ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

พูดคุยกับผึ้ง อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนรุ่นที่ 17 ที่ทำงานร่วมกับ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ถึงประเด็นซ้อมทรมาน อุ้มหายและการใช้อำนาจโดยมิชอบจากเจ้าหน้าที่รัฐ ความต้องการที่จะผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชนเข้าสู่ประเด็นสังคมกระแสหลัก รวมถึงพรบ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานการอุ้มหาย ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในไม่ช้านี้

ช่วยแนะนำตัวให้เราฟังหน่อย ว่าตอนนี้ทำงานอยู่ที่ไหน และทำประเด็นอะไรอยู่บ้าง

” ผึ้ง ค่ะตอนนี้ทำงานอยู่ที่ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ในโครงการอาสาสมัครนักสิทธิโดยทางมูลนิธิฯ จะโฟกัสประเด็นซ้อมทรมาน อุ้มหาย การเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัว ส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่เกิดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการละเมิด ประมาณนี้ค่ะ แบ่งออกเป็น 2 ทีมหลัก 1. ทีมคดี ให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย 2. ทีมโครงการ “

ทำไมถึงเข้ามาสมัครเป็นอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน

” ตอนแรกเริ่มสนใจการทำอาสามาจากตอนสมัยทำมหาวิทยาลัยค่ะ เริ่มมาจากค่ายอาสา ทำให้เราได้เปิดมุมมองมากขึ้นว่าข้างนอกมันเป็นยังไง ทำให้เราเริ่มมีความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้นและทำให้เรามองเห็นปัญหามากขึ้น ทีนี้มันเหมือนค่อย ๆ สะสมมาเรื่อย ๆ บวกกับสถานการณ์ของบ้านเมืองด้วย มันทำให้เรายิ่งตระหนักแล้วรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะอยู่เฉยได้ อย่างน้อยก็เลยมีเป้าหมายที่ว่าอยากจะมีส่วนไม่มากก็น้อยในการที่จะช่วยในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อไปค่ะ “

ส่วนตัวคิดว่าประเด็นด้านสิทธิมีความน่าสนใจอย่างไร

” คำว่าสิทธิมนุษยชนสำหรับผึ้งเป็นอะไรที่มีมาทุกคนตั้งแต่กำเนิด แต่ว่าถ้าประเมินสถานการณ์ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านตอนนี้ ก็ยังรู้สึกว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องนอกกระแสหรือไม่ใช่กระแสหลักของสังคม ทั้งที่เป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของทุกคน รู้สึกว่าจริง ๆ ช่วงนี้ก็จะเข้มข้นในเชิงการเมืองด้วย แต่ว่าเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้วที่ถึงแม้ในประเทศไทยจะมีความพยายามที่จะพัฒนามาเรื่อย ๆ ก็ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่เรื่อย ๆ อยู่ดี ซึ่งเรารู้สึกว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพรากออกไปจากเราได้ ไม่สามารถถูกละเมิดได้ ในกรณีที่จะจำกัดสิทธิได้มันต้องยากมาก ๆ ค่ะ มันต้องคำนึงหลายอย่างมาก เช่น รัดกุมและได้สัดส่วนหรือไม่ กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพอื่นหรือไม่ เป็นต้น เพราะฉะนั้นโดยพื้นฐานแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรที่จะถูกพรากจากไปไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ก็ตาม “

ตอนนี้ทําประเด็นอะไรอยู่บ้าง บทบาทหน้าที่มีอะไรบ้าง

” ตอนนี้ช่วยอยู่ในทีมกฎหมายของมูลนิธิ เป็นผู้ช่วยคดีให้กับทนาย ประเด็นที่เราโฟกัส เป็นเรื่องซ้อมทรมาน อุ้มหาย การเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัว หรือว่าคดีอื่นที่เป็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐค่ะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผึ้งทำก็คือจะช่วยทีมทนายในการต่อสู้คดีของทางมูลนิธิ คดีประเภท การทรมาน อุ้มหาย หรือว่าคดีประเภทที่เราโฟกัส จะมีความท้าทายในประเด็นนี้อยู่หลาย ๆ อย่างที่เราเจอค่ะ “

” อย่างแรกก็คือประเด็นนี้ในการทําคดีใช้เวลานานมากในการดำเนินการ ในการที่ก่อนหน้าจะเข้าสู่กระบวนการชั้นศาล บางเคสอาจจะใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะมาถึงความช่วยเหลือของมูลนิธิ หรือว่าพอขึ้นศาลแล้วกระบวนการทางศาลใช้เวลานานมากอาจจะเป็นสิบปีหลังจากผู้เสียชีวิตหรือว่าถูกละเมิด หรือว่าเหยื่อถูกซ้อมทรมานไป คดีก็ยังไม่คืบหน้าไปไหน เพราะฉะนั้น คดีประเภทนี้จะต้องการแรงใจ ความเข้มแข็งจากครอบครัวของเหยื่อผู้เสียชีวิตหรือว่าตัวเหยื่อเองอย่างมากค่ะ “

” อีกอย่าง ด้วยความที่ว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นคดีที่ถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ การตามหาหลักฐานของคดีประเภทนี้จะยากมากเพราะว่าพยานหลักฐานจะอยู่ที่รัฐ การเข้าถึงจะยากกว่าปกติเพราะมันไม่มีพยานหลักฐาน ทำให้การทำคดีของเรา ยิ่งท้าทายแล้วก็ยากที่จะพิสูจน์ในชั้นศาลได้ค่ะ นอกจากนี้ด้วยมูลนิธิเราให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย เราเองก็มีการวางยุทธศาสตร์ทางกฎหมายหรือว่า Strategic Litigation ไปด้วย แต่ว่าด้วยยุทธศาสตร์ของเราในตอนนี้ที่เราสามารถทำได้แค่การฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าชดเชยค่าเสียหายเท่านั้น เพราะว่าคดีอาญาเนื่องจากหลักฐานยังไม่เพียงพอ ทำให้ยากต่อการที่จะทำคดีอาญาได้ค่ะ ส่งผลกระทบให้คนที่ลงมือกระทำเองจริง ๆ เจ้าหน้าที่รัฐที่ละเมิดเองจริง ๆ ยังไม่ค่อยได้รับโทษโดยตรงค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นต้นสังกัดที่จ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายค่ะ ทีนี้ก็เลยเกิดวัฒนธรรมลอยนวล คนผิดของเจ้าหน้าที่รัฐมาเรื่อย ๆ ค่ะ “

” อย่างสุดท้ายก็คือประเด็นนี้อาจจะยังไม่ได้เป็นที่สังคมให้ความสนใจมากเท่าไร เพราะว่าอาจจะฟังอยู่ไกลจากทุกคน แต่ว่าอยากจะรณรงค์ประเด็นนี้ในฐานะที่ได้ทำค่ะ ว่าจริง ๆ เคสพวกนี้มันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้ว่ามันอาจจะไม่ต้องไปถึงขั้นการอุ้มหายหรือว่าการซ้อมทรมาน แต่ทุก ๆ การละเมิดหรือการใช้อำนาจโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นตอของปัญหานี้ทั้งหมด “

เคสที่เรารู้สึกกับมันมากที่สุด คือเคสไหน

” มีหลายเคสเลยนะคะ อย่างของผึ้งได้ไปสังเกตการณ์คดีหนึ่งที่ปัตตานีเป็นคดีของพลทหาร วิเชียร เผือกสม เป็นคดีตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงปัญหาที่พูดไปก่อนหน้านี้ คดีนี้พลทหารวิเชียรเสียชีวิตมาตั้งแต่เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ตอนนี้กระบวนการดำเนินคดีอยู่ขั้นสืบพยานพึ่งเริ่มสืบพยานโจทก์ไปครั้งที่ 4 ค่ะ โดยคดีนี้เขาถูกซ้อมทรมานระหว่างเป็นทหารเกณฑ์ที่ค่ายนราธิวาส ในคดีนี้ก็จะมีจำเลยทั้งหมด 9 คน การที่ได้ลงไปสังเกตการณ์คดี เนื่องจากว่าคดีนี้มีการกระทำผิดโดยทหาร จึงต้องขึ้นศาลทหาร ไม่สามารถไปที่ศาลอาญาของพลเมืองได้ค่ะ ก็เลยมีความแตกต่างในแนววิถีของศาลทหารอีกแบบนึง “

” พอเราได้ไปสังเกตการณ์เมื่อเปรียบเทียบกับหลาย ๆ คดีที่เราเคยไปสังเกตการณ์มา ทำให้เราสามารถตั้งข้อสังเกตได้หลาย ๆ อย่างในกระบวนการ แล้วก็ตั้งคำถามกับมันว่า กระบวนการเช่นนี้มันอำนวยความยุติธรรมให้กับเหยื่อและครอบครัวเหยื่อได้ดีพอจริง ๆ หรือยัง เราสามารถที่จะช่วยในการปฏิรูปองค์กรต่อไปในอนาคตได้มากน้อยแค่ไหน “

” อันนี้อยากจะพูดไปถึง พรบ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานการอุ้มหาย ที่เพิ่งผ่านกฎหมายเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เป็นประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องมา อย่างคดีซ้อมทรมาน พลทหาร วิเชียร หรือหลาย ๆ คดีที่มูลนิธิเราทำอยู่ค่ะ เราก็เลยเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันในเรื่องนี้ โดยตอนนี้ พรบ.นี้จะได้ใช้เป็นทางกฏหมายจริง ๆ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 นี้ ทางเราก็พยายามที่จะโฟกัสไปที่พรบ.แล้วก็พยายามที่จะติดตามและชวนสังคมให้ช่วยจับตาในเรื่องการนำมาใช้ของพรบ.นี้ ว่าจะเกิดขึ้นจริงไหมหากสามารถนำมาใช้ได้จริงแล้วก็มีประสิทธิผล ก็จะช่วยในคดีพวกนี้ได้อีกมากในอนาคต “

ถ้าเกิดให้ลองมองสถานการณ์ด้านสิทธิในไทย อตีด ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต คิดว่ามีทิศทางอย่างไร

” ต้องมีความหวังเสมอ ถ้าให้ประเมินรู้สึกว่าจริง ๆ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราค่อนข้างมีหวังกับกระแสสิทธิมนุษยชนในไทยมากจากการเคลื่อนไหว คือจะเป็นสิ่งที่เราสามารถเห็นชัดในเชิงรูปธรรม ของการเคลื่อนไหวลงถนน การร้องเรียน การที่คนกล้าออกมาพูดแสดงความคิดเห็นและเป็นเสาหลักอย่างหนึ่งของการสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของเราค่ะ มันก็เลยรู้สึกว่ามีความหวังมาก แต่ในฐานะที่เป็นคนที่ได้ลองมาทำในประเด็นพวกนี้ในฐานะคนทำงานนะคะ อาจจะเป็นแค่คดีที่ต้องยอมรับว่ายังคงต้องสู้กันไปอีกหลายสิบปีค่ะ ยกตัวอย่างภาคใต้ มีการประกาศใช้กฎหมายพิเศษคือกฎอัยการศึก พรก.ฉุกเฉิน กฎหมายความมั่นคงมากว่า 18 ปี แล้ว ความรุนแรงยังมีให้เห็นอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ “

” ทุกวันนี้ก็ยังมีเหตุการณ์แทบทุกวันนี้ค่ะหรือว่าถ้าลงพื้นที่ไปภาคใต้ คุยกับคนในพื้นที่แทบจะทุกคนในครอบครัวหรือว่าคนรู้จัก สาวไปไม่กี่คนก็จะต้องเป็นเหยื่อในความรุนแรงจากรัฐมาโดยตลอดค่ะ ถามว่าอยู่กับที่ไหม ก็คงไม่ เพราะว่าจะมีการต่อสู้มาเรื่อย ๆ ค่ะ แต่ก็อยากที่จะผลักดันไปให้ได้มากกว่านี้เพราะรู้สึกว่ามันยังไม่ได้เข้าสู่ประเด็นสังคมกระแสหลักเท่าไหร่ในเรื่องของภาคใต้ด้วยอ่ะค่ะ แล้วรู้สึกว่าเรื่องภาคใต้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเพราะว่ามันเป็นเรื่องการละเมิดโดยรัฐ “

