ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

โต้คลื่นสุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้าน เวทีเสวนาที่ถูกจัดขึ้นในกิจกรรม “สุนทรีย์ วิวาท พะเด็ดกรวย” โดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ในประเด็น No Npo Bill ร่วมด้วย AbdulBook, เครือข่ายกวีสามัญสำนึก, เมฆครึ่งฟ้า, ตัวแทนจากพรรคปฏิวัติมอดินแดง และ อ.วรเทพ อรรคบุตร ที่ บึงศรีฐาน ขอนแก่น ในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาที่ผ่านมา

ชวนมาโต้คลื่นกันย้อนหลังในเนื้อหาที่พวกเราพูดคุยแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงเข้าสู่ประเด็นที่เกิดขึ้นสภาวะทางการเมือง เส้นทางที่คู่ขนานไปกับความเป็นอยู่ในปัจจุบันของพวกเรา ซึ่งหมายรวมถึงอีกหนึ่งเส้นเรื่องที่เกิดขึ้น ในเรื่องราวของปฏิบัติการทางศิลปะกับแนวคิดและเจตจำนงของ อ.ถนอม ชาภักดี ที่ยังคงทำงานกับคนหลายคน ทั้งในขอนแก่นและอีกหลายพื้นที่ในภาคอีสาน

โต้คลื่นในที่นี้มีความหมายซ่อนอยู่อย่างไร สุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้าน (Aesthetics of Resistance) จะขยับขยายออกไปสู่มิติไหนบ้างในมุมมอง ในจุดยืนของแต่ละคน และในขณะนี้เราทั้งหมดกำลังต่อต้านกับอะไร?

ภาพจากกิจกรรมต่อต้านด้วยหมอลำ : การแสดงของวงหมอลำสะเวินใจ (หนึ่งในกิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันงาน)

พิธีกร : ในมุมมองของอาจารย์ สุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้านคืออะไร

อ.วรเทพ อรรคบุตร : อาจจะต้องรีวิวนิดนึงว่ามีที่มาที่ไป แต่ว่าเพื่อนๆผู้ฟังสามารถไปดูได้ที่วิกิพีเดียจะมี ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเล่มนึงที่ถูกตีพิมพ์ช่วง 1970 หัวใจของหนังสือเล่มนี้พูดถึงการให้เครื่องมือกับกลุ่มคนที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับคนที่มีอำนาจในยุคนั้น ตามท้องเรื่องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปลายทศวรรต 1930 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องสั้นๆคือกลุ่มนักเรียนนักศึกษามีพื้นฐานชีวิตมาจากชั้นแรงงาน สิ่งที่ตามมาคือคนกลุ่มนี้ต้องการนำศิลปะหรือสื่อเครื่องมือบางอย่างเซาะการจัดลำดับชนชั้นที่เกิดจากผู้มีอำนาจ ภาพที่เข้าใจง่ายที่สุดในยุคนาซีคือการทำงานบนพื้นฐานของความคิดความเชื่อ ความสูงส่งของชนชั้น ร่างกายที่อุดมสมบูรณ์สมส่วน มีลักษณะการอ้างอิงตัวเองไปถึงรากเหง้าศิลปะกรีก ศิลปะในยุคราษฎร มีการหยิบมาบางส่วน มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารเรือนร่างพลเมืองในยุคใหม่ ในรอบต่อไปจะพูดถึงวิธีการทำงานของศิลปะสุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้านมันหยิบยื่นอะไรให้กับคนที่ถูกกระทำ

พิธีกร : อย่างที่อาจารย์ว่าเป็นการหาเครื่องมือหยิบในใช้การสื่อสาร ในมุมของคุณเพตราเป็นอย่างไรบ้าง

เพตรา (เครือข่ายกวีสามัญสำนึก) : ถ้าในมุมของพวกเราที่มาจากกลุ่มกวีเราก็จะใช้ตัวกวีจะกำหนดว่าบทกวีมันเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เราหยิบเอามาใช้ในการที่จะมาสื่อสารประเด็นใดประเด็นหนึ่งโดยเฉพาะในประเด็นปัจจุบันก็เป็นประเด็นของการต่อต้านเผด็จการให้เข้าใจง่ายๆ ก็เป็นประเด็นที่พวกเราจะใช้การเขียนบทกวีไม่ว่าจะร่วมในม็อบหรือว่าจะโพสต์ Facebook ส่วนตัวอะไรก็ตามแต่นั่นก็เป็นเครื่องมือที่พวกเราหยิบขึ้นมาใช้แต่ว่าเขียนไปเขียนมาเขียนให้มันด่าไปด่ามามันก็ไม่ใช่ เขียนอะไรที่เราต้องการที่จะพูดสื่อสารอะไรที่มันเป็นสุนทรียะแก่ตัวเรา อ่านแล้วอยากจะอ่านซ้ำมีอารมณ์ร่วมอ่านไม่รู้กี่รอบแล้วแต่ก็ยังอ่านอีกเป็นสุนทรียส่วนตัว ที่อยากจะกระแทกทันแดกดันให้มันเต็มที่ไปเลยในทุกๆครั้งที่เราอิน

พิธีกร : บทกวีก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะสื่อสารออกไปเพราะเมื่อกี้จากที่เราเห็นได้อ่านบทกวีก็คือว่าทั้งอารมณ์สุนทรียในตัวเองรวมถึงบทที่เขียนออกมาด้วย

เพตรา (เครือข่ายกวีสามัญสำนึก) : ก่อนเขียนอารมณ์ปกติ พออ่านปุ๊บอารมณ์มาจากไหนก็ไม่รู้ มันมาเองอันนี้ก็เป็นความพิเศษของเครื่องมือที่เรียกว่าศิลปะ

พิธีกร : เมื่อกี้พูดถึงบทกวีและในบทกวีท่านหนึ่งก็แล้วกัน “เมฆครึ่งฟ้า” สุนทรียในการต่อต้านในมุมมองของพี่เป็นยังไงบ้าง

เมฆครึ่งฟ้า : คือผมว่าจริงๆแล้วในบ้านเมือง ในสถานการณ์ปกติอาจจะหมายถึงความสุขหรือไม่ก็ความสวยงามความงดงาม แต่ว่าบ้านเมืองแบบไหนที่ทำให้สุนทรียที่เราพูดว่ามันคือการได้แสดงออกถึงความรู้สึกจริงๆ การได้ต่อต้านการกดทับ ดังนั้นการใช้สุนทรียในการต่อต้านในบ้านเราจึงเข้าใจนะว่ามันเป็นในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ แล้วก็เป็นทางออกอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ถูกกักขังอยู่ในพื้นที่จำกัดซึ่งมีอำนาจรัฐเข้ามาจัดการในทุกอย่างชีวิตไม่ว่าจะเป็นความคิดศิลปะ วัฒนธรรม อารมณ์ หรือว่าเทส หรือว่ารสนิยม ดังนั้นสุนทรียสำหรับผมมันคือความเป็นจริงซึ่งมันอาจจะไม่งดงามมาก สมมุติว่าประเทศเรามีสวัสดิการที่ดีขึ้นอีกนิดนึงมันอาจจะเพราะกว่าการฟังเพลงจากโมสาร์ทตัวเป็นๆ ก็ได้

พิธีกร : แล้วสำหรับอีกท่านนึงหล่ะ

พนา (เครือข่ายกวีสามัญสำนึก) : การเลือกแสดงออกโดยใช้สุนทรียคือแสร้งว่าได้สามารถมีพื้นที่ที่เราสามารถแสดงความรู้สึกจริงๆ ได้กลบเกลื่อนว่าหรือว่านำเสนอว่าสิ่งนั้นที่เราโดนกดทับและซ่อนอยู่และใช้พื้นที่สุนทรียในการเปิดแล้วก็ใช้มาเป็นฟังก์ชันในการสะท้อนกลับไป ถ้าเปลี่ยนเซ็ตติ้งว่าเราไปยืนอ่านอยู่หน้าลานสลิ่ม ถือไมค์แบบนี้แหละ ตะโกนปาวๆ โดยที่เซตติ้งไม่ได้เป็นแบบนี้ เราว่าอารมณ์ร่วมหรือว่าสุนทรียที่สื่อผ่านตัวบทออกไปมันจะเปลี่ยน เราแค่รู้สึกว่าพื้นที่ทางศิลปะในประเทศนี้ มันยังมีพื้นที่นิดๆ ที่อนุญาตให้เราวิ่งเล่นได้ ให้เราได้วิ่งและกว้างกว่าเดิมนิดนึงใช้คำว่ากว้างกว่าเดิมนิดนึงเพราะว่าโซนนี้ก็มีผู้คนที่ต่อต้านและก็โดนเก็บไป ใช้คำนี้ดีกว่าและถูกห้ามหรือว่าขอให้ยุติ เหมือนเวลาเราเป็นเด็กถ้าเราวิ่งเล่นด้วยอารมณ์หรือความรู้สึกอะไรไม่รู้ แต่กูอยากวิ่งเล่นแล้วอยู่ๆ ก็มีเหตุผลหรือกำหนดเวลาจากผู้ปกครองว่าวิ่งได้ถึงแค่ 6 โมงนะเพราะว่าหลัง 6 โมงต้องกลับมากินข้าวอาบน้ำทำอย่างอื่นแต่ว่าความเป็นปุถุชนของตัวเองมันจะสามารถบอกว่าเราสามารถวิ่งเล่นหลัง 6 โมงก็ได้ กูจะกินข้าวเวลาอื่นก็ได้แต่ว่าพื้นที่ตรงนี้อนุญาตให้เรามีความเป็นมนุษย์เพิ่มขึ้นนิดนึง แต่ว่ามันก็ยังดูน่าเศร้าที่เราต้องแสร้งเพื่อสร้างพื้นที่จำลองให้เราได้วิ่งเล่น ถ้าสถานการณ์ปกติเราอาจจะจัดวงเสวนาหรือมีการประท้วงตามทุกหัวมุมทุกสวนสาธารณะ ก็อาจจะมีกิจกรรมแบบนี้ได้เป็นปกติโดยที่ไม่ได้รู้สึกแปลกแยก หรือมันจะรู้สึกว่าถ้าในเชิงศิลปะเราก็สามารถเข้าไปอยู่ในพื้นที่สถาบันทางศิลปะก็คือพิพิธภัณฑ์หรือว่า Museum แต่ว่าสุนทรียแห่งการต่อต้านไม่ได้ถูกอนุญาตให้แสดงออกในพื้นที่แบบนั้น เพราะว่าเขาก็มีสุนทรียในการหล่อหลอมเราอีกแบบหนึ่ง แต่ว่าในนามของเครือข่ายเรา เราเชื่อว่าไมค์ตัวนี้พื้นที่ที่เราเซทติ้ง มันจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยของทุกคนแล้วเราก็ยินดีฟังความเห็นหรือฟังข้อโต้แย้ง ใครอยากต่อต้านเรากลับก็ได้หรือว่าจะนำเสนอทางอื่นให้เราไปต่อก็ได้ สำหรับเราว่าพื้นที่ที่เราจำลองสร้างมามันสามารถเพลย์เซฟแล้วก็ทะลวงเขาไปต่อได้

พิธีกร : เห็นเป็นแบบว่าพื้นที่ที่เรามาพูดถึงหรือว่าที่จะแสดงสุนทรียอะไรก็ตามแต่มันไม่ควรจะโดนขีดหรือวงกลมมันดูแคบเกินไปมันควรที่จะพูดได้ทุกเรื่องย้ำว่าทุกเรื่องเพราะไม่ควรมีเรื่องใดที่ต้องห้ามแม้กระทั่งเรื่องที่อยู่ใต้พรม เดี๋ยวมาอีกมุมนึงของพี่มายด์มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมมองเรื่องสุนทรียศาสตร์กับการต่อต้านยังไงบ้าง

มาย : ด้วยตัวมูลนิธิมองว่าเราอาจจะเป็นหนึ่งในการสนับสนุนและช่วยให้พื้นที่แบบนี้มันมีมากขึ้น เราอาจจะมีเครือข่ายหรือว่าเราอาจจะมีต้นทุนบางอย่างที่สามารถทำให้พื้นที่ตรงนี้ พื้นที่ปลอดภัย ให้มันมีเยอะขึ้นแล้วเราก็เชื่อว่าพอพื้นที่ตรงนี้มีเยอะขึ้นได้มันก็จะอาจจะแข็งแรงมากขึ้น แล้วก็อาจจะนำไปสู่บางสิ่งบางอย่างต่อไป

พิธีกร : อยากที่จะให้เวทีแบบนี้อยู่กับพื้นที่ได้อย่างหลากหลายและให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้นไม่ใช่แค่คนที่จะมาพูดเรื่องนี้อย่างเดียว มาในมุมของน้องนักศึกษาบ้างจะเป็นตัวแทนของพรรคปฏิวัติดินแดนน้องอะตอมมองยังไงในเรื่องของการต่อต้าน

อะตอม (ตัวแทนจากพรรคปฏิวัติมอดินแดง) : ผมกำลังมองว่าสุนทรียมันคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสุขด้วยตัวของเขาเองหมายถึงว่าในสังคมไหนมีการต่อต้านทั้งนั้น คือกำลังมองว่าเพียงแต่ว่าเราจะใช้รูปแบบไหนในการที่จะต่อต้านวันนี้เราพูดถึงศิลปะ วันหน้าเราพูดคุยถึงบทกวี พูดคุยถึงสิ่งอื่นๆที่จะเป็นพื้นที่ให้กับมนุษย์ได้แสดงออกถึงการต่อต้านเพราะว่ามนุษย์เมื่อเราจะเป็นมนุษย์ได้เราต้องใช้เสรีภาพของเราให้มีขีดจำกัดไม่สามารถที่จะขีดเส้นหรือว่าตีกรอบให้เราต้องอยู่ในกรอบที่รัฐกดขี่ แต่เราต้องต่อสู้ให้ชัดเจนว่ารัฐมาจากประชาชน

พิธีกร : ก็เป็นมุมของนักศึกษานะครับมาอีก 1 คนพี่แนคมองเรื่องของการต่อต้านกับสุนทรียยังไงบ้าง

แนค (AbdulBook) : มันมีคำหนึ่งที่เขาบอกว่าพระเจ้าตายแล้วศิลปะเข้ามาแทนที่ผมเลยเชื่อมั่นว่า ผมเป็นอดีตคนที่เคยเชื่อในพระเจ้าทีนี้ผมเลยมองว่าในแง่หนึ่งที่ชวนทุกคนมาวันนี้ เรามองว่าหนึ่งเลยเรามีเครือข่ายกวีเรามีหมอลำที่มีความสนุกสนานโต้คลื่นทางสุนทรียศาสตร์ไปด้วย ในที่ขอนแก่นผมก็เป็นคนสังเกตการณ์อยู่ตลอดว่าเรามองเห็นว่าเรามีเพื่อนเรามีคนที่ทำกิจกรรมทางการเมืองหรือว่าทางวรรณกรรมอยู่ตลอด สิ่งๆนี้ถ้ามันมีพื้นที่ให้เขามีโอกาสหรือว่ามีเวลาให้เขาได้มาแสดงตัวตนผ่านตรงนี้คิดว่ามันจะเป็นอะไรที่ดีมากๆ แล้วก็จะกระจายไปสู่ที่อื่นได้ด้วย ทีนี้ผมก็มองว่าไม่จำเป็นว่าต้องแค่ที่ขอนแก่นนะอีสาน 20 จังหวัดก็มีพื้นที่มีผู้คนมีสำเนียงของการต่อต้านมีสำเนียงของการพูดมีสำเนียงของการภาพพจน์อะไรที่มันแตกต่างกันอยู่ผมคิดว่าสิ่งนี้ถ้าเกิดมันรวมกันได้ในระดับหนึ่งมันจะดีมากๆเลยไม่จำเป็นว่าต้องให้ที่นี่นะ

พิธีกร : อันนี้คือสุนทรียกับการต่อต้านเมื่อกี้มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมากคือเครื่องมือเครื่องมือในการต่อต้านรู้จัก 3 ท่านนี้แหละว่าใช้จากบทกวีเครื่องมือในการต่อต้านที่เรารู้สึกว่ามันน่าจะสัมฤทธิ์ผลเราจะทำอะไรบางอย่างที่รู้สึกว่ามันโอเคที่สุดสำหรับเรามันคืออะไร

อ.วรเทพ อรรคบุตร : ผมยังขยายความไม่จบเรื่อง The Aesthetics of Resistance คิดซะว่ามันมีร่มใหญ่ที่มันเป็นการกระทำหรือว่าจิตสำนึกที่มันต้องการจะคัดค้าน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าแทงสวนคือว่าที่ผ่านมาเวลาเราพูดถึงของการสร้างสรรค์ศิลปะหรือว่าสุนทรียภาพเนี่ยเราจะมองเป็นเรื่อง Vertical Alignment เป็นการเรียงจากสูงมาต่ำ คือที่เราเรียนกันมาเนี่ย คราฟมันไม่ใช่ศิลปะเพราะว่ามันซ้ำซาก ของชาวบ้านบ้านหม้อที่ดินไม่ใช่อาร์ทเพราะมันสกปรกมันมีเหงื่อ ศิลปะที่ดีคือศิลปะที่มันพุ่งไปข้างบน ยกตัวอย่างง่ายๆ ภาพวาดของราฟาเอล ที่ชื่อ The School of Athens อันนี้เป็นงานของเพื่อนผม เขาก็เอา Action ของนักปรัชญา 2 คน อีกคนนึงชี้ฟ้าอีกคนนึงที่ดิน นี่คือรากฐานอันนึงที่มันเป็นปลูกฝังมาเรื่อยๆในมหาลัยศิลปะคือการคิดแบบ Align เรียงจากล่างขึ้นบน นั้นคือศิลปะที่ชาวบ้านทำ คนที่เรียนศิลปะทำ นายแพทย์ทำศิลปะ วิศวกรทำศิลปะ มันจะไม่ถูกชื่นชม ไม่ถูกดื่มด่ำ เท่ากับคนที่ผ่านสถาบัน เข้าประเด็นอย่างเมื่อกี้ที่มีคนพูดว่าเราต้องการเครื่องมืออะไร ที่จะไปต่อต้าน ต่อรอง บ่อนเซาะกับสถาบันอย่าง ในกรณีของตัววรรณกรรม The Aesthetics of Resistance มันก็มีโควทหนึ่งซึ่งแปลเป็นไทยว่า เราอย่าหันหลังหรือเพิกเฉยต่อการด้อยค่าการต่อต้าน คือปกติแล้วถ้าเราคิดว่าชนชั้นนำหรือสถาบันมีการจัดเรียงคุณค่าจากต่ำไปสูง การที่เราออกนอกกรอบเป็นการทำอะไรไม่เรียบร้อยไม่เข้าบล็อกตามที่ผู้นำหรือคนที่คอยกรอกหูยัดเยียดมาตรฐานความงามความดี ถ้าเราไม่ลงล็อคเราคือพวกที่ไม่เรียบร้อยและพวกต่อต้าน หัวใจของ Keyword ของวรรณกรรมคือการพูดถึงว่า อย่าไปด้อยค่ามันอย่าไปหันหลังให้มัน ใครก็ตามที่มาด้อยค่า ที่มองว่าอย่ามาต่อต้านกู ต้องทำให้การต่อต้านไม่ถูกประนามไม่ถูกเหยียดหยาม นอกจากที่ผมพูดประเด็นเรื่องจากการเรียงจากต่ำไปสูงหรือเรียงตามแนวตั้ง แต่มีประเด็นหนึ่งก็คือที่ได้จากประสบการณ์ภาคสนามอันนี้ขออนุญาตโควทจากอาจารย์ถนอม แต่ว่าก็ไม่ได้พูดแบบนี้เป้ะๆ สิ่งที่จะอยากให้มันเกิดขึ้นก็คือว่าการเอาสีสเปรย์เอาเครื่องไม้เครื่องมือที่มันอยู่ในมือศิลปินไปให้คนอื่นให้เขามั่นใจที่จะเขียนอะไรออกมาฉะนั้นสิ่งมีสำคัญมาก มันคืออย่างที่บอกมันคือความงามในแบบที่อยู่นอกสถาบัน อยู่นอกการการันตีจากสถาบันสิ่งนี้มันสำคัญ มันก็มีบางกรณีที่ทำมาแล้วแล้วมันถามว่ามัน…ถามว่าล้มเหลวไหมมันไม่ล้มเหลวแต่ว่าสิ่งที่มันไม่เกิดขึ้นจริงๆ ก็อย่างที่พิธีกรพูดไปเมื่อกี้คือ การโต้คลื่น สิ่งที่มันไม่โต้ไปด้วยกันก็คือว่าต่างคนต่างทำ กวีก็ทำพูดอีกทีนึงศิลปินก็พูดอีกทีนึง ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือว่าทำให้มันเคลื่อนไหวได้ไปเป็นแผง

ขอสรุปเรื่องอีกเรื่องนึงคำถามที่พิธีกรพูดก็คือเครื่องมือ เครื่องมือที่มันจะมันไม่ใช่แค่เพียงเครื่องมือที่จะใช้ในการค่ำบาตร แต่หมายถึงทัศนคติที่มองว่าชาวบ้านก็ทำอาร์ทได้ ของที่มันไม่ได้มาจากสถาบันมันก็สื่อสารได้ยกตัวอย่างเช่น กรณีพระพุทธรูปอุลตร้าแมน ก็คือมองในเชิงของฝีไม้ลายมือ พวกที่เรียนมหาลัยก็อาจจะเบะปากยักไหล่ไม่ได้เรื่อง แต่ถ้าเรามองในเชิงของการสื่อสาร การเดินไปเตะบันไดให้มันล้มก็คือว่า แต่เดิมศิลปะที่ดีมากๆต้อง 1 2 3 แดงขาวน้ำเงินว่ากันไป สุดท้ายลองมาคว่ำตรงนี้ซิ ใช้วิธีการเรียกถ้าเป็นภาษาสุนทรียศาสตร์เรียกว่าเป็นการการล้อเลียน ฉะนั้นการเมืองที่เมืองสำคัญมากที่คนผู้มีอำนาจจะกลัวทำให้มันตัวเป็นตัวตลกเช่น เดี๋ยวเราไปปิกนิก ไปกินเค้กกันริมสระไหมจ๊ะ ซึ่งมันเป็นคำสามัญ ใครก็มีสระ ใครก็มีบ่อปลา ผมคิดว่าเครื่องมือสำคัญคือต้องมียุทธศาสตร์บางอย่างในการที่เราจะไปล้อเลียนกับแสงหรือว่าความสูงส่งความงามกับประการของการทิ้งท้ายก็คือเราต้องไปเป็นแผงเราอย่าไปตัวใครตัวมันมันเปล่าเปลี่ยวแล้วมันก็อาจจะอันตราย

พิธีกร : ไปเป็นกลุ่มหรือทุกคนก็จะมีคลื่นเป็นในตัวรวมคลื่นกันให้สูงสินามิใหญ่ แล้วก็เมื่อกี้พูดถึงเรื่องสุนทรียของการต่อต้านเดี๋ยวเราจะมีหัวใจสำคัญก็คือการต่อต้านแต่รู้แหละว่าเราจะไปต่อต้านอะไรโดยใช้สุนทรีนี่แหละคือความงามและความไม่งามก็ได้ แต่เราคงจะได้ยินมาบ้างแหละ เมื่อเราก็ต่อต้านก็จะมีคนต่อต้านเราเหมือนกันซึ่งเราก็จะเห็นกันบ่อยๆทุกวันนี้อยากฟังมุมมองว่ารู้สึกยังไงกับคนที่บอกว่าพวกออกมาต่อต้านพวกหัวรุนแรงออกมาต่อต้านเนี่ยแบบว่าไม่เข้าร่องเข้ารอยที่เดี๋ยวให้เป็นน้องอะตอมก่อนละกัน

อะตอม (ตัวแทนจากพรรคปฏิวัติมอดินแดง) : ก็คำถามเมื่อสักครู่นี้ผมคิดยังไงกับคนที่เห็นต่างกับเราแล้วหวังว่าต่อต้านจะทำให้เกิดความวุ่นวายหรือว่าโกลาหนคือต้องยืนยันว่าในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย การต่อต้านการชุมนุมคือเรื่องปกติ การวิพากษ์วิจารณ์งานเขียนงานกวี ต่อต้านรัฐเป็นเรื่องปกตินี่คือเรื่องปกติที่สังคมประชาธิปไตยเขาทำกัน เพราะฉะนั้นแล้วผมกำลังมองว่าถ้ามันมีเวทีในการที่จะแลกเปลี่ยนหรือว่าพูดคุยเพื่อนำไปสู่กระบวนการหาทางออกมันคือกระบวนการที่พวกเรากำลังทำอยู่นั่นก็คือการมานั่งพูดคุยกันแบบนี้ การมาชวนทุกคนมาแสดงออกมาแสดงความคิดเห็นมาเขียนป้ายมาช่วยกันลงชื่อเพื่อปล่อยเพื่อนเราออกจากคุกเนี่ย นี่คือเรื่องปกติแล้วก็มองว่าถ้าจะมาบอกว่าพวกเราเป็นคนหัวรุนแรงก็ขอปฏิเสธแล้วก็จะบอกว่าในสังคมประชาธิปไตยเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องปกติ

พิธีกร : ก็จะเห็นว่ามีทั้งการเคลื่อนไหวที่บอกว่าไปยืนปล่อยเพื่อนเราอะไรแบบนี้ก็จะมีเวลามาตั้งรวมกลุ่มกันนู่นนี่มาที่พี่มายการตั้งมูลนิธิแบบนี้เหมือนกับว่าประเด็นเดียวกันเลยการต่อต้านเนี่ยมันคือการหัวรุนแรงหรือเปล่าหรือว่าไปขัดขวางอะไรบางอย่างทำให้เค้าไม่สบายใจหรือเปล่าหรือแม้กระทั่งการต่อต้านเนี่ยสร้างกระแสให้ตัวเองหรือเปล่า

มาย : ส่วนตัวแล้วคิดว่าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนและเราก็มีคุณค่าบางอย่างที่เรายึดถือร่วมกันดังนั้นเราคิดว่าสิ่งที่เราแสดงออกเขาจะคิดยังไงก็ได้แต่เรายังเชื่อมั่นในตัวเราและเชื่อในตัวเพื่อนของเราทุกคน

พิธีกร : เรามีเป้าหมายของเราก็เดินให้แน่วแน่ไปงั้นเลย พี่แนคมองไงครับ

แนค (AbdulBook) : ผมอยากเปิดร้านหนังสือก็เพื่อที่จะดึงคนเข้ามา ดึงคนได้มาเจอกันมากกว่าเป็นอีกหนึ่ง Public Space พูดง่ายๆ ไอ้ความเป็นพื้นที่สาธารณะเนี่ย ผมก็อยากที่จะทำให้มันเกิดงานสร้างสรรค์บ้าง งานไม่สร้างสรรค์บ้างก็ได้นะ แต่ว่าโอเคอยากให้ทุกคนมามาแชร์กัน ผมมีเพื่อนที่ถ่ายภาพเก่งมากอยากให้เขาเข้ามา Workshop ให้คนที่ขอนแก่น ผมมีเพื่อนที่สมมุติจะให้เขามาเจอกับคนที่เล่นหมอลำเลยเนี้ยเป็นกึ่งการปฏิบัติการมากกว่าลักษณะนั้น ที่นี้ผมก็สนใจว่าจริงๆ อย่างที่พี่แคนบอกเมื่อกี้ว่าเราอาจจะไม่ต้องจำกัดกรอบของคำว่าศิลปะมากเกินไป มันสูงส่งอะ ขนาดเรามานั่งอยู่ตรงนี้หอศิลป์อยู่ข้างหน้าเนี่ยยังไม่ได้เข้าไปเลย ผมเคยจัดงานที่หอศิลป์กรุงเทพบ่อยมากตอนที่ทำงานอยู่กรุงเทพ อันนี้มันหอศิลป์แต่ว่าต้องไปขอเขาจัดงานขนาดนี้เลยหรอวะ มันสูงส่งอะไรขนาดนั้น ผมเลยสนใจว่าเราอาจจะไม่ต้องจำกัดรูปแบบหรือว่ากรอบมากมายนัก ผมมีเพื่อนที่ทำงานเกี่ยวกับคนไร้บ้านผมมีเพื่อนเป็นทนายผมว่าคนกลุ่มนี้เขาก็สร้างงานศิลปะในแบบเขาเหมือนกัน รู้สึกว่าวันนึงมันก็จะถ่ายเทเรื่องพวกนี้มาสู่สาธารณะได้เหมือนกัน

พิธีกร : ในมุมของนักกวีคลื่นตามหัวข้อเลยในมุมของนักกวีในการต่อต้านมันคือคลื่นอะไรยังไงที่เราจะสื่อสารออกไปเราต้องการให้คลื่นจะออกไปรูปแบบไหนแค่เป็นตัวหนังสือหรือว่าบทความ

เพตรา (เครือข่ายกวีสามัญสำนึก) : คลื่นเนี่ยมันเป็นอะไรที่ถาโถมขึ้นมา ก่อตัวขึ้นมาจากแรงผลักดันอะไรบางอย่าง โดยธรรมชาติของคลื่นในเชิงวิทยาศาสตร์มันมีอะไรบางอย่างผลักดันให้ตัวขึ้นมันฟอร์มรูปขึ้นมา ทีนี้ก็สอดรับกับคลื่นของการต่อต้านที่ยิ่งรวมโมเมนตัมมากขึ้นเรื่อยๆเรื่อยๆ คลื่นคำนี้ตั้งขึ้นมาก็เพราะว่าเรามีความรู้สึกว่า คลื่นมันมาพร้อมกับความความเสี่ยงความน่ากลัว ความที่เราจำเป็นที่จะต้องพยายามที่จะข้ามผ่านมันไปให้ได้ หรือแม้กระทั่งรวมกันเป็นคลื่นเพื่อไปซัดลงไปที่ใดที่หนึ่งคนใดคนหนึ่งกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สถาบันใดสถาบันหนึ่ง อะไรบางอย่างที่ต้องรวมกันเป็นคลื่นให้ได้ หรืออะไรบางอย่างที่เป็นคลื่นใต้น้ำมาอยู่แล้วเราเนี่ยรอมันปรากฏขึ้นด้วย นั่นคือทำไมถึงตั้งชื่อนี้มาว่าคลื่นเพราะว่าในระหว่างที่เราปฏิบัติการทางสุนทรียศาสตร์มีอะไรที่หลายคนต้องเสียไป มีอะไรหลายคนที่ต้องสูญเสียต้องจ่ายไป อันนี้คือเราเองก็เห็นว่าบางคนเขาเข้ามาร่วมด้วยจิตประภัสสรกลิ่นบริสุทธิ์แล้วก็ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ต้องถูกอำนาจหรืออะไรบางอย่างกดขี่เหล่านั้นคือความเสี่ยงขั้นที่ 1 ถ้าเกิดคุณโดนอันที่ 1 คุณจะกล้ามาไหม อันนั้นคือสิ่งที่เราต้องจ่ายในระหว่างที่เราปฏิบัติการต่อต้านสิ่งเหล่านี้อยู่ เราก็เลยมองว่าทำยังไงที่จะทำให้เราต่อต้านมันไปเรื่อยๆ เราไม่ต้องการสูญเสียใครอย่างในคำแถลงการณ์ของพวกเรา เราไม่ต้องการสูญเสียใครไป เราไม่ต้องการให้ใครเสี่ยง แต่ถ้าไม่เสี่ยงมันก็ไปไม่ถึงในบางครั้ง ฉะนั้นเราต้องการเสี่ยงมากขึ้นเข้าไปทุกวัน แต่ความจริงมันจะสอดคล้องกับที่พี่แคนพูดมันยังอยู่ในมโนสำนึกจิตสำนึกคำว่าทุกวันนี้เหนื่อยไหม เหนื่อย แต่ว่าจะเลิกได้ยังไง มันคือตรรกะเขากำลังกดขี่คุณ ไม่ให้คุณพูดเขากำลังทำอะไรกับสังคมนี้ประเทศนี้ จะบอกว่าให้เลิกยังไงเลิกต่อต้านคือยังไง ก็ไปขายของอยู่เฉยๆ เงียบนั่งฟังเพลงเปิด Spotify เปิด YouTube อย่างนั้นหรอ แต่ว่าสิ่งที่มันยังวนอยู่มันยังอยู่ต่อหน้าพวกคุณทุกคนคุณจะยังดำเนินชีวิตกันอยู่ต่อไปได้ยังไง แค่นั้นเองแค่นั้นเองที่บอกรวมขมวดมาเป็นคำว่าคลื่น พวกนี้แหละบางคนที่ไม่กล้าบางคนที่ยังเป็น Ignorance อีกหน่อยอาจจะเป็นคลื่นใต้น้ำในอนาคตก็ได้ เชื่ออย่างนั้น

พิธีกร : คลื่นในมุมของพี่เพตราก็จะมีทั้งความเสี่ยง ราคาที่จะต้องจ่าย ในมุมที่พนาการต่อต้านมีความเสี่ยงมีราคาที่ต้องจ่ายมันเป็นยังไง

พนา (เครือข่ายกวีสามัญสำนึก) : เราอธิบายแบบนี้ดีกว่าว่าทุกๆการกระทำเวลาเราปะทะอะไรมันก็จะมีการสะท้อนกลับมาอยู่แล้ว ซึ่งความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้มันมีไม่เท่ากัน แต่ว่าถ้าเราใช้ความเชื่ออย่างนั้นหน่วยมวลที่มันเป็นคลื่นมหาชน หรือว่าจำนวนนับที่เพิ่มขึ้น เราอาจจะไม่ได้มุ่งไปเป้าหมายเดียวกันขนาดนั้น เราอาจจะไม่ได้สิ่งที่ชอบเหมือนกันมากขนาดนั้น แต่เรามีเป้าหมายหรือสิ่งที่เราจะต่อต้านเหมือนกัน ถ้าเราไม่ทราบจุดนั้นเราจะไม่สามารถคุยกันได้ว่าเราจะไปยังไงกันต่อ พูดประมาณนี้ดีกว่า แต่ว่าเราขออธิบายเรื่องเครื่องมืออีกนิดเพราะว่าทางกลุ่มไปรวมกับที่ทำกิจกรรมม็อบหน้ายูเอ็น ม็อบเขามีจัดตั้งอยู่แล้วมีกิจกรรมของเขามีการเดินขบวนยื่นข้อเสนอ ประเด็นที่เขาต่อต้านก็คือ พรบควบคุมการรวมกลุ่ม ยื่นจดหมายเดินพาเหรด แต่ว่ากิจกรรมที่เราไปทำเรามีประเด็นที่เราสนใจ แล้วก็ปฏิบัติกับมันอยู่ก็คือเรื่อง 112 แล้วก็การปล่อยนักโทษที่ยังถูกอยู่ในเรือนจำ ตอนนั้นตะวันยังไม่ได้ประกัน พวกเราก็เลยคิดโปรเจค เราไปทำห้องสมุดให้ม็อบให้คนในม็อบและคนที่มาร่วมงานแต่ห้องสมุดเรามีหนังสือที่พูดแค่เรื่องสถาบันกษัตริย์และการเมืองแค่นั้นเลย โดยที่เราแค่คิวเรทสร้างพื้นที่ให้คนมาแชร์กับตัวบท ซึ่งเราไม่ได้เป็นคนเขียนเองด้วยซ้ำ แล้วกิจกรรมก็ดำเนินไปแต่ว่าในช่วงเวลานั้นเราไปออกบูธขายของขายถุงผ้าขายพวกสิ่งพิมพ์ของเครือข่ายเราไปผูกป้ายผ้ากิจกรรมนี้แหละ อ่านหยุดขัง112 ชั่วโมง ซึ่งเราได้ไปก่อกวนในพื้นที่ แต่เราขอใช้ร่วมกับเขา เราไม่ได้ไปแฮกไม่ได้ไปแอบใช้ แล้วขอเข้าไปตามระบบจ่ายค่าเช่า แต่เราจะทำกิจกรรมเนี่ยทำได้วันเดียว วันต่อมาเขาขอไม่ให้พูด ขอเอาป้ายลง เรามีแค่ป้ายผ้าแล้วก็เชิญคนมาอ่านหนังสือแค่นั้นแค่นั้นเลย

พิธีกร : กิจกรรมที่มีช่วงจัดล่าสุดคือช่วงพฤษภาคมมิถุนายนช่วงนี้แน่เลยช่วงรับปริญญาของม.ธรรมศาสตร์

พนา (เครือข่ายกวีสามัญสำนึก) : วรรณกรรมโดยบทมันเป็นแค่ตัวอักษรหลายอย่างในพื้นที่มาวรรณกรรมที่ประชาชนเขียนหรือข้อความที่ทุกคนอยากแสดงออกแค่แผ่นป้ายกระดาษแผ่นเดียว มันมีช่วงที่โดนห้าม แค่ทุกคนชูกระดาษเปล่ามันไปถึงจุดนั้นได้ คือไม่มีอะไรเลย ยังโดนไม่อนุญาต แค่ชูกระดาษ ซึ่งพอเวฟกระแสม็อบปี 63 เวฟมันก็โต้คลื่นไปพร้อมกับโควิด ลูปโควิดเราหลุดไปตอนนี้เป็นลูปที่ทุกคนใครอยากจะกลับมาใช้ชีวิตปกติ แล้วคลื่นที่เราร่วมกันสร้างมามันก็เริ่มลดลงแต่ว่ามันมีพลังคลื่นใต้น้ำที่เพตราเคยพูดไว้ ก็คือมันจะมีคนที่เชื่อแล้วก็ชูป้ายข้อความในพื้นที่อื่นๆ อย่างล่าสุดที่เราเห็นจะเป็นพื้นที่คอนเสิร์ตแล้วก็ชูป้ายปล่อยเพื่อนเราแค่เนี้ย ซึ่งเขาก็ซื้อบัตรเข้าไปฟังคอนเสิร์ตแล้วก็แสดงออกในพื้นที่นั้น ให้คนที่อาจจะยังไม่รู้หรือคนที่ไม่ได้สนใจหรือแค่หางตาแปปนึง ได้อ่านสาระสำคัญที่เรากำลังจะเรียกร้องว่าอย่างน้อยที่สุดขอให้ปล่อยเพื่อนเรา

ขออพูดอีกประเด็นหนึ่งว่าความเสี่ยงทุกคนมันมี ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับจุดเล็กๆ คือ ไม่แน่ใจว่าใช้ความกล้าได้หรือเปล่า แต่ว่าความอยากจะแสดงออกอยากจะขอพื้นที่ให้ได้พูดได้และเปล่งเสียงในเนื้อหาสาระหรือข้อความอย่างวันนี้ มอส. มาทำงานในประเด็น No Npo Bill ที่มี Freedom of expression ซึ่งป้ายมันเล็กมากมันลามลงพื้น ตัวสาระเนี้ยมันเป็นพื้นที่ชั่วคราวมันอยู่ชั่วขณะไม่ได้อยู่ถาวรฝนตกอีกไม่กี่นาทีมันก็จะหายไปทุกคนที่เดินผ่านแล้วได้เห็นมันจะรับรู้มันถ้ามันไปต่อได้อาจจะติดตัวไป และกลับไปคิดแล้วมันเป็นแค่จุดเล็กๆ นะ แค่เขียนลงบนพื้น

จากผ้าใบ Freedom of expression ขยายออกไปลงสู่พื้น

พิธีกร : ความคิดที่มันฝังลึกไปอยู่กับกลุ่มคนแต่ละคนนี่คือสิ่งที่ยากกว่าที่จะออกมาเป็นเสียงของสิ่งเรียกร้องในสิ่งเดียวกัน มาที่มุมของมอส.หน่อยละกันจะมีกลุ่มคลื่นใต้น้ำกลุ่มที่ทำกิจกรรม มอส. ดำเนินกิจกรรมคู่ขนานต่างกันยังไงบ้าง

มาย : เราก็พยายามที่จะสร้างเครือข่ายไปเรื่อยๆ แล้วก็สร้างพื้นที่ให้กับทุกคนที่จะได้เข้ามามีส่วนร่วมกับเราอย่าง ป้ายที่เรานำมาก็คือเราต้องการให้ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออกในพื้นที่จำลองที่เราสร้างขึ้นมา แล้วก็เราคิดว่าเครือข่ายหรือว่าการรวมกลุ่มมันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างที่จะสำคัญ แล้วก็เห็นด้วยกับทุกๆ คนที่พูดว่า เราควรที่จะไปด้วยกัน จริงๆ เราต้องการให้วิธีการสร้างพื้นที่ทำงานร่วมกับเครือข่าย หรือว่าวิธีการเดินแบบเนี้ยมันเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้พวกเราโต้คลื่นไปด้วยกัน

พิธีกร : รวมกันมันกว่า อันนี้ก็จะเป็นมุมมองในเรื่องของการต่อต้านก็ว่ากันไป ในอีกมุมหนึ่งก็จะมีแนวทางของอาจารย์ท่านหนึ่งก็คือ ‘อาจารย์ถนอม’ ที่ขับเคลื่อนกันมา

รอนฝัน (เครือข่ายกวีสามัญสำนึก ) : ก่อนหน้ากลุ่มเราก็จะมีหลายกลุ่มที่มันเกิดขึ้นมาก่อน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีอยู่ช่วงนึงที่เนื้อความที่เราอาจจะไม่ได้เป็นคนที่อยู่ในแวดวงอะไรพวกนี้ เรามีความแปลกใจว่าทำไมการอ่านบทกวีจึงไปกระจกอยู่ไหนหอศิลป์ เวลาจะไปอ่านบทกวีจะไปขอหรือว่าส่วนใหญ่จะมีคำถามตลอดว่าทำไมต้องอยู่ในหอศิลป์เดิมๆ ทีนี้สิ่งที่ตามมาก็คือว่าเมื่อเราได้ลองไปอ่านในฐานะคนโดนเอง สิ่งที่เราอ่านมันอาจจะไปกระทบกับความเชื่อทัศนคติของคนในหอศิลป์ มีช่วงนึงผมก็โดนแบนไปเพราะว่าเราไปทำในสิ่งที่เราเชื่อ ที่นี้นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมได้เจอกับอาจารย์ถนอม อาจารย์ถนอมเนี่ยเราเรียกอาจารย์เพราะว่าคนอื่นเรียก เราก็ไม่รู้ว่าคนนี้เป็นใครแต่ว่าเขาตามดูตลอด แล้วก็มีช่วงนึงมันมีงาน งาน Hotel art fair แถวทองหล่อก็ได้เจออาจารย์ได้คุยจริงๆ การได้รู้จักอาจารย์ถนอมเกี่ยวเนื่องกับการที่เราได้รู้ถึงประวัติศาสตร์ของศิลปะในเชิงของการ Performance เพื่อบางสิ่งบางอย่างที่มันนอกเหนือความ Artistic มันมีการพูดถึง Politics ในแง่มุมต่างๆ เพราะฉะนั้นการที่ได้รู้จักอาจารย์ถนอมทำให้เราได้รู้ว่าสุนทรียแห่งการต่อต้านมันเป็นอะไรที่ Simple มาก บางอย่างที่ว่ากันว่าเจตจำนงบางอย่างของอาจารย์ถนอมที่แกอยากจะทำให้มันเกิดขึ้นก็คือการหยิบเครื่องมือให้กับใครก็ได้ที่อยู่ตามหัวมุมถนน ทุกคนจะมีคำพูดนี้ว่าทุกคนสามารถเป็นนักศิลปะได้ คุณไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์หรืออะไรก็แล้วแต่คุณมีสิ่งที่คุณอยากจะเล่าเพื่อที่จะต่อต้าน แล้วมันไม่ได้หมายความว่าการต่อต้าน เราอาจจะเป็นคนที่เลือกในสิ่งที่เกิดขึ้นในม็อบในการชุมนุม ความเจ็บปวดของกลุ่มคนที่ถูกจองจำหรือไม่ได้เห็น เราสามารถที่จะหยิบเอามาใช้ได้โดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาชี้ว่าคุณเป็นศิลปินอะไรแบบนี้

อ.วรเทพ อรรคบุตร : ผมไม่ได้ใกล้ชิดกับอาจารย์ถนอมเท่าไหร่ แต่ว่าผมเป็นคนติดตาม คือพูดง่ายๆ ในอาชีพ Curator กับนักเขียนก็ต้องรู้ว่าใครทำอะไรเอาเป็นว่าสิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจของสิ่งที่อาจารย์ถนอมทำ มันต้องการไปบ่อนเซาะสิ่งที่เรียกว่าความแปลกแยกของศิลปะที่มันห่างเหินจากชีวิต ที่ผมยกตัวอย่างเมื่อกี้ว่าศิลปะมันถูกเรียงจากต่ำไปสูงแต่ว่าทีเนี้ยสิ่งนึงที่เป็นรากฐานจริงๆ ซึ่งมันเป็นเป็นแนวการศึกษากระแสหนึ่งที่เรียกว่า Commoning Culture ที่มันอยู่ในสังคมเราก็คือเช่นการมีบ่อน้ำรวมซึ่งเป็นทรัพย์สินรวมที่ทุกคนสามารถใช้ได้ภายใต้กติกาว่าเราจะไม่ทำให้มันสกปรก นี่คือสิ่งที่มันมีอยู่แล้วในชีวิตของคนในสิ่งที่มันทำร้ายให้ศิลปะแปลกแยกจากชีวิตคนคือระบบทุนนิยมกับสถาบัน ที่มันคอยตีตราให้ราคาให้คุณค่ารวมทั้งกลุ่มผู้มีวิชาชีพที่เรียนมา ซึ่งพูดไปก็เหมือนด่าตัวเองไอ้คนที่แม่งเรียนหนังสือนี่แหละที่แม่งก็ต้องหาทางที่จะสร้างความแตกต่างความเหลื่อมล้ำเล็กๆ ขึ้นมาในการเสพงานศิลปะและการบริโภคงานศิลปะ เอาเป็นว่าผมโปรฝ่ายที่พยายามจะทำให้ทรัพยากรทุกอย่างจะกลายเป็นของ Common เหมือนอากาศที่เราหายใจ เหมือนน้ำที่เรากินแต่ในความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้ ผมขออนุญาตทิ้งท้ายดังนี้มันเป็นวาทะที่ฟังแล้วจักจี้หัวใจเหยียบมาตรงกลางหัวใจของคนที่เรียนศิลปะ ว่าพูดอย่างนี้ได้ยังไงวะ คือมีคำพูดของนักปรัชญาที่ยังมีชีวิตอยู่ชื่อว่า เฟรดดริก เจมสัน สายวรรณคดีได้วิพากษ์ภาวะที่เรียกว่า Post modernity คือความร่วมสมัยที่สถานะของศิลปะมีชะตากรรมไม่ต่างอะไรกับสินค้าเพราะว่าคุณค่าตัวกลางที่มันจะทำให้ศิลปะเดินทางมันคืนเงิน นั้นคือสิ่งที่เจมสันเอามาวิเคราะห์ก็คืองานของ แอนดี้ วอร์ฮอล มีงานชิ้นนึงที่เป็นเอาสินค้าอุปโภคบริโภคมาวาดให้มันแบนด้วยเทคนิคที่เรียก ว่า Silkscreen มันเป็นระดับของการเย้ยหยันที่เข้าไปยังศิลปะหลังจากที่เจมสันพูดคำนี้มันก็ถูกสะท้อนกลับมาว่าเมื่อศิลปะมีชะตากรรมไม่ต่างอะไรจากสินค้ารูปลักษณ์ของสินค้าเองก็สามารถเป็นศิลปะได้ ที่เห็นว่าแอนดี้ วอร์ฮอลเอารูปรองเท้าเอารูปเซเลบมาทำเป็นงานศิลปะ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ต้องพูดถึงการต่อสู้ ต่อต้าน สิ่งที่เราแกล้งทำเป็นมองไม่เห็นมาเลยไม่ได้ก็คือสถาบันกษัตริย์กับระบบทุนนิยม แต่ว่าผมจะไม่พูดเรื่องนี้ต่อข้อสรุปประมาณนี้

พนา (เครือข่ายกวีสามัญสำนึก) : ขอต่อ เมื่อกี้พูดว่าถึงเรื่องจังหวะและเวลา แล้วก็พูดเรื่องกล้าที่จะพูดประเด็นอะไร หรือว่าพลังงานที่เราอยากจะแสดงออก ขอเมนชั่นถึงบทกวีของเมฆครึ่งฟ้า ก่อนม็อบแฮรี่พอตเตอร์ในพื้นที่มหาลัยก็ยังไม่ได้มีประเด็นเรื่องสถาบันกษัตริย์ที่ชัดเจน อยากให้เมฆครึ่งฟ้าอธิบายภาวะที่ตัดสินใจเปลี่ยนบทการคัดเลือกอ่านบทนั้นบนเวทีม็อบใน ม.เกษตร

เมฆครึ่งฟ้า : จริงๆ แล้ว New Normal มันก็ไม่ได้มีความกล้าหาญหรือว่าอะไรมากมาย มันเป็นบทหนึ่งที่ผมคิดว่านักเขียนในฝ่ายประชาธิปไตยอาจจะมีบทแบบนี้อยู่แล้วในคลังของตัวเอง ซึ่งผมเคยคุยกับพี่คนนึงเขาบอกว่าถ้ากูตายเมื่อไหร่ให้พิมพ์ คือเขาไม่ได้มีความคาดหวังว่างานเหล่านี้มันจะสามารถนำเสนอสังคมได้ในช่วงชีวิตของตัวเอง ผมก็มีบทนี้ในโทรศัพท์แต่ว่าวันนั้นผมไปที่ม็อบม.เกษตร ม็อบประชาชนเป็นใหญ่ มีน้องจากโรงเรียนสาธิตของคนเป็นนักเรียน 2 คน เขาขึ้นก่อนผมแล้วเขาก็ร้องไห้แล้วเขาก็พร่ำคำนึงว่า ‘ทำไมประเทศนี้ถึงไม่เคยเห็นเขามีตัวตนอยู่เลย’ ผมจึงรู้สึกว่าถ้าผมเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งอายุไม่หนุ่มไม่แก่ ไม่ได้มีความรับผิดชอบทางจิตสำนึกเพียงพอต่อสังคมเท่ากับน้อง เท่ากับผมจะเสียเวลาหลายร้อยกิโลเมตรที่ขับรถมากรุงเทพฯ ก็เลยหยิบ New Normal ขึ้นมานี้พูดถึงสภาวะก็ง่ายๆ คือกลัว หลังจากผมอ่านจบผมเดินลงมาผมเจอที่พี่ที่ทำงานอยู่ศูนย์ทนาย ไม่ได้มาชื่นชมว่าบทกวีดีแต่แกก็ถามว่ามีเบอร์พี่หรือยังแล้วก็มีอะไรโทรมา แล้วก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ คิดว่าเราน่าจะไม่รู้จักเขา เขาก็พยายามจะเข้ามาถามข้อมูลส่วนตัวผมขับรถกลับจากกรุงเทพฯ ถึงขอนแก่นด้วยความรู้สึกกลัวแล้วก็กลับมาแพนิคอยู่บ้านสักพักหนึ่ง มันก็แค่นั้นแหละครับความรู้สึก ซึ่งเดือนต่อมามีงานอะไรอีกสักอย่างนึงผมก็ยังหยิบบทนั้นออกมาอ่านอยู่ดี แล้วก็จนถึงทุกวันนี้ก็ซื้อได้ที่สำนักพิมพ์สมมติ เป็นสิ่งที่ผมตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมรัฐต้องยัดเยียดความรู้สึกขนาดนี้ให้กับเรา ในเมื่อสิ่งที่เราพูดไปนั้นเป็นความจริง New Normal ที่เราพูดกันก็อาจจะไม่เห็นรูปธรรมพูดประมาณว่า New Normal เธอก่อนฉันตามหลังทุกก้าวทุกจังหวะต้องระวังไม่ยืนตรง ในโรงหนัง นั่งตัวแบน ซึ่งในปีนั้นมันก็อาจจะรู้สึกว่ามันทำให้คนทำงานหนักใจนิดนึงแต่สภาวะอารมณ์มันก็เป็นแบบนี้ล่ะครับอย่างที่เพื่อนๆ พูดไปแล้วว่ามีความเสี่ยงในการที่เราต้องโต้คลื่นอะไรบางอย่างเราก็ผมคิดว่าทุกคนมีความเต็มใจที่จะเสี่ยงในบางสถานการณ์เสมอ

พิธีกร : จริงๆ สภาวะนี้มันไม่ควรเกิดขึ้นกับทุกคนทุกๆ ฝั่งนะไม่ใช่แค่ฝั่งฝ่ายที่มาต่อต้านอีกฝั่งหนึ่งก็เช่นเดียวกันทุกคนก็มีสิทธิ์มีเสียงที่จะพูดได้ทุกๆเรื่อง เรามาพูดถึงทิศทางในอนาคตเราจะขับเคลื่อนไปยังไงต่อ

อะตอม (ตัวแทนจากพรรคปฏิวัติมอดินแดง) : ในนามของพรรคปฏิวัติมอดินแดง ผมให้คำนิยามกับพรรค 3 คำ ผู้คน ความหวัง และการเดินทาง ผมยังเชื่อว่านักศึกษาทุกคนมีความเป็นมนุษย์มากพอที่จะต่อต้านอำนาจของผู้บริหาร และพวกเราก็พร้อมที่จะเป็นผู้แทนของนักศึกษา เข้ามาทำงานผ่านนโยบายที่เราให้คำมั่นสัญญา เพื่อส่งเสียงให้กับนักศึกษา เพื่อเคียงข้างกับนักศึกษาเมื่อมีปัญหา นี่คือพรรคปฏิวัติมอดินแดง

พิธีกร : มาฝั่งมอส.บ้าง

มาย : อย่างที่บอกไปว่าเราเชื่อเรื่องของพื้นที่การมีส่วนร่วมร่วมกันแล้วก็คงจะสร้างเครือข่ายแล้วก็ชวนเพื่อนๆ หรือว่าหากิจกรรมอะไรให้สามารถเข้ามาทำในพื้นที่ที่เราสร้างขึ้นได้ร่วมกันเพื่อให้เราก้าวต่อไป

พิธีกร : มาถึงแนคที่เป็นตัวแทนของร้านหนังสือและบทกวีด้วย

แนค (Abdulbook) : อยากจะสร้างพื้นที่แบบนี้ให้เกิดขึ้นที่ขอนแก่นอยากให้ทุกคนได้มาแลกเปลี่ยนกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ หรืองานศิลปะก็ต่อไปก็คงอยากให้จะเชิญชวนทุกคน ถ้าผมชวนก็อยากให้ตอบรับมาร่วมกัน แล้วก็ทางกวีก็คงจะมีงานต่อไปอีกเรื่อยๆ ให้ติดตาม

‘ อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคงได้เห็นมุมมองของแต่ละคนที่มีสุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้านในแบบฉบับของตัวเอง ‘

ขอบคุณทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมกับเรา

ขอบคุณเพื่อนๆ ของเรา ที่มาร่วมกันสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการรวมตัวกันแสดงออกในครั้งนี้ AbdulBook, เครือข่ายกวีสามัญสำนึก, เมฆครึ่งฟ้า, ตัวแทนจากพรรคปฏิวัติมอดินแดง, อ.วรเทพ อรรคบุตร, หมอลำสะเวินใจ, เอ็มมี่ หนุ่มภูไทชายขอบ

สามารถติดตามข่าวสารของแต่ละโครงการ และกิจกรรมที่เราเข้าไปทำร่วมกันกับเพื่อนๆ ในพื้นต่างๆ ได้ที่ช่องทางของเรา : Facebook , Instagram , Twitter , TikTok , Spotify

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai