เมื่อ “วันเด็ก” เวียนมาถึง เรามักได้ยินคำศัพท์ที่สะท้อนความคาดหวังต่อเด็ก เช่น สามัคคี เชื่อฟัง กตัญญู วินัย เหตุใดคำเหล่านี้จึงกลายเป็นคำนิยามของ “เด็กดี” จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมไทยยังคงให้ความสำคัญกับความเป็น “ผู้ใหญ่-ผู้น้อย” เด็กที่เชื่อฟังผู้ใหญ่ เด็กที่มีมารยาทเรียบร้อย อ่อนน้อม ไหว้สวย มักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นเด็กดีมากกว่าคนอื่นๆ ซึ่งการยึดติดกับวัฒนธรรมนี้อาจส่งผลต่อแนวทางการเรียนรู้แบบใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ แยกแยะและตั้งคำถาม ต่างจากวิสัยทัศน์ในการสร้างนิสัยการเรียนรู้ของผู้นำไทย ที่ยังให้เด็กไทยท่องจำและทำตามเป็นหลัก
งานเขียนชิ้นนี้ มงคลหาที่มาของคำว่า “ความเป็นเด็กดี” โดยเลือกสำรวจและทำความเข้าใจผ่านแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง “เด็กดี” ทั้งโดยตรงคือ “ตำราเรียน” และโดยอ้อม คือ “หนังสือวันเด็ก” เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการหล่อหลอม “ความเป็นเด็กดี” ในสังคมไทยผ่านอำนาจของรัฐที่ยังยึดกับวัฒนธรรมเดิมๆ และตั้งคำถามถึงความเหมาะสมและความย้อนแย้งกับยุคปัจจุบัน
สร้างเด็กดีด้วย “งานวันเด็ก”การเปลี่ยนทัศนคติและความคิดให้คนในชาติมีความทัดเทียมกับตะวันตก เมื่อมีการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กโดยสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ.2498 เพื่อให้ทั่วโลกร่วมกันให้ความสำคัญแก่เด็ก ประเทศไทยจึงเริ่มจัดงานวันเด็กขึ้นครั้งแรกในปีเดียวกันนั้น เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก ให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตน มีระเบียบวินัย ได้แสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน และชุมชน แต่จากวัตถุประสงค์ในการจัดงานพบข้อสังเกต ว่ารักไทยยังมองว่าเด็กเป็นพลเมืองที่ต้องถูกควบคุมทั้งด้านความคิดและความประพฤติ ให้รู้จัก หน้าที่ของตน และ อยู่ในระเบียบวินัย มากกว่าจะสนับสนุนให้เด็กใช้สิทธิในการแสดงออก ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของการก่อตั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็ก
คลิกอ่านบทความความทั้ง 9 เรื่องและดาวน์โหลดเนื้อหา Pocket book ทั้งเล่มได้ที่นี่