” ถ้าดูจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูจากเหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เราจะเห็นกระบวนการที่รัฐละเมิดสิทธิ์ มีการใช้ในรูปแบบซํ้า ๆ รูปแบบเดิม หรือมีการพัฒนาด้วยซ้ำแต่พัฒนาไปเหมือน ๆ กันค่ะ เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยไม่ว่าจะเกิดที่ส่วนไหน การที่เราให้ความสำคัญตรงนี้ เชื่อว่าจะช่วยในเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยภาพรวมได้มากขึ้นยิ่งไปกว่านั้นอีกค่ะ “

หลังจบโครงการจะทำงานด้านสิทธิฯ ในรูปแบบของตัวเองอย่างไร

” คิดว่ายังไงคงจะทำงานในวงการสิทธิมนุษยชนแน่นอน เพราะว่ารู้สึกยังอยากทำอะไรหลายอย่าง อยากจะเรียนรู้เพื่อที่จะทำอะไรให้ได้มากขึ้น แต่ว่าในประเด็นไหนที่เป็นรูปธรรม ในส่วนตัวเราคิดวางแผนไว้ว่าจะเรียนกฎหมายต่อ เราก็เลยอยากจะมาทำคดีพวกนี้ที่มูลนิธิทำอยู่ด้วย อยากเป็นนักกฎหมายที่ทำเรื่องคดีทางสิทธิมนุษยชนต่อไปค่ะ เพราะการที่ได้มาเข้าร่วมโครงการนี้ นอกจากที่จะได้ช่วยพี่ ๆ แล้วเรายังได้เห็นการทำงานของคนเก่ง ๆ มากมายในวงการนี้ ได้เห็นโรลโมเดล อย่างของผึ้งก็ได้เห็นทนายความสิทธิมนุษยชนเก่ง ๆ มากมาย ที่เราเองก็อยากจะดำเนินรอยตามและพัฒนาต่อไปค่ะ “

อยากพูดอะไรกับคนยังไม่เข้าใจประเด็นด้านสิทธิ

” อยากจะให้ทุกคนมองรอบตัวว่าสิทธิมนุษย์ชนไม่ว่าจะเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อม ประเด็นชาติพันธ์ุ  ประเด็นทางการเมือง ทุกประเด็นมีส่วนร่วมเหมือนกันหมด คือเป็นสิทธิมนุษยชนของเราที่มีมาพร้อมตั้งแต่เราเกิดและการละเมิดก็เป็นการละเมิดในทุก ๆ ประเด็นนะคะ ก็คือการถูกละเมิดสิทธิมนุษย์ชน ถ้าเรามองรอบตัวเรา เราจะเห็นในทุก ๆ อย่างในความเป็นไปเลย ว่าทุกอย่างมันเกี่ยวเนื่องและกระทบกับตัวเราไปหมด ต่อให้สมมุติว่าเรามีข้อตั้งต้นที่โชคดีกว่าคนอื่น ๆ เช่นมีครอบครัวที่ดี มีการซัพพอร์ตทางการเงินที่ดี ไม่ต้องยุ่งกับใครก็ไม่เดือดร้อนนะคะ “

” แต่ถ้าเรานึกภาพว่าเป็นหมู่บ้านและในหมู่บ้านนี้มีแค่บ้านหลังเดียวที่อยู่สงบสุขได้ แล้วนอกบ้านหลังนี้มีความวุ่นวายหรือมีปัญหาเต็มไปหมด ถามว่าคนที่อยู่ในบ้านที่ดีอย่างนั้นน่ะจะอยู่ได้อย่างมีความสุข อยู่ได้อย่างอย่างสงบสุขไหม ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่คิดถึงทั้งตัวเองและคิดถึงคนอื่นด้วยค่ะ อยากให้ทุกคนได้ตระหนักในสิทธิมนุษยชนที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยค่ะ “

ติดตามพวกเราได้ที่ อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน | มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai