วัชราวลีเล่าว่า “บางครั้งแม้ว่าสิ่งที่ฉันทำ จะเป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือแค่กรณีปัญหาเล็กๆ กรณีเดียว แต่ฉันคิดว่าคนที่ฉันช่วยเหลือ เขาสามารถลงมือทำในแบบเดียวกับที่ฉันทำกับเขา และสามารถทำได้ต่อๆ ไปกับคนอื่นๆ และฉันคิดว่าการส่งต่อสิ่งดีๆ แบบนี้ มันสามารถแพร่ขยายต่อไปได้เรื่อยๆ ในอนาคต” ผลกระทบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เธอทำ คือการที่มนุษย์คนหนึ่งได้รู้ว่าเขาเหล่านั้นมีสิทธิที่จะทำอะไรได้บ้างเมื่อถูกละเมิดสิทธิ์ ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไรอาจไม่มีใครรู้ อาจเป็นผลด้านลบก็ได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การที่คนเราได้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมนั้นย่อมถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ชุมชนจะต้องอยู่อย่างปลอดภัย และคนที่กระทำความผิดจะต้องถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

“ชิวิตที่มีคุณค่าไม่ใช่แค่การได้ทำงานไปวันๆ หรือได้ใช้ชีวิตมีความสุขกับครอบครัว แล้วก็ตายจากโลกนี้โดยไม่ได้สร้างคุณค่าดีๆ ไว้ให้กับสังคมนอกเหนือจากการมองเพียงเรื่องของตัวเองเท่านั้น” ด้วยแนวคิดนี้ ทำให้หลังจากที่เธอสิ้นสุดวาระ อส. นักสิทธิ์ เธอมีความมุ่งมั่นที่จะตามหาฝันของตัวเองต่อไป ช่วงหนึ่งปีของการเป็นอาสาสมัคร เธอได้ทำงานในประเด็นผู้ใช้แรงงานชาวพม่า การที่เธอได้เข้าไปข้องเกี่ยวกับพวกเขาเหล่านั้น ทำให้เธอมองเห็นห่วงโซ่ของขบวนการค้ามนุษย์ เธอพยายามมองหาเงื่อนไขเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน สิ่งนี้แหละคือแรงบันดาลใจที่เธอค้นหา

เธอวางแผนที่จะเรียนต่อปริญญาโทเพื่อหาความรู้และทักษะในการทำงานระดับนานาชาติ เธอเล่าว่า “เนื่องจากฉันถือวุฒิบัติของนักกฎหมายไทย ฉันจึงสามารถใช้กฎหมายได้เฉพาะในขอบเขตของคนไทยเท่านั้น แต่ถ้าฉันมีความรู้ที่เป็นสากลและถือวุฒิบัติในระดับสากล ฉันจะสามรถช่วยเหลือสังคมได้กว้างมากขึ้น”

เธอคิดว่าโครงการ อส.นักสิทธิ์ของ มอส. สามารถจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนหนุ่มสาวในการประกอบวิชาชีพได้เป็นอย่างดี เธอมีข้อเสนอต่อ มอส.หลายเรื่อง คือ 1. มอส.ควรจะดำเนินโครงการนี้ต่อไป รวมถึงควรขยายระยะเวลาของวาระอาสาสมัครให้มากขึ้นกว่าเดิม เช่น เพิ่มจาก 1 ปีเป็น 2 ปี เพื่อขยายเวลาการเรียนรู้ให้เพิ่มขึ้น 2มอส. ควรขยายเนื้องานด้านอาสาสมัครให้กว้างมากขึ้น เช่น อาสาสมัครนักสังคมสงเคราะห์ หรืออาสาสมัครด้านอื่นๆ 3. เนื่องจากเธอได้ทราบข่าวของโครงการ อส.นักสิทธิ์นี้ผ่านทางมหาวิทยาลัย ดังนั้น เธอจึงเสนอว่า มอส. อาจประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มเติมหลักสูตรการศึกษาสำหรับนักศึกษาก่อนจบการศึกษา ซึ่งน่าจะทำให้นักศึกษามองเห็นช่องทางการทำงานช่วยเหลือสังคมที่กว้างมากขึ้น และท้ายที่สุดเธอกล่าวกว่า

“ฉันคิดว่าคนหนุ่มสาวกำเครื่องมือสำคัญไว้ในมือ โดยเฉพาะความรู้และทักษะต่างๆ แต่พวกเขาถูกทำให้เชื่อว่าเครื่องมือเหล่านั้นสามารถก่อประโยชน์ให้แต่เฉพาะตัวเขาเองเท่านั้น ดังนั้น ฉันจึงอยากสื่อสารให้เขาเหล่านั้นได้รับรู้ว่า สิ่งที่มีค่าในมือของพวกเขา มันจะมีคุณค่ามากกว่าถ้าได้ถูกนำไปต่อยอดให้คนอื่นๆ ในสังคมสามารถช่วยเหลือตัวเองได้”

(ติดตามอ่านเรื่องราวดีๆ ของอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนได้ทุกวันจันทร์–ที่นี่)

—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์

อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล

เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai