1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน : Human Rights Lawyer Association (HRLA)

ที่อยู่ 109 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม.
เวปไซต์  : http://naksit.net/th/
เฟสบุ๊คเพจ : Human Rights Lawyers Association/

วัตถุประสงค์และกิจกรรมของโครงการ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่รวมตัวของนักกฎหมายหรือทนายความ และกลุ่มคนทั่วไปที่ทำงานในด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อผลักดัน และปกป้องสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมีความหวังร่วมกันว่า เราจะสามารถสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการสิทธิมนุษยชน และความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

ในปัจจุบัน งานของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. งานเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยเป็นพื้นที่เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และทำงานร่วมกันของนักกฎหมาย/ทนายความ และนักสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนและนิติธรรม
2. งานคดียุทธศาสตร์ เป็นการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและคดี เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายที่คำนึงถึงหลักนิติธรรม และหลักการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน รวมถึงการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบหรือกลุ่มคนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
3. งานข้อมูลและวิชาการ เป็นแหล่งข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนและการศึกษาวิจัย เพื่อสนับสนุนงานคดี และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสื่อสารประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนสู่สาธารณะ เพื่อทำให้เกิดการตระหนักรู้และผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา
ในปีนี้ สนส. จะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาการใช้การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation : SLAPP)

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
การฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งของระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนและนิติธรรม

วัตถุประสงค์
เพื่อแก้ปัญหาการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการใช้การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation : SLAPP) สำหรับผลลัพธ์ที่ต้องการคือการมีกลไกหรือกฎหมายในการ Anti SLAPP เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งจะมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ งานข้อมูลและวิจัย  การจัดเวทีปรึกษาหารือหรือสานเสวนา การจัดเวทีสาธารณะเพื่อสื่อสารสาธารณะ การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและคดียุทธศาสตร์เพื่อผลัดดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา  รวมถึงการพัฒนาศักยภาพนักกฎหมายเพื่อรับมือกับคดีในลักษณะ SLAPP ด้วย ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและสมาชิกของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
นักกฎหมาย หรือทนายความที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และภาคประชาสังคม และบุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม

รายละเอียดงาน หน้าที่ และคุณสมบัติของอาสาสมัคร
งานที่จะให้อาสาสมัครรับผิดชอบมีลักษณะเป็นงานข้อมูล เพื่อนำไปสนับสนุนกิจกรรมในส่วนต่างๆของสนส. เช่น ในส่วนของงานคดียุทธศาสตร์ หรืองานวิชาการ เป็นต้น
1. รวบรวมและสรุปข้อมูลต่างๆ ทั้งงานคดี และงานข้อมูลวิชาการ
2. หาข้อมูลเพื่อนำมาสนับสนุนงานในประเด็น SLAPP
3. จัดระเบียบและเก็บข้อมูลต่างๆ
4. สรุปการประชุม

พื้นที่ปฏิบัติงาน
กรุงเทพมหานคร

 ——————————————————————–

2. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม : Cross Cultural Foundation (CrCf)

ที่อยู่ : 89 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย เขตสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
เวปไซต์ : https://voicefromthais.wordpress.com/ หรือ https://www.facebook.com/CrCF.Thailand/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
วัตถุประสงค์ขององค์กรคือให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การเยียวยา ฟื้นฟู แก่บุคคลที่โดนละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจ หรือได้รับผลกระทบจากการละเมิดดังกล่าว อีกทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาด้านกฎหมาย จัดเวทีเสวนา อภิปราย ลงพื้นที่เก็บข้อเท็จจริง และจัดทำรายงานเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิฯ นอกเหนือจากโครงการที่ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย อีกหนึ่งโครงการที่องค์กรกำลังดำเนินการอยู่คือ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้หญิงและผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯที่อยู่ในพื้นที่ความขัดแย้ง ผ่านกิจกรรมที่ใช้สื่อดิจิทัลเป็นหลักในการสื่อสาร และกระบวนการสร้างพื้นที่เปิดและปลอดภัยสำหรับการแสดงความคิดเห็น รวมถึงแชร์ประสบการณ์

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน : Empowering Women Human Rights Defenders in

Thailand’s Deep South to Promote Pluralism and Diversity through Listening Study Sessions Focusing on Children’s Rights and UNSCR 1325, Documentation of Human Rights Violations, Interaction with Government, and Media Advocacy

