ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

ปัจจุบันพื้นที่เรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่สามารถก้าวข้ามขอบเขตแบบเดิมผ่านการขยายออกไปถึงพื้นที่ในชุมชนที่มีระบบนิเวศการเรียนรู้ ด้วยแนวทางที่หลากหลายของแต่ละพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 

พื้นที่เรียนรู้ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ทางกายภาพเท่านั้น แต่เป็นกรอบแนวคิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ทำให้เด็กและเยาวชนมีความอยากรู้อยากเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการ การมีอิสระในการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในพื้นที่ชุมชนที่มีรากเหง้า จะนำไปสู่การสำรวจตนเอง และความชอบเฉพาะของแต่ละบุคคล 

จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติการสร้างพื้นที่เรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนของทุกพื้นที่ ตั้งแต่เริ่มต้นทำความเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ (Learning by doing) เพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้ตามศักยภาพบนฐานชุมชนอย่างยั่งยืน นำไปสู่ข้อค้นพบจากทั้ง 5 พื้นที่ได้แก่

  1. บ้านหนองเลาและบ้านธาตุภูซาง จังหวัดพะเยา
  2. ชุมชนลุ่มน้ำแม่ทาตอนกลาง จังหวัดลำพูน
  3. บ้านห้วยขมิ้น จังหวัดเชียงใหม่
  4. บ้านตามุย จังหวัดอุบลราชธานี
  5. บ้านปากลัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ข้อค้นพบจากการเดินทางของ 5 พื้นที่เรียนรู้

ตลอดระยะเวลา 1 ปี ชี้ให้เห็นถึงวิวัฒนาการที่สำคัญจากการพัฒนาหลักการแนวคิดไปสู่กระบวนการสร้างพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมภายในชุมชน 

ความสำเร็จของ การสร้างพื้นที่เรียนรู้บนฐานชุมชนอย่างมีส่วนร่วม นั้นประกอบไปด้วย “คนรุ่นใหม่” ที่มีอุดมการณ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทหลัก (Key Actor) ในการขยายการมีส่วนร่วมกับผู้คนในชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น และเครือข่าย ร่วมด้วยทีมทำงานที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับพัฒนาด้านเด็กและเยาวชนเข้ามาช่วยกันสนับสนุน ภายใต้กรอบคิดในการสร้างพื้นที่เรียนรู้ตามความเข้าใจในบริบทของพื้นที่ การมีพื้นที่เรียนรู้ที่ถูกออกแบบและสร้างจาก “คนในชุมชน” สะท้อนถึงความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ และเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มกันเพื่อดูแลลูกหลานในชุมชน 

ในขณะที่ การจัดกิจกรรม/โปรแกรม/หลักสูตรการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านการบูรณาการความรู้ ฝึกฝนอาชีพ สำรวจระบบนิเวศชุมชน ศิลปะและดนตรี หรือการเล่นอิสระ โดยมุ่งเน้นไปที่การเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ และพัฒนาไปสู่การเป็นพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบได้ในอนาคต

เมื่อทุกพื้นที่มองเห็น แนวทางหรือรูปแบบพื้นที่เรียนรู้ที่หลากหลาย นำมาสู่ความสามารถในการประกอบร่าง สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของชีวิต วัฒนธรรม สังคม และการเรียนรู้ไปจนถึงการเล่นที่แตกต่างกันไป ทุกกิจกรรมและการเล่นมีความหมายที่ไปไกลกว่าการเสริมสร้างพัฒนาการตามช่วงวัย การเข้าใจตนเองและวิถีชุมชน ผ่านการเล่นอิสระโดยของเล่นที่ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติในพื้นที่จากช่างไม้ในชุมชน ทำให้เด็กและเยาวชนมีสมรรถนะการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษา

ขยายโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้

การไปต่อของ 5 พื้นที่จะยังคงดำเนินการพัฒนาต่อไป โดยมี 2 พื้นที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์บ่มเพาะ เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ใหม่ๆ โดยแต่ละชุมชนจะได้รับการติดเครื่องมือ จัดสรรทรัพยากร และการสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ที่มีอยู่ให้กลายเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชน การขยายตัวนี้จะไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นเท่านั้น แต่อาจขยายไปถึงสถาบันการศึกษา ส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดอีกด้วย

พื้นที่อีก 3 แห่ง ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการในช่วงริเริ่ม จะขยายการทำงานร่วมกับเครือข่าย เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงาน และการแบ่งปันความรู้ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการเรียนรู้ไปจนถึงผู้ที่สนใจ แต่พื้นที่ทั้งหมดจะเชื่อมต่อถึงกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างความร่วมมือ และขยายขอบเขตผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย

อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของ โครงการคนรุ่นใหม่กับการออกแบบพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อสังคมสุขภาวะ (Community-based Learning space) คือการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และการทำงานร่วมกันระหว่างคนทำงาน ด้วยกระบวนการสร้างพื้นที่ที่เชื่อมต่อถึงกัน สามารถแบ่งปันข้อมูลเชิงลึก สำรวจแนวคิดใหม่ๆ และสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน กระบวนการทำงานเหล่านี้ไม่เพียงแต่เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความคิด ความรู้สึก และการเป็นส่วนหนึ่งของผู้เข้าร่วมอีกด้วย

การเดินทางของทุกพื้นที่ใน 1 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียนที่มีการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม มีศักยภาพในการส่งเสริมผู้เรียนทุกวัย เพราะมีการให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยการทำงานร่วมกันของ นักคิด นักปฏิบัติ ที่จะเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในรุ่นต่อไป ทุกพื้นที่ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายและเสริมสร้างพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้

หากคุณคือคนที่สนใจเรื่องราวของการเรียนรู้หรือการศึกษาของเด็กและเยาวชนในไทย

เตรียมพบกับ 5 พื้นที่ใหม่ในปีนี้ ที่จะร่วมเดินทางเรียนรู้ไปด้วยกัน 

โดยขณะนี้เราเปิดรับสมัครแล้ว 5 พื้นที่ หากสนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai