“โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า HUMAN RIGHTS VOLUNTEER PROJECT – HRVP เป็นโครงการที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ที่มีความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อสังคมได้มีโอกาสเรียนรู้ พัฒนาตนเองทั้งด้านความคิด มุมมอง ทัศนคติทางสังคมพัฒนาความสามารถในการทำงาน ภายใต้โครงการ “โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน” โดยการปฏิบัติงานกับองค์กรที่ทำงานเชื่อมประสานกับผู้ที่ถูกละเมิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อเป็นการจุดไฟให้กับคนหนุ่มสาว เหล่านั้น ไปต่อยอดที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคม ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะไปเติบโตอยู่ ณ ที่ใด

ในแต่ละปี มอส. จะดำเนินการคัดเลือก ฝึกอบรมและจัดส่งอาสาสมัครเข้าไปทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศ โดยอาสาสมัครได้รับทุนสนับสนุนการเรียนรู้ในแต่ละเดือนที่เพียงพอต่อการยังชีพ ในระหว่างวาระการเป็นอาสาสมัครนั้น ฝ่ายอาสาสมัครจะมีกระบวนการพัฒนาศักยภาพให้กับอาสาสมัครทั้งงานทางด้านความคิด ทางด้านชีวิต ทางด้านจิตใจ โดยใช้กระบวนการนำบทเรียนหรือประสบการณ์ที่พบเจอจากการทำงานของอาสาสมัครเอง หรือวิทยากรให้ความรู้เฉพาะทำงที่อาสาสมัครจะสามารถนำไปใช้ในงาน ประเด็นการทำงานที่อาสาสมัครได้เข้าไปทำงานร่วมด้วย เช่น ประเด็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ประเด็นสิ่งแวดล้อม ประเด็นแรงงานทั้งแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย ประเด็นผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ประเด็นผู้หญิง ประเด็นที่ดิน ประเด็นสิ่งแวดล้อม คดีความมั่นคง เป็นต้น

โดยในปัจจุบัน (พ.ศ.2567) มีอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนทั้งหมด 18 รุ่น จากการดำเนินโครงการของมูลนิธินั้น ได้ก่อเกิดการจัดตั้ง เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนขึ้นมาและปัจจุบันได้จดทะเบียนเป็นสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผลของการที่อดีตอาสาสมัครได้รวมตัวกันขึ้นมาเพื่อทำกิจกรรมต่อเนื่อง และเป็นพื้นที่ให้กับอดีตอาสาสมัครและคนที่สนใจในประเด็นสิทธิมนุษยชนได้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยน พูดคุยและทำกิจกรรมทำงสังคมร่วมกัน

มอส. เห็นว่านอกเหนือสิ่งอื่นใดในการทำงานอาสาสมัครนั้นคือ อาสาสมัครจะได้ประสบการณ์ชีวิตที่ไม่อาจหาได้จากที่ไหน

วัตถุประสงค์

  1. เสริมสร้างนักกฎหมายและคนรุ่นใหม่ให้มีความเข้าใจปัญหาสังคม ปัญหาประชาชนผู้เสียเปรียบ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตระหนักในบทบาทที่จะใช้วิชาชีพและความรู้ให้เอื้อต่อการสร้างสรรค์สังคมที่เป็นธรรมและมีอุดมคติในการทำงานเพื่อสังคม
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีบุคลากรทำงกฎหมายและผู้ที่มีใจช่วยเหลือ ได้เข้ามาหนุนช่วยการแก้ปัญหาของ องค์กรชุมชน และหนุนช่วยการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชน และผู้ด้อยโอกาส
  3. ส่งเสริมเวทีการแลกเปลี่ยนของอาสาสมัครทั้งอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้เกิดเครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่จะหนุนช่วยกันทำงานแก้ไขปัญหาของประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิในอนาคต

ความเป็นมาของโครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน

เดิมโครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนมีชื่อว่า “โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน” ก่อตั้งและดำเนินโครงการรับอาสาสมัครมาตั้งแต่ปี 2549 โดยมีที่มาจากการประชุม ร่วมกันของนักสิทธิมนุษยชนที่ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิ นักพัฒนา นักสิทธิมนุษยชน อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอนแก่น เชียงใหม่ และมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมซึ่งมีบทบาทในการสร้างอาสาสมัครเต็มเวลาให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ประชุมได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์หลักๆ คือ

  • ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ การประกาศป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ การอพยพคนออกจากป่า ปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงาน ผู้หญิง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐ นายทุน และชาวบ้านในการใช้พื้นที่สร้างโครงการขนาดใหญ่ หรือทำเหมืองแร่ ฯลฯ ซึ่งต้องการบุคลากรด้านกฎหมายที่เข้าใจหลักการสิทธิมนุษยชนเข้าไปคลี่คลายปัญหาให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
  • ปัญหาความความขาดแคลนนักกฎหมายที่มีความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งประมาณว่ามีอยู่ไม่เกิน 25 คน ณ ช่วงเวลานั้น เพื่อเข้าไปช่วยคดีที่ชาวบ้านถูกจับ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และบ่อยครั้ง เช่น การถูกฟ้องว่าเข้าไปอยู่ในเขตอนุรักษ์ หรือเข้าทำกินในที่ดินที่มีเจ้าของ ซึ่งในทำงกฎหมายถือว่าผิด แต่ในความเป็นจริง ชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่มานาน ก่อนออกกฎหมาย หรือโดยที่เขาก็ไม่รู้ว่าอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์   รวมทั้งคดีละเมิดสิทธิในประเด็นอื่นๆ
  • การเรียนการสอนในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ยังขาดคุณภาพในการสร้างนักกฎหมายให้เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง    กระบวนการเรียน การสอน ยังเน้นการเรียนรู้ที่ตัวบทกฎหมาย ขาดการวิเคราะห์จากปัญหาจริง    วิชาสิทธิมนุษยชนยังเป็นวิชาเลือกมากกว่าวิชาบังคับ  อาจารย์ที่สอนได้ยังมีน้อยและเป็นการสอนในห้องมากกว่าการให้นักศึกษาลงไปศึกษาในพื้นที่จริง มีความเห็นร่วมว่านักกฎหมายเป็นวิชาชีพที่สำคัญสามารถตัดสินชีวิตคนได้  ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่นักกฎหมายควรได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจสังคม และปัญหาของผู้ขาดโอกาสอย่างแท้จริง

แนวคิด เป้าหมาย : สร้างนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนในระยะยาว สร้างความเป็นธรรมในสังคม

จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาดังกล่าว   นำไปสู่การริเริ่มและพัฒนาโครงการที่มีเป้าหมายเสริมสร้างบัณฑิตด้านกฎหมายให้เรียนรู้และปฏิบัติงานแก้ปัญหาด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน กับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิ ขณะเดียวกันก็สามารถสนับสนุนการทำงานขององค์กร ที่ต้องการบุคลากรด้านกฎหมาย  และการเสริมสร้างนี้จะช่วยสร้างนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่จะเข้าไปร่วมขบวนการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิ และ สร้างความเป็นธรรมในสังคมในระยะยาว

ลักษณะโครงการฯ กลไกในการขับเคลื่อน

โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนถูกออกแบบให้มีการรับสมัครผู้ที่จบปริญญาตรีด้านกฎหมายและสาขาอื่นๆที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจไปปฏิบัติงาน ในองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิฯในประเด็นต่างๆ เป็นระยะเวลา 1 ปี ในฐานะอาสาสมัครเต็มเวลา   โดยถือว่าการเรียนรู้ในองค์กรเป็น “การเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติงาน” และยังมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ เป็นระยะๆระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อเสริมความรู้ การวิเคราะห์สถานการณ์ การสรุปบทเรียน การเสริมสร้างพลังใจ อุดมการณ์ในการทำงาน และการสร้างเครือข่ายระหว่างอาสาสมัคร อาสาสมัครจะมีค่ายังชีพรายเดือนจนครบ 1 ปี และมีเงินสมทบให้เมื่อครบวาระ

กลไกลขับเคลื่อนงานคือ คณะกรรมการโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วยคณะผู้ก่อตั้งและผู้ที่เชิญมาประมาณ 8-10 คน เพื่อช่วยกำกับทิศทางออกแบบหลักสูตร ประเมินผล มอส.เป็นองค์กรเลขา และองค์กรหลักในการพัฒนาโครงการฯหาทุนจากแหล่งต่างๆ และดำเนินงานในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีประสบการณ์เรื่องการเสริมสร้างคนหนุ่มสาวให้ทำงานเพื่อสังคม

กระบวนการทำงาน มอส.ได้ดำเนินการโครงการฯ มาถึงรุ่นที่ 14 (ปี พ.ศ. 2562) โดยในรุ่นที่ 8-14 มอส.เปิดโอกาสให้คนที่ไม่จบกฎหมายเข้ามาร่วมกับกระบวนการด้วยจึงได้ปรับชื่อเป็น “โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน”

กระบวนการของงานอาสาสมัคร 1 ปี

  1. การประสานงานกับองค์กรภาคี ในการเป็นพื้นที่เรียนรู้และปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
  2. กระบวนการคัดเลือกอาสาสมัคร โดยมีการประชาสัมพันธ์ และขั้นตอนการคัดเลือก
  3. กระบวนการฝึกอบรม-สัมมนา จำนวน 4 ครั้ง คือ วาระปฐมนิเทศ วาระ 4 เดือน วาระ 8 เดือน และวาระ 1 ปี
  4. กระบวนการติดตาม องค์กร และอาสาสมัครระหว่างการปฏิบัติงาน

การสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคี

องค์กรภาคีหลัก หมายถึง องค์กรที่รับอาสาสมัครเข้าไปปฏิบัติงาน 1 ปี องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง หมายถึงองค์กรอื่นๆที่เข้ามาสนับสนุนการเรียนรู้ การทำงานของอาสาสมัคร ได้แก่ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน หรือ งานพัฒนาสังคม ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา เป็นต้น

การสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคีหลัก คือการประสานสร้างความเข้าใจในเป้าหมายของโครงการ และสร้างความร่วมมือกับองค์กรที่ต้องการรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงานในองค์กรจนครบวาระ 1 ปี ได้แก่การเข้ามาร่วมในการคัดเลือกอาสาสมัคร การมอบหมายและจัดการเรียนรู้ให้อาสาสมัครเมื่ออยู่ในองค์กร ตลอดจนร่วมปรึกษาหารือ ร่วมกันจัดการเรียนรู้ ประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร กับเจ้าหน้าที่ของ มอส.

คุณสมบัติขององค์กรที่รับอาสาสมัคร

  1. เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีเป้าหมายร่วมในการทำงานเพื่อสร้างความเป็นธรรมและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
  2. มีความพร้อมที่จะให้อาสาสมัครทำงานครบ 1 ปี เช่น มีแผนงาน และงบประมาณเพียงพอ
  3. มีพี่เลี้ยงในการมอบหมายงานและติดตามการทำงานของอาสาสมัคร
  4. มีทุนสนับสนุนการเรียนรู้ให้อาสาสมัครทุกเดือนประมาณ 80 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ของค่าตอบแทน หลักเกณฑ์นี้มีความยืดหยุ่นตามความจำเป็นของงาน และความพร้อมขององค์กร

การพิจารณาองค์กรที่จะรับอาสาสมัคร

1. วิเคราะห์ภาพรวมความต้องการอาสาสมัคร และความพร้อมของ มอส.
มอส.จะวิเคราะห์ว่าในปีนั้นมีประเด็นสิทธิอะไรบ้างที่มีความมีความเร่งด่วนในการแก้ปัญหา และต้องการกำลังคน รวมถึงการวิเคราะห์องค์กรที่เคยรับอาสาสมัครว่ามีความเหมาะสมในการเป็นพื้นที่การเรียนรู้หรือไม่ มีองค์กรด้านใดที่ไม่เคยรับอาสาสมัครและควรส่งอาสาสมัครไป เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครในรุ่นนั้นๆมีความหลากหลายในประเด็นการทำงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ในช่วงวาระของอาสาสมัคร รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับอาสาสมัครด้วย

2. แจ้งข่าวสาร สร้างความเข้าใจไปยังองค์กร
มอส.จะแจ้งข่าวสารการรับอาสาสมัครไปยังองค์กรต่างๆ โดย การส่งจดหมาย การเข้าพบพูดคุย การประสานทางโทรศัพท์ และสร้างความเข้าใจในเป้าหมายของโครงการฯและบทบาทขององค์กรในการรับอาสาสมัคร โดยมีทั้งเอกสารแนะนา และแบบฟอร์มให้ตอบกลับถ้าประสงค์จะรับอาสาสมัคร

3. องค์กรตอบคำถามในแบบฟอร์ม
เนื้อหาแบบฟอร์มนั้นเกี่ยวกับการแนะนำองค์กร และโครงการที่ต้องการอาสาสมัคร วัตถุประสงค์ งานที่จะให้อาสาสมัครทำ พื้นที่การทำงาน คุณสมบัติอาสาสมัครที่ต้องการ ระบบการดูแล และความสามารถในการร่วมจ่ายค่ายังชีพให้อาสาสมัคร ข้อมูลเหล่านี้ มอส.จะนามาทำสรุปสาระสำคัญชี้แจงให้กับผู้สมัครด้วย องค์กรจะต้องส่งแบบฟอร์มตอบกลับภายในระยะเวลาที่กำหนด

4. การพิจารณาเลือกองค์กรที่จะรับอาสาสมัคร
มอส.จะร่วมกันพิจารณาองค์กรที่ต้องการอาสาสมัครทั้งหมดว่าตรงตามคุณสมบัติหรือไม่ โดยเฉพาะองค์กรที่ไม่เคยรับอาสาสมัคร มีความหลากหลายในประเด็นที่วิเคราะห์ไว้เบื้องต้นหรือไม่ สามารถร่วมจ่ายค่าตอบแทนอย่างไร ซึ่งหลังจากนี้ อาจจะมีการไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่ไม่ชัด หรือต้องตามไปชี้แจงเป้าหมาย ลักษณะของโครงการกับบางองค์กร หรือการไปเจรจาต่อรองในเรื่องการแบ่งจ่ายค่าตอบแทน หรือต้องไปหาองค์กรเพิ่มเติมเมื่อพบว่าองค์กรที่ขอรับยังน้อยไป ฯลฯ

5. การแจ้งผลการพิจารณาไปยังองค์กรต่างๆ
มอส.จะแจ้งผลไปยังองค์กร และแจ้งกำหนดการต่างๆ ได้แก่การมาชี้แจงโครงการให้กับผู้สมัคร การสัมภาษณ์ อาสาสมัคร การประชุมร่วมขององค์กรที่รับอาสาสมัครเพื่อสร้างความเข้าใจ ในกระบวนการเรียนรู้ของ มอส. ข้อตกลง และความร่วมมือในการพัฒนาอาสาสมัคร

นอกจากนี้ มอส. จะพิจารณารับ “อาสาสมัครสมทบ” จากองค์กรด้านสิทธิที่ต้องการส่งเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่เป็นคนวัยตามเกณฑ์ของอาสาสมัคร เข้ามาร่วมกระบวนการเรียนรู้ 1 ปีกับอาสาสมัครด้วย รุ่นละไม่เกิน 3 คน ผู้ที่องค์กรส่งมาต้องมีความตั้งใจ สนใจเรียนรู้ และเขียนใบสมัคร ส่งมาให้ มอส.ด้วย

กระบวนการคัดเลือก และคุณสมบัติของผู้สมัคร

การคัดเลือกผู้ที่สนใจมาเป็นอาสาสมัครนับว่ามีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้ได้ผู้ที่เหมาะสม และมีความพร้อมที่สุด มอส.จึงได้กำหนดคุณสมบัติพื้นฐาน และจัดกระบวนการคัดเลือก ตามคุณสมบัติคือ 1. มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้สังคมและฝึกฝนตนเอง 2. จบปริญญาตรี ด้านกฎหมายหรือสาขาอื่นๆ 3. อายุ 20-30 ปี  4. มีความพร้อมในการทำงานเต็มเวลาในระยะเวลา 1 ปี

กระบวนดำเนินงาน

1. การประชาสัมพันธ์การประกาศรับอาสาสมัคร
มอส. ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนในการประชาสัมพันธ์ไปยังคนหนุ่มสาวที่สนใจเข้ามาเป็นอาสาสมัคร โดยการผลิตโปสเตอร์ E-poster ข้อความประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ คือ 1.สื่อกระแสหลัก(หนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ) 2.สื่อออนไลน์ Social Media (Fanpage Twitter Youtube ช่อง มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม) 3.มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วประเทศ 4.อาจารย์และบุคลากรที่เรารู้จัก กลุ่มนักศึกษา ชมรมกิจกรรมทางสังคม 4.องค์กรพัฒนาเอกชน, สภาทนายความ, สำนักงานเนติบัณฑิต

นอกจากนี้ยังใช้วิธีเข้าไปประชาสัมพันธ์ในงานปัจฉิมนิเทศ หรือโอกาสสำคัญอื่นๆในมหาวิทยาลัยประสานกับอาจารย์เข้าไปสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนในห้องเรียน หรือนัดหมายเข้าไปคุยกับนักศึกษาโดยผ่านอดีตอาสาสมัครที่ยังสามารถเชื่อมโยงกับนักศึกษารุ่นน้องได้ การได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยน กับนักศึกษาโดยตรงเป็นโอกาสที่ดีมาก

2. กระบวนการคัดเลือก
ผู้ที่สนใจสมัครจะผ่านขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

2.1 การเขียนใบสมัคร
ผู้สมัครดาวน์โหลดใบสมัคร ได้จากเว็บไซด์ของ มอส. หรือจะสอบถามมายัง มอส.ขอใบสมัครทางอิเมล์ หรือ จะมาเขียนใบสมัครที่ สำนักงาน มอส. เมื่อเขียนแล้วก็สามารถ ส่งมาทาง อิเมล์ ไปรษณีย์ มาส่งด้วยตนเองในระยะเวลาที่กำหนด

2.2 การเข้ารับฟังการชี้แจงโครงการ
ผู้ที่ผ่านการพิจารณาใบสมัครจะต้องเข้ารับฟังการชี้แจงโครงการต่างๆด้วยตนเองที่เปิดรับอาสาสมัครในปีนั้น (รายละเอียดโครงการต่างๆนั้น มอส.จะให้ข้อมูลเบื้องต้นในเว็บไซด์แล้ว)เนื้อหาของการชี้แจงโครงการนั้น ประกอบด้วย 2 เรื่อง 1) ความเป็นมา เป้าหมาย ของ มอส. และโครงการอาสาสมัครในภาพรวม บทบาทของอาสาสมัคร วาระ ค่ายังชีพ ฯลฯ 2) รายละเอียดของโครงการต่างๆ ที่รับอาสาสมัคร ผู้แทนองค์กรที่รับอาสาสมัครทุกองค์กรจะต้องมาชี้แจงโครงการซึ่งจะใช้การบรรยาย ประกอบสื่อ ตอบข้อซักถาม เพื่อให้ผู้สมัครเข้าใจโครงการอย่างชัดเจนที่สุดทั้งเป้าหมาย โครงการ พื้นที่ทำงาน ลักษณะงานที่จะให้อาสาสมัครทำ ฯลฯ ใช้เวลาโครงการละประมาณ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง โดยทั่วไปการชี้แจงโครงการทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน

2.3 การสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์ผู้สมัครเป็นการสัมภาษณ์ร่วมระหว่าง มอส. และ องค์กรที่รับอาสาสมัคร ในบางครั้งอาจจะมีกรรมการที่ มอส.เชิญมาเป็นกรรมการกลาง ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักงานของ มอส. และเกี่ยวข้องในประเด็นสิทธิมนุษยชน มาสัมภาษณ์ด้วย เพื่อช่วยพิจารณาผู้ที่เหมาะสมจะเข้ามาเป็นอาสาสมัคร โดยรวมแล้วกรรมการในแต่ละห้องไม่ควรเกิน 5 คน ผู้สมัครจะเข้ารับการสัมภาษณ์กับองค์กรที่ตนเองเลือกเป็นรายบุคคล ใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที

กระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้กับอาสาสมัครตลอดวาระ 1 ปี

1. การปฐมนิเทศก่อนออกไปปฏิบัติงานจริง เป้าหมายคือ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการสิทธิมนุษยชน ความพร้อมในการปรับตัว หรือแก้ปัญหา ในการปฏิบัติงานร่วมกับองค์กร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาสาสมัครกันเองและกับเจ้าหน้าที่

2. การอบรม-สัมมนาครบระยะการปฏิบัติงาน 4 เดือน เป้าหมายคือ เพื่อให้อาสาสมัครสรุปบทเรียนการทำงาน 4 เดือน / เสริมการเรียนรู้ การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสิทธิ สังคม เชื่อมโยงในระดับอาเซียน หรือระดับโลก / การเรียนรู้ประเด็นสังคมในพื้นที่จริง / การเตรียมความเข้าใจในเรื่องการทำรายงานการศึกษา

3. การอบรม-สัมมนาครบระยะการปฏิบัติงาน 8 เดือน เป้าหมายคือ เพื่อให้อาสาสมัครสรุปบทเรียนการทำงาน 8 เดือน / เสริมการเรียนรู้ โดยการศึกษาดูงาน / การทดลองนำเสนอร่างหัวข้อ เค้าโครงการศึกษา เนื้อหาเบื้องต้นของรายงานการศึกษา

4. การนำเสนอรายงานการศึกษา บทเรียน และการสัมมนาสิ้นสุดวาระ 1 ปี เป้าหมายคือ เพื่อให้อาสาสมัครนำเสนอรายงานการศึกษาในเวทีสัมมนาโดยมีผู้วิจารณ์ที่เกี่ยวข้องในประเด็นนั้นๆ และ การสรุป  บทเรียนการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงตนเองในช่วง 1 ปีของการเป็นอาสาสมัคร

กระบวนการติดตาม

หลังจาการอบรม-สัมมนาในแต่ละครั้ง อาสาสมัครจะกลับไปปฏิบัติงานในองค์กร ช่วงการปฏิบัติงานในองค์กร นั้นเรียกได้ว่าเป็น “การเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ” องค์กรจะมีพี่เลี้ยงคอยให้คาแนะนำ มอบหมายงาน เป็นที่ปรึกษา และเป็นผู้ประเมินผลการทำงานของอาสาสมัคร

การติดตามอาสาสมัครและองค์กรจึงเป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญในกระบวนการเสริมอาสาสมัคร เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้และการทำงาน 1 ปี ของอาสาสมัคร เกิดการเติบโตของอาสาสมัคร ทั้งด้านการคิด วิเคราะห์ มีทักษะ มีอุดมการณ์ในการทำงานที่ยึดหลักการของสิทธิมนุษยชนต่อไป และเกิดผลต่อองค์กรคือการมีกำลังคนเข้าไปสนับสนุนงานองค์กรในระยะสั้นและระยะยาว

บทสรุป

จากการประเมินผลในช่วงระยะเวลาของอาสาสมัคร โดยศึกษากระบวนการเรียนรู้ของอาสาสมัครและองค์กรปฏิบัติงานที่รับอาสาสมัคร พบว่า อาสาสมัครเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังการเข้าร่วมโครงการ ได้ค้นพบตัวเอง เกิดการขยายคุณค่า และเป้าหมายชีวิตออกไปจากเดิม มีความสามารถและทักษะเพิ่มขึ้นในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และมีมุมมองต่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากความรู้เดิม

จากผลการศึกษาและการทำงานที่ผ่านมา มอส. ยิ่งมีความเชื่อมั่นว่า “การสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีสานึก และตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม คือหัวใจของการขับเคลื่อนขบวนงานแก้ปัญหาและสร้างความเป็นธรรมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

“การเป็นอาสาสมัครคือ การพาตนมาเดินอยู่บานเส้นทำงแห่งการพัฒนาตนเองควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น การเป็นอาสาสมัครจึงไม่จำกัดอยู่ที่ช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แท้จริงอาสาสมัครเป็นงานที่เราควรทำไปตลอดชีวิต”