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ก็คือการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ผู้หญิงและผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการสร้างความเข้าใจแก่ประเด็นละเมิดสิทธิมนุษยชนในบริบทของพื้นที่

กิจกรรม
กิจกรรมภายใต้โครงการนี้ที่กำลังดำเนินการอยู่ คือ พอดแคสท์ หนังสั้น สารคดี photo essay เวิร์คชอป empowerment ผ่านกระบวนการศิลปะบำบัด นอกจากนั้น ได้มีการให้ความรู้เรื่องสิทธิสตรี gender related issues รวมถึงความปลอดภัยเบื้องต้นด้านดิจิทัล ลงพื้นที่เก็บข้อเท็จจริง และจัดทำหนั งสือคู่มือ

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
ผู้หญิงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ประชาชนทั่วไป และสื่อ

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
เนื่องจากโครงการหลักที่เราต้องการให้อาสาสมัครได้มีโอกาสเรียนรู้ เป็นโครงการที่ได้ให้ความสำคัญกับการทำงาน advocacy ผ่านสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ดังนั้นเนื้อหางานก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละครั้ง รวมถึงการจัดเสวนา เวิร์คชอป อาสาสมัครก็จะได้เรียนรู้ตัง้ แต่การวางแผนงาน การจัดการงบประมาณ และการประสานงาน หัวใจสำคัญของการปฎิบัติงานในรูปแบบดังกล่าว คือความคิดนอกกรอบ ความคิดสร้างสรรค์และความใส่ใจในรายละเอียด แต่อย่างไรก็ดี รายละเอียดของการปฎิบัติงานมีความยืดหยุ่นที่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่องค์กรจัด และความสามารถของอาสาสมัคร

หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
ให้ความช่วยเหลือในด้านการสื่อสารองค์กร อาทิ การเขียน blog post, Facebook post, tweet ที่เกี่ยวกับการจัดการ social media platforms ต่างๆ ขององค์กรเพื่อ promote งานขององค์กรและกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ เผยแพร่แถลงการณ์และใบแจ้งข่าว ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมที่องค์กรจัด มีส่วนร่วมในการเตรียมงานก่อนและหลังลงพื้นที่การประชุม หรือกิจกรรมต่างๆ

พื้นที่ปฏิบัติงาน
สำนักงานที่กรุงเทพฯ และสามจังหวัดชายแดนใต้

——————————————————————–

3. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

ที่อยู่ : 87 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
เวปไซต์ : www.hdrfoundation.org

วัตถุประสงค์และกิจกรรมขององค์กร
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เป็นองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 โดยนักวิชาการ และทนายความสิทธิมนุษยชน วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
1. ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ
2. เสริมสร้างมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ และส่งเสริม การปฏิบัติตามมาตรฐาน
3. สนับสนุนการพัฒนาที่ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ
4. ส่งเสริมและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และสิทธิของประชาชน
5. ส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพของสื่อมวลชน และสิทธิของผู้บริโภคตลอดจนต่อต้านการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้า
6. ประสานงาน และร่วมมือกับบุคคลและองค์การด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
7. จัดการศึกษา ฝึกอบรม เผยแพร่ ประชุม สัมนา ประชุมทางวิชาการ ไต่สวน จัดทำรายงานสถานการณ์ สังเกตการณ์การพิจารณาคดี ร้องเรียน ให้ความช่วยเหลือหรือดำเนินการด้านกฎหมายและอรรถคดี

กิจกรรมของมูลนิธิฯ
1. โครงการคลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด สำนักงานอยู่ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
2. โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานสำหรับแรงงานข้ามชาติและโครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติมีสำนักงานอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมืองมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
3. โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์แรงงาน

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน (รับอาสาสมัคร 2 ตำแหน่ง)
ต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

วัตถุประสงค์
1.  ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในการดำเนินคดี การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งในทางแพ่งและทางอาญา ตลอดจนการเข้าถึงสิทธิใดๆตามกฎหมาย ตามหลักสิทธิมนุษยชน และตามหลักนิติธรรมที่ผู้เสียหายพึงได้รับจากการตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
2. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและวิธีการป้องกันตนเองให้กับกลุ่มผู้เสียหายหรือกลุ่มเสี่ยงเพื่อมิให้ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะด้านแรงงาน
3. ร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานราชการ และภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมถึงเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามกฎหมาย และสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
4. กระตุ้นภาครัฐ และภาคประชาสังคม ตลอดจนประชาชนให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในสังคม และผลักดันให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบายและกฎหมายที่มีต่อปัญหาการค้ามนุษย์

กิจกรรม
1. Legal Advocacy ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในการดำเนินคดี การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งในทางแพ่งและทางอาญาตลอดจนการเข้าถึงสิทธิใดๆตามกฎหมายตามหลักสิทธิมนุษยชนและตามหลักนิติธรรมที่ผู้เสียหายพึงได้รับจากการตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
2. Monitoring รวบรวมสถิติการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับภูมิภาค และในพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ เก็บรวบรวมรายงานการดำเนินกระบวนการทางคดี สภาพปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่และในหลักการดำเนินกระบวนการในคดีค้ามนุษย์ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับแจ้งเหตุ การให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย รวมไปถึงขั้นตอนการเยียวยาผู้เสียหาย ว่ามีการดำเนินการสอดคล้องกับหลักกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่อย่างไร
3. Prevention and Awareness raising จัดทำหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยพัฒนาจากหลักสูตรของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (หลักสูตรชาติ) โดยพัฒนาเนื้อหาจากหลักสูตรเดิมให้มีความทันสมัยมากขึ้น ทั้งในประเด็นขั้นตอนการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปละปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและสามารถนำไปใช้อบรมแก่เจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
4. Lawyer Network    จัดทำเครือข่ายทนายความที่มีประสบการณ์และทนายความที่มีความสนใจในการทำคดีค้ามนุษย์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทนายความในการวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ทำงานในคดีค้ามนุษย์ที่มีความท้าทายมากขึ้น

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
– ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
– พนักงานเจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพ
– ผู้บังคับใช้กฎหมาย
– ประชาชนทั่วไป

รายละเอียดงานที่จะให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
อาสาสมัครจะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่โครงการ ในการเตรียมข้อมูลรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์  รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีการค้ามนุษย์   จัดการประชุมปรึกษาหารือ  ประสานงานกับหน่วยงานราชการทั้งในประเทศและต่างประเทศ  และทำงานกับทีมทนายความในการให้ความช่วยเหลือด้านคดี

หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
– สนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
– สังเกตการณ์การดำเนินคดีและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่
– จัดทำรายงานการประจำปีสถานการณ์การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2561- 2562

พื้นที่ปฏิบัติงาน
ประจำที่สำนักงานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เลขที่ 87 ซอยสิทธิชน   ถ.สุทธิสารวินิจฉัย  แขวงสามเสนนอก  เขตห้วยขวาง  กรุงเทพฯ 10320 หรืออาจจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัด ตามชายแดน หรือต่างประเทศ

——————————————————————–

4. อไซลัมแอคแซส ประเทศไทย : Asylum Access Thailand(AAC)

ที่อยู่ 1111/151 หมู่บ้านกลางเมือง (ระหว่างซอยลาดพร้าว 23-25) ถนนลาดพร้าว, แขวงจันทรเกษม, เขตจตุจักร, กทม. 10900
เวปไซต์ http://asylumaccess.org/program/thailand/ หรือ https://www.facebook.com/aatthai/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
อไซลัมแอคแซส เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนสิทธิผู้ลี้ภัยในแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในการแสดงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนผ่านการให้คำปรึกษา และ/หรือตัวแทนเป็นรายบุคคลตามกฎหมาย การเพิ่มขีดความสามารถด้านกฎหมายในชุมชน การสนับสนุนนโยบายยุทธศาสตร์ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยตรงถึงผู้ลี้ภัยกว่า 10,000 รายต่อปี ผ่านสำนักงานในเอกวาดอร์ เม็กซิโก แทนซาเนีย มาเลเซีย และประเทศไทย

ในประเทศไทย โครงการอไซลัมแอคแซส ประเทศไทย ดำเนินการภายใต้มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เป็นโครงการให้คำปรึกษาแก่ผู้แสวงหาการลี้ภัย และเสนอข้อมูลและความเห็นต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อรับรองสถานะผู้ลี้ภัยให้แก่บุคคลดังกล่าว ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้แสวงหาการลี้ภัยในการขอรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จัดกิจกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่ม สร้างความเข้มแข็งชุมชน และสนับสนุนสิทธิมนุษยชนเพื่อผู้ลี้ภัย นอกจากงานบริการด้านกฎหมายแล้ว ยังทำงานด้านนโยบายทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแก่ผู้ลี้ภัยในระยะยาว

ชื่อโครงการ
โครงการอไซลัมแอคแซส ประเทศไทย

วัตถุประสงค์และกิจกรรม
เพื่อสนับสนุนการทำงานฝ่ายกฎหมาย ในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาบุคคลที่ต้องการแสวงหาการลี้ภัย ให้เข้าถึงกระบวนการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยของ UNHCR

กลุ่มเป้าหมาย
ผู้แสวงหาการลี้ภัย และผู้ลี้ภัยในเมือง (Asylum Seekers and Urban Refugees)

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
งานด้านให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
– สนับสนุนการทำงานของฝ่ายทีมกฎหมาย ในการให้บริการด้านกฎหมายกับผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางและจำเป็นต้องได้รับสิทธิในความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมายสากล
– ให้คำปรึกษาเบื้องต้นทางกฎหมายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการขอลี้ภัย รวมถึงการคัดกรองลูกความที่เข้ามาขอความช่วยเหลือว่ามีปัญหาด้านใดเพื่อส่งต่อไปหน่วยหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
– เข้าร่วมกิจกรรมและสนับสนุนการทำงานของโครงการสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ที่มีชุมชนผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่
– ร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่องค์กร และเข้าร่วมงานประชุมกับเครือข่ายอื่นๆ หากได้รับมอบหมาย
– ค้นคว้าข้อมูลอัพเดทเกี่ยวกับประเทศต้นทางของผู้ลี้ภัย
– แปลเอกสาร หรือเป็นล่ามไทย-อังกฤษ ให้กับทีมกฎหมายบ้างเป็นบางโอกาส

งานด้านธุรการของฝ่ายกฎหมาย
– ทำหน้าที่ต้อนรับลูกความที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ ดูแลเกี่ยวกับเอกสารแบบฟอร์มการลงทะเบียนและข้อมูลลูกความ คัดกรองลูกความเบื้องต้นว่า ต้องการความช่วยเหลือด้านใดและความเร่งด่วน
–  บันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลออนไลน์  และจัดเก็บเอกสารลูกความให้เป็นระบบ
– ช่วยปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือหรือเอกสารส่งต่อที่เกี่ยวข้องให้กับลูกความ (บริการชุมชนผู้ลี้ภัยด้านอื่นๆ)
– เข้าร่วมฝึกอบรมกระบวนการพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัย (Refugee Status Determination) และช่วยจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการฝึกอบรมให้ทันสมัย
– ช่วยเหลืออาสาสมัครฝ่ายกฎหมาย ในการจัดอบรมให้กับ asylum seeker เพื่อเตรียมความพร้อมในขั้นตอนการสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัย

คุณสมบัติของอาสาสมัคร
มีความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและสนใจด้านสิทธิผู้ลี้ภัย สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ มีความสนใจทำงานที่มีสภาพแวดล้อมหลากหลายวัฒนธรรม

พื้นที่ปฏิบัติงาน
กรุงเทพฯ และอาจจะมีการลงพื้นที่ชุมชนที่มีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล

——————————————————————–

5. Center for Asylum Protection (CAP)

ที่อยู่ 40/32 หมู่บ้านสายลมโฮมออฟฟิส, ซอยอินทมาระ 8, ถนนสุทธิสารวินิจฉัย, แขวงสามเสนใน, เขตพญาไท กทม.
เวปไซต์ https://capthailand.org/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
CAP เป็นโครงการคลินิคกฎหมายของมูลนิธิประชาชนเพื่อประชาชน ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและผู้ลี้ภัยในเขตเมืองที่ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยกับ UNHCR กิจกรรมหลักของ CAP คือการให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาและเป็นตัวแทนทางกฎหมายให้กับผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยต่อ UNHCR ซึ่ง CAP จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ระหว่างรอผลการพิจารณาคำขอสถานะของ UNHCR

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
โครงการส่งเสริมนักกฎหมายไทยให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องผู้ลี้ภัย

รายละเอียดงาน
รับอาสาสมัครจบปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างน้อยในระดับสนทนา เนื่องจากอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ และยินดีทำงานกับกลุ่มเปราะบาง (vulnerable people) อาสาสมัครสามารถค้นคว้าระเบียบหรือกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยในเขตเมือง ข้อมูลของประเทศต้นทาง (Country of Origin Information; COI) และช่วยเหลือที่ปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อเตรียมคำร้องประกอบการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยกับ UNHCR อาสาสมัครสามารถติดต่อประสานงานกับผู้ลี้ภัยในเขตเมือง เยี่ยมชุมชน เยี่ยมผู้ต้อง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai