ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

Ignorance (n.) ความไม่รู้, มักถูกใช้อธิบายในบริบทของคนที่ไม่ยี่หระต่อปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น

จะเป็นอย่างไรถ้าการ “กลับบ้าน” ของคนๆ หนึ่ง
ก่อให้เกิดเสียงสะท้อนจากใน “บ้าน” ที่จะช่วยปลุกให้ผู้อยู่อาศัยรอบๆ ได้ตื่นขึ้นจากการหลับใหล

“คนในชุมชนยังเข้าใจว่าสิทธิของตัวเองยังต้องพึ่งพารัฐ
การโต้เถียงกับรัฐเป็นเรื่องแปลก
คนในชุมชนก็ไม่อยากไปมีขึ้นโรงขึ้นศาล”
คำบอกเล่าอัพเดตสถานการณ์ปัจจุบันจาก แชมป์-อาทิตย์ พิลาบุตร
คนรุ่นใหม่ที่มองเห็นปัญหา และไม่เพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

“ภาษีเป็นของประชาชนมันไกลตัวเค้า ต้องสื่อสารในระดับชุมชนถ้าพูดแบบนี้เค้าอาจจะเข้าใจยาก”

“แต่ถ้าบอกว่าการมีความฝัน การมีความหวังในชุมชน การตั้งคำถามกับหน่วยงานรัฐที่กระทำต่อเรา
การตรวจสอบการทำงานของกลไกที่เกี่ยวกับชุมชนเป็นเรื่องของเรา
และเรามีสิทธิที่จะฝันที่จะมีชีวิตที่ดีในชุมชนได้
เราสามารถเปลี่ยนแปลงเองได้ภายใต้ความฝันของเรา
น่าจะเป็นการกระตุก กระตุ้นให้คนในชุมชนได้เห็นภาพที่สุด…”

แชมป์-อาทิตย์ พิลาบุตร #อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 8 ในวันที่เขากลับบ้านในบทบาทของ “อาสาคืนถิ่น รุ่น 4” และทำงานทางความคิดกับคนในชุมชนที่บ้านเกิดของเขา ประสบการณ์มากมายตลอดหลายปีที่ผ่านมา กลายเป็นเครื่องมาในการนำมาประยุกต์ใช้กับชุมชนเป็นอย่างดี เขาเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีขึ้นอย่างไรในช่วงวัยรุ่น วันนี้แม้สถานการณ์เปลี่ยนไป การเมืองร้อนร้อนระอุ ภัยโควิดไม่มีทีท่าจะซา ชาวบ้านถูกบีบบังคับให้ฉีดวัคซีนซึ่งไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือแม้กระทั่งแพร่ข่าวปลอมข่มขู่ให้ชาวบ้านไม่มีทางเลือกนอกจากรับวัคซีนที่เขากลัว… แต่แนวคิดและความเชื่อมั่นที่อยากเห็นสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้ของแชมป์ก็ยังไม่เปลี่ยนไปไหน

แอดมินได้มีโอกาสถามข่าวไป แชมป์ยังคงอัพเดทสถานการณ์เมาท์มอยเรื่องราวชีวิตและการทำงานในชุมชนได้อย่างเมามันเช่นเคย …. แต่เพื่อนๆรู้ไหมว่า กว่าที่แชมป์จะเดินทางมาถึงจุดนี้ได้ เส้นทางเดินของแชมป์ มันคือประสบการณ์ที่เขานำมาเป็นเครื่องมือการทำงานที่บ้านเกิด ณ วันนี้

แอดมินขอหยิบประสบการณ์เพียงบางส่วนจากหลายๆ ประสบการณ์ของแชมป์มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

ชวนเพื่อนๆ อ่านอีกหนึ่งประสบการณ์/ เรื่องราวของแชมป์ผู้ตกผลึกปัญหาเชิงโครงสร้างที่ในสังคมไทยได้อย่างแยบยล จากช่วง 1 ปีที่แชมป์เข้าร่วมโครงการ “อาสาคืนถิ่น รุ่น 4”  โดยเริ่มต้นด้วยคำถามจากตอนที่ได้เข้ามาใช้ชีวิตช่วงหนึ่งที่กรุงเทพฯ

—————

 “กรุงเทพมันต้องการคนแบบไหน” คำถามที่นำไปสู่การปลดล็อคตัวตนเพื่อหวนคืนสู่ถิ่นฐานเดิมของ แชมป์ อาทิตย์ พิลาบุตร ผู้เคยผ่านเวทีอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 8 และอาสาคืนถิ่น รุ่น 4 จากอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์”

ตั้งคำถามกับเมือง
“ตอนหนุ่มๆ เราเคยไปนอนเล่นที่สนามหลวงกับเพื่อน มันทำให้ได้เห็นวิถีของคนไร้บ้าน คนขายบริการ เห็นหลายอย่างที่เรารู้สึกไม่โอเค”

แชมป์เล่าถึงเรื่องราวเก่าๆที่เคยประสบซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เขาได้คำตอบกับตัวเองว่า ความเป็นจริงแล้วกรุงเทพมหานครต้องการคนที่มีกำลังเท่านั้น ถ้าวันหนึ่งหมดแรงเมื่อไร เขามองว่าตัวเองก็คงไม่ต่างจากคนในท้องสนามหลวงเหล่านี้

“ตอนนั้นได้คำตอบให้กับตัวเองแล้วว่าเราจะไม่อยู่ที่นี่แน่ๆ” แชมป์ทบทวนถึงความรู้สึกในอดีต

“มนุษย์มักหาพื้นที่ให้ตัวเองเป็นพระเอกเสมอ คือทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองไม่โดนดูถูก” เขาพรรณนาให้เห็นถึงสาเหตุในการพลัดถิ่นของใครหลายๆ คนโดยที่เขาเองเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตคือบ้าน

คืนถิ่นด้วยคุณค่า
“เป้าหมายในชีวิต เราอยากจะเป็นผู้ใช้แรงงานที่ไม่ตอบสนองนายทุน” แชมป์บอกถึงความมุ่งหมายสูงสุดของเขา ในขณะที่เขาลงมือทำในส่วนของตัวเอง แชมป์ก็ได้ช่วยชุมชนด้วยหลักการที่ว่า จะช่วยในวิถีของแต่ละคนแตกต่างกันไป ด้วยวิธีการปรับใช้หลักการต่างๆ ให้สอดคล้องกับชุมชน และนี่เองคือตัวตนของแชมป์

วันนี้แชมป์ไม่ใช่คนที่เริ่มต้นใหม่ในการกลับบ้านแต่เขาโชกโชนด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่การลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ตลอดจนการค้นหาอาวุธจากกระบวนการเรียนรู้ของหลายๆ หน่วยงาน

“หลังจากเรียนจบแล้วก็กลับมาที่บ้านเลย เราผ่านการเข้าร่วมกระบวนการค้นหาเครื่องมือในการกลับบ้านจากหลากหลายโครงการ แต่หลายอย่างยังไม่ตอบโจทย์ เราต้องการเครื่องมือที่จะอยู่กับเราไปตลอด อยู่กับที่บ้านทำงานและอยู่กับครอบครัวให้ได้”

ความน่าสนใจของแชมป์ในการพูดคุยครั้งนี้ นั่นคือความคร่ำหวอดในสนามประสบการณ์การค้นหาเครื่องมือ ทำให้เราได้มุมมองใหม่ๆ ที่จะมาสะท้อนถึงบทบาทและความสำคัญของโครงการอาสาคืนถิ่น แชมป์นิยามการกลับบ้านว่าหมายถึงการคืนกลับมาสู่ถิ่นฐาน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรของตัวเอง อย่างเล็งเห็นถึงคุณค่า อยากรักษาและดูแล ดังนั้นแล้วความหมายของการกลับบ้านสำหรับเขาจึงไม่ใช่กลับมาที่บ้านตัวเอง แต่หมายถึงการมองถึงพื้นที่รอบๆ นั้นด้วย

พัฒนาตัวเองไปพร้อมๆ กับชุมชนด้วยองค์ความรู้ใหม่
“ความเลวร้ายของระบบนายทุน จะวางระบบให้เกษตรกรขาดความรู้ มองไม่เห็นความสามารถของตัวเอง” แชมป์มองว่าการมอบองค์ความรู้ในการทำเกษตรกรรมจะช่วยให้ชาวบ้านปลดล็อคจากประสบการณ์ความเชื่อเดิมๆ เขาเล่าอย่างมีความหวัง

ในฐานะที่กลับบ้านทันทีที่เรียนจบจนถึงวันนี้ แชมป์เป็นหนึ่งในอาสาคืนถิ่นที่เล็งเห็นคุณค่าและความหมายของโครงการอาสาคืนถิ่น ซึ่งมีต่อคนกลับบ้านได้อย่างน่าสนใจ ในการกลับบ้านบางครั้งก็ต้องหาพรรคพวก เพื่อนพ้องหรือหาเครือข่ายที่ทำงานในแบบเดียวกัน นั่นก็เพราะการลงแรงลงใจทำงานกับชุมชนต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมนั่นเอง โดยแชมป์ได้สรุปถึงสิ่งที่ได้รับจากโครงการอาสาคืนถิ่น ไว้ดังต่อไปนี้

การพูดคุยกับเพื่อนๆ อาสาคืนถิ่น = ทำให้พบคำตอบและทางเลือกหลายทาง เหมือนเป็นภาษาการกลับบ้านที่ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ปลดล็อคอุปสรรคด้วยเครื่องมือ

จากกระบวนการเรียนรู้ = เขาคุยกับชาวบ้านได้ง่ายขึ้นสามารถชี้นำทำให้ชาวบ้านปรับเปลี่ยนสิ่งเล็กๆ น้อยๆได้  เห็นโอกาส = กระบวนการเรียนรู้ช่วยให้มองเห็นโอกาส ในทางธุรกิจมากขึ้น โครงการสนับสนุนเรา  เราสนับสนุนชุมชน = แรงสนับสนุนจากโครงการ ทำให้เขาอยากสนับสนุนคนอื่นต่อไปด้วย อยากให้คนในชุมชนทำในสิ่งที่ตัวเองเป็น ไม่ต้องทำแบบผู้นำหรือทำแบบแชมป์ทั้งหมด “อาสาคืนถิ่นให้กระบวนการนี้ ซึ่งทำให้เราย้อนกลับไปมองว่า ที่กลับบ้านมาเราไม่เคยได้ใช้อะไรแบบนี้เลย”

แชมป์ย้ำชัดถึงความสำคัญของโครงการที่ช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ ในมิติการสร้างความเข้าใจในบริบทชุมชนเขาเล่าให้ฟังอย่างรู้สึกภูมิใจว่าโครงการนี้ทำให้เขามองเห็นความโชคดีของตัวเองที่ได้กลับมาใช้ทรัพยากรได้เล็งเห็นถึงคุณค่าสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว ทั้งธรรมชาติและคนอย่างจริงจัง

“การกลับบ้านเหมือนออกรบ ไม่มีอาวุธหรือเครื่องมือเราก็ตาย” แชมป์เปรียบเทียบได้อย่างน่าสนใจ

“โครงการนี้ทำให้เราเห็นมูลค่าของสิ่งที่เรามี เพราะทรัพยากรก็เป็นเสมือนอาหาร มีรูปแบบการกิน มีการทำลาย และสูญหาย” แชมป์กล่าวก่อนจะเล่าให้ฟังว่าหลังจากที่ได้อาวุรจากอาสาคืนถิ่น

เขาก็รีบกลับมาลงมือร่างไทม์ไลน์ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปีว่าจะทำอะไรบ้าง และพาชาวบ้านลงมือทำเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกัน สำหรับแชมป์แล้วเขาอยากให้คนรุ่นใหม่กลับมามองเห็นคุณค่าในทรัพยากรของตัวเอง และสิ่งสำคัญที่สุดคืออยากให้ทบทวนชีวิตของแต่ละคนด้วยว่าต้องการสิ่งใด เพื่อที่จะกลับมาอย่างไม่มือเปล่า

ขอบคุณข้อมูล / ส่วนของการถอดบทเรียนอาสาคืนถิ่น : เว็บไซต์อาสาคืนถิ่น
ข้อมูล ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2564

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai