื่องราวในยูเครน ที่แสดงให้เห็นถึงการละเลยกฎหมายระหว่างประเทศ ภายใต้สันติภาพและความมั่นคงด้วยรูปแบบการดำเนินการทหาร หรือแม้แต่สถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมาร์ ก็เป็นอุปสรรคในการขัดขวางการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ร่วมถึงการอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ‘คนรุ่นใหม่’ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีปัญหาอื่นๆ เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนในแต่ละพื้นที่เช่นกัน
จุดที่น่าสนใจในการพูดคุยครั้งนี้คือ ภัยคุกคามที่ไม่เป็นไปตามแบบ (Non-traditional threats / Non-Traditional Security) คือ ปัญหาความมั่นคงที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม แบบดั้งเดิมมักจะมุ่งเน้นไปที่การทหาร อำนาจอธิปไตย เอกราช
ซึ่งภัยคุกคามที่ไม่เป็นไปตามแบบนี้ถือเป็นความท้าทายต่อการอยู่รอดและความเป็นอยู่ที่ดีของเราทุกคน ภัยคุกคามนี้จะมาในคราบของ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมรวมถึงความมั่นคงด้านสภาพอากาศ
- การขาดแคลนทรัพยากร/ขาดแคลนอาหาร : พลังงาน น้ำและอาหาร, สงครามทรัพยากร
- โรคระบาด ติดเชื้อ
- ภัยธรรมชาติ การจัดการภัยพิบัติ (รวมถึงบทบาทของทหารในการบรรเทาภัยพิบัติ)
- การอพยพ- การย้ายถิ่นฐาน /การลักลอบขนคนเข้าเมือง
- การค้ายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ
- ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ การการทุจริต และการก่อการร้าย
สิ่งเหล่านี้เหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างไร้ขอบเขต คือเกิดขึ้นในพื้นที่ข้ามชาติ ไม่สามารถที่จะเยียวยาฝ่ายเดียวได้ เพราะต้องการการตอบสนองที่ครอบคลุมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กำลังทางทหาร เพื่อมนุษยธรรมและความเป็นธรรม
ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยของปัญหาย่อยที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากการโจมตีทางทหารและระบบอาวุธทั่วไป เทคโนโลยีพลเรือนใหม่ๆ เช่น โดรน หรือ ปัญญาประดิษฐ์ กำลังเปลี่ยนสนามรบและพื้นที่รักษาความปลอดภัยแบบเดิมๆ ไปแล้ว และมีความซับซ้อนอยู่มากในเซาท์อีชก็ประสบกับปัญหาย่อยตามนี้เช่นกัน
อีกทั้งประเด็นนี้ยังไม่ได้เป็นประเด็นกระแสหลักที่ถูกพูดถึงซักเท่าไหร่ดังนั้น เครื่องมือและวิธีการจัดการกับความท้ายทายเหล่านี้ ในศตวรรษนี้จำเป็นอย่างมาก
ซึ่งในเวที ACSC/APF 2022 ก็มีข้อเสนอสำหรับหัวข้อ “สันติภาพและความมันคงของมนุษย์ (Peace and Human Security)” ออกมาทั้งหมด 4 ข้อ
9. ดําเนินการอย่างแข็งขันเป็นขั้นเป็นตอนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ทังนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อตกลงสันติภาพ ณ กรุงปารีส 1991 (ของกัมพูชาสามฝ่าย) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล และให้หลีกเลียงการใช้กําลัง หรือคุกตามด้วยกําลังในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ควรเป็นการส่งเสริมการเจรจาเพื่อจัดการกับปัญหาความขัดแย้งและเปิดพื้นที่สําหรับกระบวนการเจรจาเพื่อความมั่นคงร่วมกัน
10. ดําเนินการอย่างเป็นขั้นตอนในการปรับลดงบประมาณรายจ่ายทางการทหาร และถ่ายโอนทรัพยากรไปตอบสนอง ความต้องการทางสังคม อีกทังต้องมีความโปร่งใสในการติดตามตรวจสอบบัญชีการซื้อขายอาวุธยุทโธปกรณ์ สนับสนุนให้รัฐภาคีลงสัตยาบันสนธิสัญญาการห้าม (ใช้หรือผลิต) อาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย และขยายพื้นที รูปแบบเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคอาเซียนไปยังภูมิภาคอื่นทั่วโลก รวมทั้งเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ
11. ดําเนินการอย่างแข็งขันในการจัดการกับ ภัยคุกคามที่ “ไม่เป็นไปตามแบบ” (Non-traditional threats) ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ และวิถีชีวิตทียั่งยืน รวมถึงการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ประกันความมั่นคงทางอาหาร และพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ใช่พลังงานนํ้า อีกทั้งการปกป้องทรัพยากรนํ้าในแม่นํ้าโขงด้วย
12. อาเซียนพึงยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชน และสถาปัตยกรรมบนฐานคิดสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค และกลไกที่ประชาชนอาเซียนมีบทบาทนําทีสําคัญในการสร้างสันติภาพของมนุษยชาติ ความมั่นคง และสิทธิมนุษยชน
ซึ่งก็สอดคล้องกับ เนื้อหาใน Convergence Space (Peace and Human Security) ที่เป็นเรื่องของ : Common Security นั่นก็คือ ความมั่นคงทั่วไป เรื่องนี้ถูกเริ่มคุยกันในปี 1982 จากคณะกรรมาธิการอิสระว่าด้วยการลดอาวุธและปัญหาความมั่นคง นำโดยนายกรัฐมนตรี Olof Palme ของสวีเดน ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง Common Security: A Program for Disarmament
ความตึงเครียดจากสงครามเย็น แนวโน้ม และผลที่ตามมาของความขัดแย้งในประเด็นนิวเคลียร์ สงคราม ว่าอาจจะเป็นหายนะสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เลยได้มีการพัฒนาแนวคิดของความมั่นคงทั่วไปถึง “ความร่วมมือกันจะสามารถทำให้ความปลอดภัยอย่างที่มนุษย์ต้องการ” เพราะในท้ายที่สุดแล้ว ประเทศและประชากรจะรู้สึกปลอดภัยก็ต่อเมื่อพวกเราทุกคนรู้สึกปลอดภัยด้วยเช่นกัน
แต่ตอนนี้โลกเปลี่ยนไปมากจากสี่สิบปีที่แล้ว ในเนื้อหาของ Common Security 2022 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนให้เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับยุคสมัย ซึ่งในรายงานนี้ก็ได้มีการกำหนดหลักการใหม่ 6 ข้อสำหรับ Common Security ที่สะท้อนให้เห็นถึงภัยคุกคามใหม่และความซับซ้อนของโลกสมัยใหม่
1. ทุกคนมีสิทธิในความมั่นคงของมนุษย์ : เสรีภาพจากความกลัว และเป็นอิสระจากความต้องการ
2. การสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศและประชาชนเป็นพื้นฐาน การดำรงอยู่ของมนุษย์อย่างสันติและยั่งยืน
3. จะไม่มีความปลอดภัยร่วมกันหากไม่มีการปลดอาวุธนิวเคลียร์ ข้อจำกัดอย่างมากเกี่ยวกับอาวุธธรรมดาและการทหารที่ลดลงรายจ่าย.
4.ความร่วมมือระดับโลกและระดับภูมิภาค พหุภาคี และการปกครองของ
กฎหมายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ของโลก
5.การเจรจา มาตรการป้องกันความขัดแย้งและการสร้างความเชื่อมั่น ต้องแทนที่การรุกรานและการใช้กำลังทางทหารเป็นวิธีการยุติข้อพิพาท
6.กฎระเบียบที่ดีขึ้น กฎหมายระหว่างประเทศ และธรรมาภิบาลที่มีความรับผิดชอบจำเป็นต้องขยายให้ครอบคลุมเทคโนโลยีทางการทหารใหม่ๆ เช่น ในอาณาจักรแห่งไซเบอร์สเปซ อวกาศรอบนอก และ “ปัญญาประดิษฐ์”
ในช่วง Press conference ก็มีการพูดคุยและสอบถามถึงประเด็นนี้เช่นเดียวกัน
จากคำถามของผู้เข้าร่วม
- พวกเราเรายังสามารถเชื่อเรื่องสันติภาพและความมั่นคงของมนุษย์ได้หรือไม่ ในภูมิภาคของเรา ?
- สันติภาพและความมั่นคงของมนุษย์จะเป็นจริงได้ไหม มาพร้อมกับกฎหมาย หรือปัจเจกบุคคล
- ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดข้อตกลงอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะสามารถคงไว้ซึ่ง สันติภาพและความมั่นคงของมนุษย์ ไว้ได้ในภูมิภาคของเรา?
โดยคำตอบจากตัวแทนก็ได้กล่าวไว้ว่า
” เขาคิดว่าถ้าประชากรในอาเซียนสามารถตอบคำถามนี้ได้ คงเป็นเรื่องที่ดี แต่ปัจจุบันนี้รัฐบาลหลายที่ยังไม่สามารถที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้เลย คิดว่าถ้าเรามองโลกปัจจุบันนี้จะเห็นว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างที่จะซับซ้อนมาก เพราะมีความขัดแย้งในทั่วโลก และยังมีประเด็นอีกมากมาย ถ้าพวกเราไม่สามารถหาทางออกในเรื่องของสันติภาพและความมั่นคงของมนุษย์ได้ในโลกนี้ได้ สงครามโลกครั้งที่สามคงจะเกิดขึ้นได้ง่ายในอีกไม่นานนี้ เราอาจจะต้องกลับมองมาที่ปัญหาฐานรากเกี่ยวกับสถานการณ์การเพิกเฉยต่อ international law สิ่งเหล่านี้คือพลังที่สำคัญ
หลายประเทศคุยกันเรื่อง National security เนื่องจากประเด็นของการใช้พลังงานอาวุธสงครามนิวเคลีย ก็ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามครั้งใหญ่ของโลก
สำหรับรัฐกับประชาชน เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ การแสดงออกถึงการเคารพ กฎหมายโลก เพื่อส่งเสริมอธิปไตยของชาติและส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ ไม่เพียงแต่ ความมั่นคงของชาติเท่านั้น ความมั่นคง ของมนุษย์ควรเป็นหนึ่งเดียว และ นี่คือสิ่งที่เราควรที่จะเข้าอกเข้าใจสิ่งหรือประเด็นนี้ เพราะความสงบสุขเกิดจากภายในของแต่ละคน ถ้าเราสามารถสนับสนุนวัฒนธรรม ความเชื่อในเรื่องสันติภาพและความสงบสุขได้ ด้วยพวกเราทั้งหมดเอง เราก็จะสามารถที่จะมีส่วนช่วยกันในเรื่องนี้ได้ “
#ACSC #APF #ACSCAPF2022 #สันติภาพและความมั่นคงของมนุษย์ #PeaceandHumanSecurity