การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เจริญเติบโต เป็นพลเมืองดีของสังคมและของประเทศชาตินั้น นอกจากครอบครัวจะมีบทบาทสำคัญแล้ว ยังต้องอาศัยบทบาทของสถาบันการศึกษาเพื่อสนับสนุนพัฒนาการของเด็กและเยาวชนให้เต็มตามศักยภาพ โรงเรียน จึงเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการอบรมบ่มเพาะและขัดเกลาเด็กและเยาวชนให้มีความพร้อมสำหรับการเจริญเติบโตเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ ภายใต้การปกครองระบบประชาธิปไตย กิจกรรมที่เป็นกลไกสำคัญกิจกรรมหนึ่งของการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนให้เป็นพลเมืองผู้หลักในสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของตน ได้แก่ กิจกรรมสภานักเรียน ซึ่งบทบาทที่สำคัญของกิจกรรมนี้คือการทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบการศึกษาและการสร้างวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของการเป็นผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นหมู่คณะ โดยมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ผ่านระบบประชาธิปไตยในโรงเรียนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรม

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมสภานักเรียน ก่อกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนักเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียนการสอนตามหลักสูตร จนกระทั่งถึง พ.ศ.2519 ซึ่งเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รัฐบาลได้ประกาศงดกิจกรรมนักเรียนทุกประเภทในโรงเรียน โดยเฉพาะกิจกรรมด้านการปกครอง เช่น สภานักเรียน สภานิสิตนักศึกษา เนื่องจากเกรงว่าจะสนับสนุนกลุ่มผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาล กิจกรรมนักเรียนจึงซบเซาลง จนกระทั่งการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้ให้ความหมายของกิจกรรมนักเรียนไว้ว่า

“การปฏิบัติงานร่วมกันของนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ตามความสนใจและความถนัดไม่ใช่กิจกรรมที่ครูจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนในการเรียนวิชาต่างๆ จะต้องเรียนและสอบให้ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ที่ว่าเป็นการประกอบกิจกรรมร่วมกันก็คือ ผู้เรียนช่วยกันคิด ช่วยกันทำและช่วยกันแก้ปัญหา อันจะเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยการอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย”

คลิกอ่านบทความความทั้ง 9 เรื่องและดาวน์โหลดเนื้อหา Pocket book ทั้งเล่มได้ที่นี่

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai