จดหมายจากกาลเวลา
1.
การเจอกันอย่างเป็นทางการทุกๆ สองสามเดือนตลอดปีครึ่งของพวกเรา ทิ้งร่องรอยอะไรกับนายบ้างไหม จะว่าไปเราก็เจอกันถี่กว่านั้นมาก ยิ่งเวลาผ่านไปเรายิ่งเจอกันบ่อยขึ้น อีเวนท์ให้พบปะกันมีมาอยู่เรือ่ยรายกับว่าเป็นเทศนี้คนจัดงาน ‘อะไรแบบนี้’ มีกันอยู่เท่านี้ ยิ่งช่วงใกล้ที่บทความเหล่านี้จะแปลงร่างไปพิมพ์เป็นหนังสือและวางสู่ตลาด เราเจอเพื่อนที่อยู่ในโครงการคนรุ่นใหม่ด้วยกันบ่อยกว่าเพื่อนที่คณะเสียอีก ใช่อยู่ เวลาผ่านไป คนเราก็เปลี่ยนแปลง แต่การเจอกันของเราได้สร้างการเปลี่ยนไปแบบไหน เป็นทิศทางที่เรามีมันร่วมกันบ้างหรือเปล่า
2.
อะแฮ่ม หลังจากได้รับหน้าที่ให้เขียนเปิดเล่ม เราก็รู้สึกเป็นเกียรติมาก เลยทำการค้นคว้าเพิ่มเติมเล็กน้อยกับผู้บุกเบิกโครงการเพื่อมาเล่าให้เพื่อนๆฟังว่า ‘โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม’ ของ มอส. นี้หนาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร…
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2553ที่สถานการณ์บ้านเมืองเราไม่ปกติ และความคิดของผู้คนต่อทัศนคติทางการเมืองก็ผิดแปลก เราตัดสินคุณค่าของคนอีกคนว่าเป็นเพื่อนหรือศัตรู ตัดสินว่าโง่หรือฉลาด ตัดสินว่ารากหญ้าหรือมีการศึกษา ด้วยคำว่า ‘เหลืองหรือแดง’ โฆษณาชวนเกลียดชัง เปล่งเสียงออกมากทีวี ออกจากวิทยุ ออกจากปากคุณครู ออกจากพ่อ ออกจากเพื่อน และออกจากเราเอง การแบ่งขั้วออกเป็น พวกกู-พวกมึง ทำให้เราเลิกฟังคนอื่นทันทีที่เขาถูกติดป้ายว่าไม่ใช่พวกเรา สมมุติฐานเบื้องหลังร้อยแปดที่ “เขาพูดๆกัน” ถูกยกมาเป็นชุดความคิดในสมองเพื่อที่จะทำให้สิ่งที่อีกฝ่ายพูดมันไม่สมควรจะฟัง สังคมูกถ่างออก คนในสังคมถ่างมันออก แม่ลูกที่คุยกันได้ทุกเรือ่งงดพูดเรื่องการเมืองกันเมื่อไม่อยากมีปัญหา ไม่เหลือพื้นที่ที่จะคุยกันได้อย่างไม่ตัดสินกันอีกต่อไปแล้ว
“แต่เป็นเช่นนั้นจริงหรือ”
คำถามนี้ถูกยกขึ้นมาในกรพบปะกันเมืองปลายปี 2554 ของเพื่อนที่ทำงานด้านสังคม ผู้ซึ่งตอนหลังกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของภาคีทำงานโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่ฯ มอส. ถูกทาบทามและขายไอเดียโครงการคนรุ่นใหม่ฯ ให้ไปทำด้วยความที่มีต้นทุนเคยทำโครงการพัฒนาอาสาสมัครมาแล้วหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนา อาสาสมัครนักสิทธิ์ฯ และ มอส. ก็รับเป็นเจ้ามือหลักในการทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นมาได้
โครงการคนรุ่นใหม่ฯท้าทายโคยการจับเอาคนที่มีความแตกต่างหลากหลายคน ที่มีพื้นฐานทางความคิดต่างกัน ที่ไม่น่าจะคุยกันได้ ที่ไม่น่าจะทำงานร่วมกันได้มาอยู่รวมกัน และใช้กระบวนการที่ออกแบบมาเป็นตัวเชื่อม สร้างพื้นที่ สร้างเวที หาทางออกให้เราไปด้วยกันต่อได้ การออกแบบโครงการเริ่มต้นที่การกำหนดเป้าหมายอย่างที่ว่าไปข้างต้น ตั้งกรอบ เกณฑ์ผู้เข้าร่ววมโครงการ พัฒนาโครงการ คิดกระบวนการ และประชาสัมพันธ์ว่าเปิดรับสมัครแล้ว
รุ่นแรก มอส. ไม่ได้เปิดรับสมัครแบบทั่วไป แต่เจาะจงติดต่อไปยังองค์กรอื่นๆ ที่มีคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในองคืกรอยู่แล้ว เพื่อค้นหาคนในนั้นที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
มอส. มองว่าคนที่มีกลุ่มอยู่แล้วนั้น ย่อมมีหลักประกันที่จะเข้าโครงการจนจบวาระ เพราะการอยู่ให้ครบจนกระบวนการไม่ใช่เรื่องง่าย และการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ยากถ้ามาร่วมกระบวนแบบครึ่งๆกลางๆ
พอขยับตัวมาทำรุ่นที่สอง มอส. เริ่มเปิดรับผู้สมัครที่มาเดี่ยวอย่างโดๆ ไม่มีกลุ่มเป็นของตัวเองแต่มีพลัง มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะทำอะไรบางอย่าง กระบวนการที่ออกแบบไว้ตอนรุ่นหนึ่งก็ต้องปรับปรุง ตลอดระยะเวลาโครงการหนึ่งปีครึ่ง พี่ๆ ที่ มอส. ก็คอยถามไถ่พวกเราตลอดว่า ระหว่างร่วมกระบวนการรู้สึกอย่างไร คิดเห็นอย่างไร มีความคาดหวังอะไร สิ่งเหล่านี้จะถูกนำไปใช้พัฒนากระบวนการให้เข้ากับผู้เข้าร่วม
3.
เราย้อนกลับไปนึกถึงวันแรกที่เราเจอกัน รู้สึกขำกับทัศนคติของตัวเอง กับความกลัวภายในจิตใจ กับความบกพร่องในการเข้าใจเรื่องบางเรื่อง เราเป็นคนหนึ่งที่มาอย่างโดดๆ ไม่มีกลุ่มก้อนสนับสนุน เอ็นจีโอคืออะไร ก็ยังไม่เข้าใจเลย ยังงงกับคำว่า ‘กระบวนการ’ จนราวๆโมดูลที่สามถึงค่อยเริ่มจับทางได้ โถ่ๆๆ โลกของหนู่เขาเรียกว่า ‘กิจกรรม’ กันนะพี่
เราได้รู้จักการฟังอย่างไม่ตัดสินเป็นครั้งแรก เราได้รู้ว่าทัศนคติของคนเรานั้น ขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคมเป็นอย่างมาก เราได้เข้าวงอัดอั้นตันใจที่เป็นภาคปฏิบัติอย่างดีของการฟังอย่างไม่ตัดสิน พื้นที่และเวลาซึ่งทุกคนรู้สึกปลอดภัยที่จะเล่าเรื่องที่เก็บอยู่ในซอกหลืบของใจ ปล่อยมันออกมาให้คนข้างๆ ได้รับฟังและแบ่งเบามันผ่านการไม่ตัดสินผิดถูกนั่นเอง ไม่ช้า บรรยากาศการไม่ตัดสินก็ล่องลอยอยู่ทั่วไปในค่าย มีล้างที่เผลอตัดสินไป ปกติธรรมดา แต่เราก็สะกิดบอกกันได้ ว่านี่นี่ เธอเริ่มใส่อคติแล้วตัดสินเพื่อนแล้วนะ ก็พัฒนากันไป พอพวกเราพบว่าที่แห่งนี้เป็นสถานที่ปลอดภัย เราเริ่มกล้าที่จะพูดจากข้างใน กล้างแสดงจุดยืน กล้าที่จะบอกว่าเราไม่เห็นด้วย เพราะที่นี่ การไม่เห็นด้วย ไม่ได้เลวร้าย เรากล้าที่จะเลปี่ยนแปลงตัวเอง
4.
งานเขียนที่จะทยอยมาเล่าให้อ่าน-ให้ฟังในคอลัมภ์นี้ต่อจากนี้ ถูกเขียนขึ้นโดยคนรุ่นใหม่ฯ รุ่น 2 เป็นหลัก พวกเราไม่ใช่นักเขียน อาจมีบ้างที่ชอบอ่านชอบเขียนน แต่ก็มีอยู่หลายคนที่ไม่คิดว่าตัวเองจะเขียนได้ เราอยู่ในเหตุการณ์ ร่วมนั่ง(และนอน) ฟังเพื่อนอ่านสิ่งที่ตัวเองเขียน เรารู้สึกทึ่ง พลังของงานที่เขียนจากความจริงใจมันเป็นเช่นนี้เอง หลังจากวันนั้น เราก็ไม่เชื่ออีก เวลามีใครบอกว่า ‘เขียนงานไม่เป็น’
เราหวังว่าบทความ(เรื่องเล่า) ‘กาลเปลี่ยน : การเปลี่ยน’ ที่เพื่อนๆคนรุ่นใหม่เล่าถึงจุดหักเหทางความคิดของตนเองและภาพอนาคตตนเองที่มองเห็น จะช่วยให้เพื่อนๆ กลุ่มอื่นรู้จักเรามากขึ้น และถ้านายมาอ่านเพื่อนรำลึกความหลังหรือทบทวนตัวเองก็คงได้ความทรงจำดีๆจากเพื่อนๆคนอื่นๆด้วยกันกลับไปไม่น้อย
ติดตามอ่านสิ่งที่พวกเขาทั้ง 35 คนคิด ศุกร์ที่ 10 มีนานี้ เป็นต้นไป
จากใจทีมงาน