โครงการ อส.นักสิทธิ์ของ มอส. ทำให้อาสาสมัครได้เปิดมุมมองที่กว้างขึ้น “สุภาวดี สายวารี” ได้เข้าใจบทบาทของ NGO และองค์กรภาคประชาสังคม เธอเล่าว่า “เพื่อนของฉันหลายคนตัดสินใจที่จะทำงาน NGO เพราะพวกเขาถูกละเมิดสิทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม และสิ่งที่พวกเขาพูดมันทำให้ฉันเกิดความศรัทธาเส้นทางนักพัฒนา” มอส.ทำให้เธอสามารถสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นภายในใจ ส่วนองค์กรที่รับอาสาสมัคร ได้ช่วยให้กำลังใจเธอ ให้เธอมีศรัทธาต่อการทำงานบนเส้นทางสายนี้ ในส่วนตัวเธอเองสิ่งที่เธอประทับใจต่องานที่ทำคือ ภารกิจที่เกี่ยวพันธ์กันโสตประสาทส่วนหัวซึ่งหมายถึงความคิด เกี่ยวพันธ์กับหัวใจซึ่งหมายถึงจิตใจ และเกี่ยวพันธ์กับมือซึ่งหมายถึงการได้ลงมือปฏิบัติจริง

“คนในพื้นที่มีทัศนคติด้านลบกับอาชีพทนายความ เพราะพวกเขาคิดค่าจ้างแพงและไม่ได้ใส่ใจกับคดีที่ตัวเองรับผิดชอบมากนัก” แต่ปัจจุบัน ศูนย์ฯ สามารถเปลี่ยนทัศคติของชาวบ้านในพื้นที่ได้แล้วด้วยการใช้หลักการทำงานและมุมมองทางศาสนาเข้าช่วย ศูนย์ฯ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและมีความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เธอเล่าว่า เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังขาดความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน เหตุนี้ เธอจึงพยายามที่จะทำงานเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องเหล่านี้ให้กับคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการทำให้พวกเขาได้รับความยุติธรรมมากที่สุดหากมีกรณีปัญหาเกิดขึ้น

บทบาทของเธอไม่เพียงแค่การบริหารจัดการคดีความในชั้นศาลเท่านั้น แต่บทบาทอีกด้าน คือความพยายามทำให้โครงสร้างแห่งความยุติธรรมได้เกิดขึ้น เธอกล่าวว่า “ภารกิจที่เราทำมันช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชาวบ้าน ให้พวกเขาสามารถต่อสู้เพื่อสิทธิและความยุติธรรมของตัวเองได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง” ความศรัทธา ความเชื่อทางศาสนา ประกอบกับคุณค่าที่เกิดขึ้นจากงานที่ทำ เป็นแรงผลักดันให้เธอทำงานต่อไปได้ แม้เส้นทางของงานที่เธอทำจะเต็มไปด้วยปัญหาและข้อท้าทายอย่างมาก

แผนการทำงานในพื้นที่ที่เธอได้วางเอาไว้ก็คือ เธอวางแผนที่จะทำงานในประเด็นสิทธิมนุษยชนต่อไปเรื่อยๆ โดยเบื้องต้นจะเน้นการทำงานไว้ที่การสร้างอาสาสมัครที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้ชุมชน เธอบอกว่า “แม้จะมีคนทำงานเพียงหนึ่งคน แต่ถ้าคนคนนั้นมีหัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความอยากที่จะทำงานเพื่อชุมชนแล้ว หนึ่งคนก็เพียงพอ”

เธอได้ให้ข้อคิดต่อหญิงชาวมุสลิมว่า “หากหญิงมุสลิมสนใจขับเคลื่อนประเด็นงานด้านสิทธิมนุษยชน มันจะช่วยแก้ไขปัญหาประเด็นสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศได้ และในฐานะของคนมุสลิม เราต้องการสันติภาพในเรื่องนี้เช่นกัน”

ในส่วนของ มอส. เธอมีข้อเสนอต่อ มอส. ว่า หาก มอส. มีความต้องการที่จะทำงานกับชาวบ้านในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มอส. ควรจะเพิ่มความถี่ของการลงพื้นที่สามจังหวัดให้บ่อยขึ้น รวมถึงทำงานประสานงานและติดตามการทำงานของอดีตอาสาสมัคร มอส. ให้มากขึ้นด้วย

เธอฝากประเด็นทิ้งท้ายถึงคนรุ่นใหม่ด้วยว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือหัวใจ คุณต้องมีศรัทธาว่าคุณสามารถทำให้สังคมนี้ดีขึ้นได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนและทำงานอะไรก็ตาม สิ่งแย่ๆ  มากมายก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นหากคุณนิ่งเฉย แต่ถ้าคุณลงมือทำอะไรบ้าง  สิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้น”

—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์
อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai