“โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมสร้างพลังชุมชนสู่สังคมสุขภาวะ”  หรืออาสาคืนถิ่น เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) มีความมุ่งหวังให้คนรุ่นใหม่ ที่มุ่งมั่นจะกลับไปทำงานในชุมชน/บ้านเกิดของตนเองหรือมีความตั้งใจที่จะตั้งถิ่นฐานในภูมิลำเนาประเทศไทย เพื่อสร้างฐานยังชีพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนาสัมมาชีพ ค้นหาทิศทางการอยู่รอด อยู่ร่วมในชุมชน เพื่อการเปลี่ยนแปลง อาทิ การทำเกษตรอินทรีย์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม นวัตกรรมชุมชน การพัฒนางานศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธุรกิจชุมชน ฯลฯ  โดยมีวาระการเป็นอาสาสมัครเต็มเวลา  1 ปี

ความเป็นมาของโครงการอาสาคืนถิ่น

มอส. ได้ดำเนิน “โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมสู่ชุมชนบ้านเกิด” ในปี 2556 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มาอย่างต่อเนื่อง ภารกิจของ มอส. คือการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจปัญหาชุมชน สังคม มีทักษะในการทำงาน และมีหัวใจอาสาสมัคร เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านเกิดควบคู่ไปกับการสร้างฐานการยังชีพของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่ชุมชน ที่มีคนหนุ่มสาว เป็นพลังสำคัญ เชื่อมโยง สร้างความเข้มแข็งในครอบครัว รวมถึงการสร้างกระบวนการที่ให้คนหลากหลายวัยในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดสุขภาวะทางปัญญาที่พร้อมจะเผชิญการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

ในปี 2557 – 2562 มอส.ร่วมกับวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ)ในภาคเหนือ ดำเนินการรับและส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับ อาสาสมัครรุ่น 1-3 ที่มีภูมิลำเนาบ้านเกิดในภาคเหนือมีอาสาสมัครร่วมทั้งสิ้น 45 คน, ปี 2563 มอส.ขยายบทเรียนการทำงานไปยังภาคอีสาน โดยร่วมกับสถาบันการจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ดำเนิน “โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมสร้างชุมชนยั่งยืน” รับอาสาสมัครรุ่นที่ 4 ที่มีภูมิลำเนาในภาคอีสาน 15 คน, ปี 2564 มอส.ได้ขยายบทเรียนการทำงานเพิ่มมากขึ้น โดยความร่วมมือจาก สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน พร้อมคณะทำงานโครงการฯ มอส. ได้ดำเนิน “โครงการอาสาสมัครร่วมสร้างสังคมยั่งยืน” โดยเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่กลับบ้าน ภาคเหนือ, ภาคอีสาน และภาคกลาง ซึ่งผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 16 คน อีกทั้ง มอส. ได้เปิดพื้นที่ในการต่อยอดและสร้างการเรียนรู้ของอาสาคืนถิ่นรุ่น 1-4 ร่วมกับอาสาคืนถิ่นรุ่น 5 โดยมีอาสาฯ ที่เข้าร่วม จำนวน 8 คน อีกทั้ง มอส. ได้ขยายแนวความคิดให้เกิดรูปแบบ “อาสาสมัครนักสนับสนุน” บุคคลทั่วไปที่มีทักษะเฉพาะด้านตรงกับความต้องการของอาสาคืนถิ่น เข้ามาเรียนรู้เพื่อที่จะให้อาสานักสนับสนุนและอาสาคืนถิ่นได้ทำงานร่วมกัน มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนชุมชนของอาสาคืนถิ่น เกิดบทเรียนในการทำงานเพื่อสังคม เกิดเครือข่ายการทำงานที่กว้างขึ้น

มอส. ได้ดำเนินการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่กลับไปชุมชนบ้านเกิดของตนเอง และสร้างสรรค์ชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาฐานยังชีพงานในเกษตรอินทรีย์ งานศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชน ฯลฯ “อาสาคืนถิ่น” มีวาระ 9 เดือน – 1 ปี โดยมีกระบวนการรับสมัคร คัดเลือก กระบวนการเรียนรู้ทั้งการฝึกอบรมสัมมนา 3-4 ครั้ง  การศึกษาดูงาน การติดตามหนุนเสริมในพื้นที่ เพื่อให้เข้าใจตนเอง ชุมชน สังคม บทบาทของการเป็นอาสาสมัคร   การพัฒนาความเข้าใจและทักษะในการประกอบการทางสังคม ทักษะการสื่อสาร  การสรุปบทเรียน เป็นระยะ ๆ ตลอดวาระ 1 ปี รวมทั้งสนับสนุนค่ายังชีพในเบื้องต้น ทุนการเรียนรู้เฉพาะด้าน ทุนผลิตสื่อเพื่อการสื่อสาร ทุนการเรียนรู้ประเด็นร่วม และทุนในการทำโครงการในชุมชนที่สอดคล้องหรือต่อยอดกับการสร้างฐานยังชีพในระยะยาวโดยร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ เกิด “จิตสำนึกใหม่” ที่กล้าคิด กล้าทำในการพัฒนาชุมชน ผ่านการดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นจนถึงการประเมินผล ปัจจุบันมีอาสาสมัครที่ผ่านกระบวนการของโครงการทั้งหมด 76 คน 23 จังหวัด

วัตถุประสงค์

  1. พัฒนาคนรุ่นใหม่กลับบ้าน ที่พร้อมและมีใจในการพัฒนาตนเอง สู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) มีความตั้งใจในการกลับไปฟื้นพลังชุมชน พัฒนาชุมชนบ้านเกิดให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้สังคมวิกฤติ โควิด 19 เข้าร่วมกระบวนการอาสาคืนถิ่น รุ่น 6 จำนวน 20 คน ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
  2. พัฒนาคนรุ่นใหม่กลับบ้านให้สามารถเท่าทันสื่อ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์สังคม สามารถสร้างกระบวนการสื่อสารให้คนทุกวัยในชุมชนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะ
  3. พัฒนาเครือข่ายคนรุ่นใหม่กลับบ้านให้เข้มแข็ง (อาสาคืนถิ่นรุ่น 1-6 และกลุ่มอื่นๆ) มีการสื่อสารเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ สนับสนุนซึ่งกันและกันทั้งในด้านที่เป็นพื้นที่เรียนรู้และการทำกิจกรรม สร้างสรรค์ร่วมกันเป็นนิเวศที่เกื้อกูลให้เกิดแนวร่วมการทำงานอย่างเข้มแข็ง
  4. พัฒนาการสื่อสารสาธารณะ เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับอาสาคืนถิ่น คนรุ่นใหม่กลับบ้าน เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆในโซเซียลมีเดีย สื่อสารธารณะ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความเข้าใจ โดยจะเกิดฐานข้อมูลบุคคล ที่เป็นอาสาคืนถิ่น รุ่น 1-6 เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง และเกิดสื่อต่างๆ อย่างน้อย 20 ผลงาน
  5. สร้างองค์ความรู้จัดทำหลักสูตรคนรุ่นใหม่กลับบ้าน เพื่อขยายผลการทำงาน เกิดความร่วมมือกับองค์กร ภาคีเครือข่ายเกิดเป็นโมเดล เครื่องมือการทำงานเพื่อการอยู่รอด อยู่ร่วมและอยู่อย่างเท่าเทียมในชุมชนของคนรุ่นใหม่กลับบ้าน

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. อายุระหว่าง 22 35 ปี
  2. มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 2 ปี
  3. มีแนวคิด ความมุ่งมั่น เพื่อสร้างฐานยังชีพ และพัฒนาชุมชน/บ้านเกิด
  4. พร้อมเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพทุกกระบวนการตลอดระยะเวลา ปี
  5. มีบุคคลหรือองค์กรที่รู้จักท่านดี ลงนามรับรองการสมัครของท่าน

สิ่งที่อาสาสมัครจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ

  1. เข้าใจตนเอง เข้าถึงชุมชน เชื่อมโยงสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
  2. การออกแบบ การสร้างชุมชนย่างมีส่วนร่วม (Inclusive City)
  3. การสื่อสารเพื่อสร้างวิถีชีวิตใหม่ (Media Information and Digital Literacy)
  4. ปฏิบัตการชีวิต (Life Project)
  5. ทักษะการจัดการโครงการอย่างเป็นระบบ (Project Management Skills)
  6. พื้นที่ชีวิตของคนรุ่นใหม่กลับบ้าน (Return Homeland Network)

การสนับสนุนจากโครงการ

  • ทุนสนับสนุนการดำเนินงาน เดือนละ 3,000 บาท (8 เดือน)
  • ทุนปฏิบัติการชีวิต Life Project 10,000 บาท
  • พี่เลี้ยงโครงการ (Mentor)
  • ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • ทุนการเรียนรู้เฉพาะด้าน/กลุ่ม
  • ทุนสนับสนุนการสื่อสาร

รายละเอียดการสมัคร

***โปรดอ่านรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนสมัคร***

วิธีการรับสมัคร (2 วิธี)

  1. สมัครผ่าน Google Form
  2. ดาวน์โหลดใบสมัครส่งไปรษณีย์
  • ปิดรับสมัคร 12 พฤษภาคม – 12 มิถุนายน 65
  • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก (พิจารณาจากใบสมัครและคลิปวิดิโอ) วันที่ 14 มิถุนายน 65
  • ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จะต้องเข้าสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 65  ณ สำนักงานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม หรือทางออนไลน์ (Zoom)
  • ผู้ที่ผ่านรอบสัมภาษณ์ทั้ง 20 คน จะต้องเข้าร่วม Module 1 ปฐมนิเทศทุกวันระหว่าง วันที่ 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 65 และสามารถเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ตลอดวาระ 1 ปี
  • ตลอด 1 ปี อาสาสมัครจะกลับไปปฏิบัติงานในชุมชนตนเอง โครงการฯ จัดการเรียนรู้ เป็นระยะๆตลอดวาระ โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครให้สามารถพัฒนาตนเองสามารถสร้างฐานยังชีพ ทิศทางการ “อยู่รอด อยู่ร่วม”กับชุมชน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน และสานเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งต่อไป การเรียนรู้ประกอบด้วย 4 Module ได้แก่
    • Module 1 สัมมนาก่อนปฏิบัติการ : รู้จักตัวเอง รู้จักเพื่อน  เรียนรู้วิเคราะห์สังคม ชุมชน โลกาภิวัตน์   เรียนรู้เครื่องมือการศึกษาชุมชน  และบทบาทการเป็นอาสาสมัคร  มีโจทย์กลับไปศึกษาในชุมชนตนเอง  
    • Module 2 สัมมนาครบ 6 เดือน สรุปบทเรียน ความก้าวหน้าในการพัฒนางานในชุมชนตนเอง  แลกเปลี่ยนงาน ความคิด ชีวิต จิตใจ  / การพัฒนาความรู้ทักษะในเรื่องร่วม 
    • Module 3 สัมมนาครบวาระ  10 เดือน สรุปบทเรียน นำเสนอการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง
    • Module 4 สัมมนาครบวาระ 1 ปี วาะระเครือข่ายอาสาคืนถิ่นรุ่น 1-6 พื้นที่เพื่อน พื้นที่ของคนรุ่นใหม่กลับบ้าน เวทีสาธารณะ

หมายเหตุ

ประเด็นในการเรียนรู้ มีการปรับให้สอดคล้องความสนใจ และบริบทของอาสาสมัคร

สอบถามรายละเอียดและขอใบสมัครได้ที่

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

โทร : 0269104378

ติดต่อผู้ประสานงาน

นราธิป : 087-0267347 

สรรเพชญ : 092-9932363

ดาวน์โหลดใบสมัครได้ 4 ช่องทาง

ช่องทางที่ 1 เว็บไซต์ http://www.returnhomeland.com 

ช่องทางที่ 2 เว็บไซต์ http://www.thaivolunteer.org 

ช่องทางที่ 3 เฟสบุ๊คเพจ : อาสาคืนถิ่น-Return Homeland

ช่องทางที่ 4 เฟสบุ๊คเพจ : มอส-Thai Volunteer Service