ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

แนะนำตัวให้เรารู้จักหน่อย ว่าชื่ออะไร ทำงานที่ไหน แล้วก็ทำประเด็นอะไรอยู่

ซอ : สวัสดีครับ ซอ นะครับ ธีรภัทร เจริญฤทธิ์ ทำงานที่องค์กร Protection International ครับ ก็จะทำประเด็นเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง แล้วก็สนับสนุนส่งเสริมนักปกป้องสิทธิครับ

อยากให้ช่วยอธิบายถึงแรงบันดาลใจที่เราได้ทำชิ้นงานแล้วก็เลือกใช้รูปแบบวิธีการสื่อสารแบบไหน

ซอ : แรงบันดาลในการทำชิ้นงานก็เกิดมาจากตอนที่เราได้ลงชุมชนครับ ส่วนใหญ่ที่เราได้ลงไปในพื้นที่หรือว่าได้ลงไปทำงานในพื้นที่ เราจะเห็นแต่ชาวบ้านแล้วก็ผู้สูงอายุที่ออกมาต่อสู้ครับ จะมีส่วนน้อยมาก ๆ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ มันก็เลยทำให้เราตั้งคำถามกับตัวเองว่า เอ๊ะ ทำไมเค้าถึงกลับมาต่อสู้เพื่อชุมชนของตัวเอง ก่อนหน้านี้เค้าทำอะไรมา ก็เลยออกมาเป็นชิ้นงานที่เป็นบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่ที่มาต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน การแสวงหาในที่ดินทำกิน ที่ดินที่มั่นคงสำหรับตัวเอง ก็เลยเลือกที่จะนำเสนอออกมาเป็นรูปแบบบทสัมภาษณ์ที่จะบอกถึงเรื่องราวของวิถีชีวิต การต่อสู้หรือว่าความเจ็บปวด แล้วก็ความหวังของเค้าครับ บวกกับตัวเองสามารถวาดรูปได้นิดหน่อยก็เลยวาดรูปออกมาให้เห็นว่าเค้าเป็นแบบไหนแทนที่จะใช้รูปถ่ายครับ

สามวันที่ผ่านมา ที่มีคนเข้ามาดูงานของเรา มี Feedback ไหนที่ประทับใจบ้าง

ซอ : ส่วนใหญ่แล้วเค้าก็จะบอกว่า เค้าก็ชอบนะครับที่นำเสนอออกมาเป็นรูปแบบบทความ แล้วก็เป็นภาพวาดประกอบที่แสดงให้เห็นว่าเค้าต่อสู้ในเรื่องอะไร จริง ๆ ในภาพวาดที่ผมวาดออกมา พื้นหลังจะเป็นเรื่องของสิ่งที่เค้าอยากให้เกิดขึ้น ในบทสัมภาษณ์ของเค้าทั้งสี่ภาพนะครับ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างดงมะไฟ แล้วก็พื้นที่ที่เขียวอุดมสมบูรณ์ของการต่อสู้เหมืองแร่โปแตซซึ่งตอนนี้พื้นที่กลายเป็นเกลือ ไม่สามารถที่จะปลูกพืชได้ ต่อสู้เพื่อป่าที่มีความเขียวชอุ่มหรือว่าต่อสู้เรื่องที่ดินที่อยู่อาศัยครับ ก็เลยวาดออกมาให้มันเห็นถึงสิ่งที่เค้าอยากจะเห็นในบทสัมภาษณ์ของเค้า แล้วก็ตอนที่ได้นำเสนอก็จะมีการไปอธิบายคนที่ได้มาดูภาพฟัง เพราะคิดว่าบางคนไม่ได้อ่านจนจบครับ แล้วก็ได้ฟีดแบ็คกลับมาว่า ชอบในวิธีการนำเสนอ แล้วก็ในเรื่องของภาพวาดแล้วก็พื้นหลัง แล้วก็ชอบในวิธีการนำเสนอที่มาสรุปให้ฟัง แล้วเค้าก็เป็นกำลังใจให้ เราก็เลยรู้สึกใจฟูมากครับ

แล้วซอคิดว่างานชิ้นนี้มันจะไปทำงานต่อกับคนที่มาดูหรือว่าสังคมของเรายังไงได้บ้าง

ซอ : คือหลัก ๆ เราคิดไว้แล้วว่าอยากจะทำงานนี้ให้มันเป็นกระบอกเสียงสำหรับผู้หญิงนักปกป้องสิทธิ หรือว่านักปกป้องสิทธิรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ครับ เพื่อที่จะให้คนที่อ่านได้เห็นว่า ในพื้นที่ที่เราสัมภาษณ์แล้วก็ในพื้นที่อื่น ๆ ให้เห็นว่าการต่อสู้ของพวกเค้า เค้าต่อสู้เพื่ออะไร แล้วก็อาจจะเป็นกำลังใจให้คนที่กำลังจะลุกขึ้นมาต่อสู้หรือว่าเป็นแนวทางให้กับพวกเค้าครับ


รับชมบรรยากาศงาน แสง – สร้าง – สิทธิ (Light of Rights) เพิ่มเติมได้ที่นี่ !

ติดตามพวกเราได้ที่ อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน | มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai