“โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมสร้างพลังชุมชนสู่สังคมสุขภาวะ” หรืออาสาคืนถิ่น เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) มีความมุ่งหวังให้คนรุ่นใหม่ ที่มุ่งมั่นจะกลับไปทำงานในชุมชน/บ้านเกิดของตนเองหรือมีความตั้งใจที่จะตั้งถิ่นฐานในภูมิลำเนาประเทศไทย เพื่อสร้างฐานยังชีพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนาสัมมาชีพ ค้นหาทิศทางการอยู่รอด อยู่ร่วมในชุมชน เพื่อการเปลี่ยนแปลง อาทิ การทำเกษตรอินทรีย์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม นวัตกรรมชุมชน การพัฒนางานศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธุรกิจชุมชน ฯลฯ โดยมีวาระการเป็นอาสาสมัครเต็มเวลา 1 ปี
ความเป็นมาของโครงการอาสาคืนถิ่น
มอส. ได้ดำเนิน “โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมสู่ชุมชนบ้านเกิด” ในปี 2556 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มาอย่างต่อเนื่อง ภารกิจของ มอส. คือการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจปัญหาชุมชน สังคม มีทักษะในการทำงาน และมีหัวใจอาสาสมัคร เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านเกิดควบคู่ไปกับการสร้างฐานการยังชีพของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่ชุมชน ที่มีคนหนุ่มสาว เป็นพลังสำคัญ เชื่อมโยง สร้างความเข้มแข็งในครอบครัว… อ่านต่อ
มอส. ได้ดำเนิน “โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมสู่ชุมชนบ้านเกิด” ในปี 2556 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มาอย่างต่อเนื่อง ภารกิจของ มอส. คือการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจปัญหาชุมชน สังคม มีทักษะในการทำงาน และมีหัวใจอาสาสมัคร เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านเกิดควบคู่ไปกับการสร้างฐานการยังชีพของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่ชุมชน ที่มีคนหนุ่มสาว เป็นพลังสำคัญ เชื่อมโยง สร้างความเข้มแข็งในครอบครัว รวมถึงการสร้างกระบวนการที่ให้คนหลากหลายวัยในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดสุขภาวะทางปัญญาที่พร้อมจะเผชิญการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
ในปี 2557 – 2562 มอส.ร่วมกับวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ)ในภาคเหนือ ดำเนินการรับและส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับ อาสาสมัครรุ่น 1-3 ที่มีภูมิลำเนาบ้านเกิดในภาคเหนือมีอาสาสมัครร่วมทั้งสิ้น 45 คน, ปี 2563 มอส.ขยายบทเรียนการทำงานไปยังภาคอีสาน โดยร่วมกับสถาบันการจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ดำเนิน “โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมสร้างชุมชนยั่งยืน” รับอาสาสมัครรุ่นที่ 4 ที่มีภูมิลำเนาในภาคอีสาน 15 คน, ปี 2564 มอส.ได้ขยายบทเรียนการทำงานเพิ่มมากขึ้น โดยความร่วมมือจาก สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน พร้อมคณะทำงานโครงการฯ มอส. ได้ดำเนิน “โครงการอาสาสมัครร่วมสร้างสังคมยั่งยืน” โดยเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่กลับบ้าน ภาคเหนือ, ภาคอีสาน และภาคกลาง ซึ่งผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 16 คน อีกทั้ง มอส. ได้เปิดพื้นที่ในการต่อยอดและสร้างการเรียนรู้ของอาสาคืนถิ่นรุ่น 1-4 ร่วมกับอาสาคืนถิ่นรุ่น 5 โดยมีอาสาฯ ที่เข้าร่วม จำนวน 8 คน อีกทั้ง มอส. ได้ขยายแนวความคิดให้เกิดรูปแบบ “อาสาสมัครนักสนับสนุน” บุคคลทั่วไปที่มีทักษะเฉพาะด้านตรงกับความต้องการของอาสาคืนถิ่น เข้ามาเรียนรู้เพื่อที่จะให้อาสานักสนับสนุนและอาสาคืนถิ่นได้ทำงานร่วมกัน มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนชุมชนของอาสาคืนถิ่น เกิดบทเรียนในการทำงานเพื่อสังคม เกิดเครือข่ายการทำงานที่กว้างขึ้น
มอส. ได้ดำเนินการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่กลับไปชุมชนบ้านเกิดของตนเอง และสร้างสรรค์ชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาฐานยังชีพงานในเกษตรอินทรีย์ งานศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชน ฯลฯ “อาสาคืนถิ่น” มีวาระ 9 เดือน – 1 ปี โดยมีกระบวนการรับสมัคร คัดเลือก กระบวนการเรียนรู้ทั้งการฝึกอบรมสัมมนา 3-4 ครั้ง การศึกษาดูงาน การติดตามหนุนเสริมในพื้นที่ เพื่อให้เข้าใจตนเอง ชุมชน สังคม บทบาทของการเป็นอาสาสมัคร การพัฒนาความเข้าใจและทักษะในการประกอบการทางสังคม ทักษะการสื่อสาร การสรุปบทเรียน เป็นระยะ ๆ ตลอดวาระ 1 ปี รวมทั้งสนับสนุนค่ายังชีพในเบื้องต้น ทุนการเรียนรู้เฉพาะด้าน ทุนผลิตสื่อเพื่อการสื่อสาร ทุนการเรียนรู้ประเด็นร่วม และทุนในการทำโครงการในชุมชนที่สอดคล้องหรือต่อยอดกับการสร้างฐานยังชีพในระยะยาวโดยร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ เกิด “จิตสำนึกใหม่” ที่กล้าคิด กล้าทำในการพัฒนาชุมชน ผ่านการดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นจนถึงการประเมินผล ปัจจุบันมีอาสาสมัครที่ผ่านกระบวนการของโครงการทั้งหมด 76 คน 23 จังหวัด
ปิด
วัตถุประสงค์
- พัฒนาคนรุ่นใหม่กลับบ้าน ที่พร้อมและมีใจในการพัฒนาตนเอง สู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) มีความตั้งใจในการกลับไปฟื้นพลังชุมชน พัฒนาชุมชนบ้านเกิดให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้สังคมวิกฤติ โควิด 19 เข้าร่วมกระบวนการอาสาคืนถิ่น รุ่น 6 จำนวน 20 คน ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
- พัฒนาคนรุ่นใหม่กลับบ้านให้สามารถเท่าทันสื่อ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์สังคม สามารถสร้างกระบวนการสื่อสารให้คนทุกวัยในชุมชนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะ
… อ่านต่อ
- พัฒนาคนรุ่นใหม่กลับบ้าน ที่พร้อมและมีใจในการพัฒนาตนเอง สู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) มีความตั้งใจในการกลับไปฟื้นพลังชุมชน พัฒนาชุมชนบ้านเกิดให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้สังคมวิกฤติ โควิด 19 เข้าร่วมกระบวนการอาสาคืนถิ่น รุ่น 6 จำนวน 20 คน ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
- พัฒนาคนรุ่นใหม่กลับบ้านให้สามารถเท่าทันสื่อ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์สังคม สามารถสร้างกระบวนการสื่อสารให้คนทุกวัยในชุมชนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะ
- พัฒนาเครือข่ายคนรุ่นใหม่กลับบ้านให้เข้มแข็ง (อาสาคืนถิ่นรุ่น 1-6 และกลุ่มอื่นๆ) มีการสื่อสารเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ สนับสนุนซึ่งกันและกันทั้งในด้านที่เป็นพื้นที่เรียนรู้และการทำกิจกรรม สร้างสรรค์ร่วมกันเป็นนิเวศที่เกื้อกูลให้เกิดแนวร่วมการทำงานอย่างเข้มแข็ง
- พัฒนาการสื่อสารสาธารณะ เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับอาสาคืนถิ่น คนรุ่นใหม่กลับบ้าน เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆในโซเซียลมีเดีย สื่อสารธารณะ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความเข้าใจ โดยจะเกิดฐานข้อมูลบุคคล ที่เป็นอาสาคืนถิ่น รุ่น 1-6 เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง และเกิดสื่อต่างๆ อย่างน้อย 20 ผลงาน
- สร้างองค์ความรู้จัดทำหลักสูตรคนรุ่นใหม่กลับบ้าน เพื่อขยายผลการทำงาน เกิดความร่วมมือกับองค์กร ภาคีเครือข่ายเกิดเป็นโมเดล เครื่องมือการทำงานเพื่อการอยู่รอด อยู่ร่วมและอยู่อย่างเท่าเทียมในชุมชนของคนรุ่นใหม่กลับบ้าน
ปิด
คุณสมบัติผู้สมัคร
- อายุระหว่าง 22 – 35 ปี
- มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 2 ปี
- มีแนวคิด ความมุ่งมั่น เพื่อสร้างฐานยังชีพ และพัฒนาชุมชน/บ้านเกิด
- พร้อมเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพทุกกระบวนการตลอดระยะเวลา 1 ปี
- มีบุคคลหรือองค์กรที่รู้จักท่านดี ลงนามรับรองการสมัครของท่าน
สิ่งที่อาสาสมัครจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ
- เข้าใจตนเอง เข้าถึงชุมชน เชื่อมโยงสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
- การออกแบบ การสร้างชุมชนย่างมีส่วนร่วม (Inclusive City)
- การสื่อสารเพื่อสร้างวิถีชีวิตใหม่ (Media Information and Digital Literacy)
- ปฏิบัตการชีวิต (Life Project)
- ทักษะการจัดการโครงการอย่างเป็นระบบ (Project Management Skills)
- พื้นที่ชีวิตของคนรุ่นใหม่กลับบ้าน (Return Homeland Network)
การสนับสนุนจากโครงการ
- ทุนสนับสนุนการดำเนินงาน เดือนละ 3,000 บาท (8 เดือน)
- ทุนปฏิบัติการชีวิต Life Project 10,000 บาท
- พี่เลี้ยงโครงการ (Mentor)
- ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- ทุนการเรียนรู้เฉพาะด้าน/กลุ่ม
- ทุนสนับสนุนการสื่อสาร
รายละเอียดการสมัคร
***โปรดอ่านรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนสมัคร***
วิธีการรับสมัคร (2 วิธี)
- สมัครผ่าน Google Form
- ดาวน์โหลดใบสมัครส่งไปรษณีย์
- เปิดรับสมัคร 12 พฤษภาคม – 12 มิถุนายน 65
- ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก (พิจารณาจากใบสมัครและคลิปวิดิโอ) วันที่ 14 มิถุนายน 65
- ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จะต้องเข้าสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 65 ณ สำนักงานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม หรือทางออนไลน์ (Zoom)
- ผู้ที่ผ่านรอบสัมภาษณ์ทั้ง 20 คน จะต้องเข้าร่วม Module 1 ปฐมนิเทศทุกวันระหว่าง วันที่ 27 มิถุนายน – 1
… อ่านต่อ
***โปรดอ่านรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนสมัคร***
วิธีการรับสมัคร (2 วิธี)
- สมัครผ่าน Google Form
- ดาวน์โหลดใบสมัครส่งไปรษณีย์
- เปิดรับสมัคร 12 พฤษภาคม – 12 มิถุนายน 65
- ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก (พิจารณาจากใบสมัครและคลิปวิดิโอ) วันที่ 14 มิถุนายน 65
- ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จะต้องเข้าสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 65 ณ สำนักงานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม หรือทางออนไลน์ (Zoom)
- ผู้ที่ผ่านรอบสัมภาษณ์ทั้ง 20 คน จะต้องเข้าร่วม Module 1 ปฐมนิเทศทุกวันระหว่าง วันที่ 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 65 และสามารถเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ตลอดวาระ 1 ปี
- ตลอด 1 ปี อาสาสมัครจะกลับไปปฏิบัติงานในชุมชนตนเอง โครงการฯ จัดการเรียนรู้ เป็นระยะๆตลอดวาระ โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครให้สามารถพัฒนาตนเองสามารถสร้างฐานยังชีพ ทิศทางการ “อยู่รอด อยู่ร่วม”กับชุมชน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน และสานเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งต่อไป การเรียนรู้ประกอบด้วย 4 Module ได้แก่
- Module 1 สัมมนาก่อนปฏิบัติการ : รู้จักตัวเอง รู้จักเพื่อน เรียนรู้วิเคราะห์สังคม ชุมชน โลกาภิวัตน์ เรียนรู้เครื่องมือการศึกษาชุมชน และบทบาทการเป็นอาสาสมัคร มีโจทย์กลับไปศึกษาในชุมชนตนเอง
- Module 2 สัมมนาครบ 6 เดือน สรุปบทเรียน ความก้าวหน้าในการพัฒนางานในชุมชนตนเอง แลกเปลี่ยนงาน ความคิด ชีวิต จิตใจ / การพัฒนาความรู้ทักษะในเรื่องร่วม
- Module 3 สัมมนาครบวาระ 10 เดือน สรุปบทเรียน นำเสนอการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง
- Module 4 สัมมนาครบวาระ 1 ปี วาะระเครือข่ายอาสาคืนถิ่นรุ่น 1-6 พื้นที่เพื่อน พื้นที่ของคนรุ่นใหม่กลับบ้าน เวทีสาธารณะ
หมายเหตุ
ประเด็นในการเรียนรู้ มีการปรับให้สอดคล้องความสนใจ และบริบทของอาสาสมัคร
ปิด
สอบถามรายละเอียดและขอใบสมัครได้ที่
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
โทร : 02–6910437–8
ติดต่อผู้ประสานงาน
นราธิป : 087-0267347
สรรเพชญ : 092-9932363
ดาวน์โหลดใบสมัครได้ 4 ช่องทาง
ช่องทางที่ 1 เว็บไซต์ http://www.returnhomeland.com
ช่องทางที่ 2 เว็บไซต์ http://www.thaivolunteer.org
ช่องทางที่ 3 เฟสบุ๊คเพจ : อาสาคืนถิ่น-Return Homeland
ช่องทางที่ 4 เฟสบุ๊คเพจ : มอส-Thai Volunteer Service