“โครงการอาสาสมัครร่วมสร้างชุมชนยั่งยืน”  เรียกสั้นๆ ว่า “โครงการอาสาคืนถิ่น” เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง   มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.)  และองค์กรภาคี เช่น วิทยาลัยบริหารศาสตร์/มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน สถาบันการจัดการเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน นักวิชาการและนักกิจกรรม มีความมุ่งหวังให้คนรุ่นใหม่ผู้มีความมุ่งมั่นที่จะกลับไปทำงานในบ้านเกิดของตนเอง มีความตั้งใจที่จะตั้งถิ่นฐานในบ้านเกิดของตัวเอง และมีความมุ่งมั่นที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชุมชนยั่งยืน มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองและพัฒนาสัมมาชีพที่ร่วมกับชุมชน  เช่น ด้านเกษตรอินทรีย์  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม  การพัฒนางานศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น งานทอ งานจักสาน  หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆจากชุมชน เป็นต้น “โครงการอาสาคืนถิ่น” เริ่มต้นพัฒนาโครงการขึ้นเมื่อปี 2559 รับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการเต็มเวลาวาระ 1 ปี โดยแต่ละรุ่นจะรับอาสาสมัครรุ่นละประมาณ 15-20 คน โดยรุ่น 1-3 เปิดรับอาสาสมัครในพื้นที่ภาคเหนือ และรุ่น 4 เปิดรับอาสาสมัครในพื้นที่ภาคอีสาน  ปัจจุบัน(ปี 2563)รวมอาสาสมัครที่เข้าร่วมกระบวนการจนจบโครงการทั้ง 4  รุ่นทั้งหมด 70 คน อาสาสมัครที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการให้เข้าร่วมโครงการในแต่ละรุ่น จะได้รับการฝึกทักษะและได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากโครงการ 6 อย่างหลักๆ คือ 1)ได้รับการพัฒนาศักยภาพในเนื้อหาที่สำคัญๆสำหรับการนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงในชุมชนบ้านเกิดของตัวเอง เช่น เครื่องมือในการศึกษาชุมชน การพัฒนาศักยภาพด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรนิเวศ 2)ได้เรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทการเป็นอาสาสมัคร 3)ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการเขียนโครงการ 4)ได้รับการฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการทางสังคม (SE) รวมทั้งการสร้างเครือข่าย และการเชื่อมโยงส่วนต่างๆเพื่อสนับสนุนกันและกันต่อไปในระยะยาว 5)ได้รับสนับสนุนทุนยังชีพรายเดือนจำนวนหนึ่ง 6)ได้รับทุนสนับสนุนสำหรับการจัดทำโครงการในชุมชน วงเงิน 10,000 บาท  ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครเข้าร่วมได้ทุกปี (จะมีการประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์/แฟนเพจ มอส. และอาสาคืนถิ่น) โดยคุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครคือ  1)มีอายุระหว่าง 22 – 35 ปี  2)วุฒิการศึกษา ม.6, ปวช., เทียบเท่า หรือสูงกว่า  3)มีประสบการณ์การทำงาน(หรือกิจกรรมสังคมที่ทำอย่างต่อเนื่อง)มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี  4)มีภูมิลำเนาและพักอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านเกิดของตนเอง หรือเป็นผู้ที่มีความตั้งใจในการตั้งถิ่นฐานและอยู่อาศัยในชุมชนพื้นที่ที่เปิดรับอาสาสมัคร  5)มีความตั้งใจกลับคืนถิ่นบ้านเกิด มีใจในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 6)มีบุคคลหรือองค์กรที่รู้จักท่านเป็นอย่างดีและพร้อมเป็นผู้ลงนามรับรองสถานะของท่าน คุณสมบัติผู้สมัคร 1. อายุระหว่าง 22 – 35 ปี 2. วุฒิการศึกษา ม.6 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า 3. มีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว 2 ปีขึ้นไป (งาน หรือ กิจกรรมสังคมที่ทำอย่างต่อเนื่อง) 4. มีภูมิลำเนาในภาคเหนือ ภาคอีสาน  ภาคกลาง  ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 5. มีความตั้งใจกลับบ้าน มีใจในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น 6. มีบุคคลหรือองค์กรที่รู้จักท่านดี  ลงนามรับรองการสมัครของท่าน ขั้นตอนการรับสมัคร  ซึ่งผู้ที่ต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการต้องดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอนคือ 1. ผู้สมัครต้องกรอกใบสมัคร(ตามแบบฟอร์มของโครงการซึ่งแต่ละปีอาจปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์)ให้ครบถ้วนทุกข้อ 2. แนบหลักฐานการสมัคร ซึ่งแต่ละปีจะมีการกำหนดหลักฐานการสมัครไม่เหมือนกัน เช่น การเขียนเรียงความ อัดคลิปวีดีโอเล่าเรื่องราวของผู้สมัครเอง ตามหัวข้อที่กำหนดในแต่ละรุ่น 3. ส่งใบสมัครและหลักฐานการสมัครกลับมาที่ มอส. ภายในวัน-เวลาที่กำหนด 4. ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก(โดยพิจารณาจากใบสมัคร) จะถูกเรียกเข้ารอบสัมภาษณ์ 5. ผู้ที่ผ่านรอบสัมภาษณ์จะต้องเข้าร่วมปฐมนิเทศตามวันเวลาที่ทางโครงการกำหนด และสามารถเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ตลอดวาระการเป็นอาสาสมัคร 6. ตลอดวาระของการเข้าร่วมโครงการ อาสาสมัครจะกลับไปปฏิบัติงานในชุมชนตนเอง โดยโครงการจะจัดการเรียนรู้ให้กับอาสาสมัครเป็นระยะๆตลอดวาระอาสาสมัคร  โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครให้สามารถพัฒนาตนเอง สามารถสร้างสัมมาชีพร่วมกับชุมชน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน และสานเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งต่อไป นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อาสาสมัครยังจะได้รับโอกาสเข้าไปเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพตามประเด็นที่อาสาสมัครสนใจ ซึ่งจะปรับให้สอคล้องตามความสนใจ ตามสถานการณ์ และตามบริบทของอาสาสมัคร ที่สำคัญคือ ในระหว่างการปฏิบัติงานในชุมชน อาสาสมัครจะมีพี่เลี้ยงคอยติดตามให้คำปรึกษา รวมถึงกระบวนการ Coaching เพื่อเติมศักยภาพในประเด็น/กิจกรรม/อาชีพที่อาสาสมัครมีความสนใจตลอดระยะที่เข้าร่วมโครงการ สิ่งดีๆ ที่อาสาสมัครจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ 1. ได้รับการพัฒนาความรู้ และศักยภาพในเนื้อหาที่สำคัญคือ ความเข้าใจชุมชน สังคม โลกาภิวัตน์ 2. ได้เรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่า และบทบาทการเป็นอาสาสมัคร 3. ได้รับการฝึกฝนแนวทางการพัฒนาชีวิตด้านการจัดสมดุลชีวิต 4. ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร การเขียนโครงการ รวมทั้งทักษะที่ตนเองสนใจ เช่น  เกษตรอินทรีย์   การพัฒนาผลิตภัณฑ์  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฯลฯ 5. ได้รับการพัฒนาความรู้ แนวทางการเป็นผู้ประกอบการทางสังคม (SE) รวมทั้งการสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่กลับบ้าน 6. ได้ทำงานร่วมกับอาสานักสนับสนุน เพื่อพัฒนากิจกรรมและโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของชุมชนและของอาสาคืนถิ่น 7. ได้รับสนับสนุนทุนรายเดือน เดือนละ 4,500 บาท เป็นระยะเวลา  6 เดือน การเรียนรู้ประกอบด้วยการอบรม-สัมมนาที่จะได้ร่วมเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่น ประมาณ 4 ครั้ง คือ @ ปฐมนิเทศ  5-6 วัน  ได้รู้จักเพื่อน  เรียนรู้วิเคราะห์สังคม ชุมชน โลกาภิวัตน์  สร้างแรงบันดาลใจกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กลับมาอยู่บ้าน   เรียนรู้เครื่องมือการศึกษาชุมชน  และบทบาทการเป็นอาสาสมัคร  พร้อมโจทย์สำหรับนำกลับไปศึกษาในชุมชนตนเอง และประเด็นที่จะพัฒนาเพื่อสร้างฐานยังชีพร่วมกับชุมชน @ สัมมนาวาระ 6 เดือน 4-5 วัน  สรุปบทเรียน ความก้าวหน้าในการพัฒนางานในชุมชนตนเอง  แลกเปลี่ยนงาน ความคิด ชีวิต จิตใจ  / การพัฒนาความรู้ทักษะในเรื่องร่วม เช่น การประกอบการทางสังคม หรือ  การเขียนโครงการ หรือ ทักษะการสื่อสาร @ สัมมนาวาระ 10 เดือน 4-5 วัน  สรุปบทเรียน นำเสนอการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง ในช่วงระหว่าง 3 เดือนแรก หรือช่วงเดือนที่ 4 เป็นต้นไป  อาสาคืนถิ่นจะได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่ตนเองสนใจเป็นรายบุคคล หรือกลุ่มย่อย รวมทั้งมีโอกาสในการทำงานร่วมกับอาสานักสนับสนุนซึ่งเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์เพื่อสนับสนุนงานของอาสาคืนถิ่นด้วย “โครงการอาสาสมัครร่วมสร้างชุมชนยั่งยืน”  เรียกสั้นๆ ว่า “โครงการอาสาคืนถิ่น” เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง   มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.)  และองค์กรภาคี เช่น วิทยาลัยบริหารศาสตร์/มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน สถาบันการจัดการเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน นักวิชาการและนักกิจกรรม มีความมุ่งหวังให้คนรุ่นใหม่ผู้มีความมุ่งมั่นที่จะกลับไปทำงานในบ้านเกิดของตนเอง มีความตั้งใจที่จะตั้งถิ่นฐานในบ้านเกิดของตัวเอง และมีความมุ่งมั่นที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชุมชนยั่งยืน มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองและพัฒนาสัมมาชีพที่ร่วมกับชุมชน  เช่น ด้านเกษตรอินทรีย์  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม  การพัฒนางานศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น งานทอ งานจักสาน  หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆจากชุมชน เป็นต้น “โครงการอาสาคืนถิ่น” เริ่มต้นพัฒนาโครงการขึ้นเมื่อปี 2559 รับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการเต็มเวลาวาระ 1 ปี โดยแต่ละรุ่นจะรับอาสาสมัครรุ่นละประมาณ 15-20 คน โดยรุ่น 1-3 เปิดรับอาสาสมัครในพื้นที่ภาคเหนือ และรุ่น 4 เปิดรับอาสาสมัครในพื้นที่ภาคอีสาน  ปัจจุบัน(ปี 2563)รวมอาสาสมัครที่เข้าร่วมกระบวนการจนจบโครงการทั้ง 4  รุ่นทั้งหมด 70 คน อาสาสมัครที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการให้เข้าร่วมโครงการในแต่ละรุ่น จะได้รับการฝึกทักษะและได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากโครงการ 6 อย่างหลักๆ คือ 1)ได้รับการพัฒนาศักยภาพในเนื้อหาที่สำคัญๆสำหรับการนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงในชุมชนบ้านเกิดของตัวเอง เช่น เครื่องมือในการศึกษาชุมชน การพัฒนาศักยภาพด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรนิเวศ 2)ได้เรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทการเป็นอาสาสมัคร 3)ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการเขียนโครงการ 4)ได้รับการฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการทางสังคม (SE) รวมทั้งการสร้างเครือข่าย และการเชื่อมโยงส่วนต่างๆเพื่อสนับสนุนกันและกันต่อไปในระยะยาว 5)ได้รับสนับสนุนทุนยังชีพรายเดือนจำนวนหนึ่ง 6)ได้รับทุนสนับสนุนสำหรับการจัดทำโครงการในชุมชน วงเงิน 10,000 บาท  ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครเข้าร่วมได้ทุกปี (จะมีการประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์/แฟนเพจ มอส. และอาสาคืนถิ่น) โดยคุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครคือ  1)มีอายุระหว่าง 22 – 35 ปี  2)วุฒิการศึกษา ม.6, ปวช., เทียบเท่า หรือสูงกว่า  3)มีประสบการณ์การทำงาน(หรือกิจกรรมสังคมที่ทำอย่างต่อเนื่อง)มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี  4)มีภูมิลำเนาและพักอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านเกิดของตนเอง หรือเป็นผู้ที่มีความตั้งใจในการตั้งถิ่นฐานและอยู่อาศัยในชุมชนพื้นที่ที่เปิดรับอาสาสมัคร  5)มีความตั้งใจกลับคืนถิ่นบ้านเกิด มีใจในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 6)มีบุคคลหรือองค์กรที่รู้จักท่านเป็นอย่างดีและพร้อมเป็นผู้ลงนามรับรองสถานะของท่าน คุณสมบัติผู้สมัคร 1. อายุระหว่าง 22 – 35 ปี 2. วุฒิการศึกษา ม.6 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า 3. มีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว 2 ปีขึ้นไป (งาน หรือ กิจกรรมสังคมที่ทำอย่างต่อเนื่อง) 4. มีภูมิลำเนาในภาคเหนือ ภาคอีสาน  ภาคกลาง  ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 5. มีความตั้งใจกลับบ้าน มีใจในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น 6. มีบุคคลหรือองค์กรที่รู้จักท่านดี  ลงนามรับรองการสมัครของท่าน ขั้นตอนการรับสมัคร  ซึ่งผู้ที่ต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการต้องดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอนคือ 1. ผู้สมัครต้องกรอกใบสมัคร(ตามแบบฟอร์มของโครงการซึ่งแต่ละปีอาจปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์)ให้ครบถ้วนทุกข้อ 2. แนบหลักฐานการสมัคร ซึ่งแต่ละปีจะมีการกำหนดหลักฐานการสมัครไม่เหมือนกัน เช่น การเขียนเรียงความ อัดคลิปวีดีโอเล่าเรื่องราวของผู้สมัครเอง ตามหัวข้อที่กำหนดในแต่ละรุ่น 3. ส่งใบสมัครและหลักฐานการสมัครกลับมาที่ มอส. ภายในวัน-เวลาที่กำหนด 4. ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก(โดยพิจารณาจากใบสมัคร) จะถูกเรียกเข้ารอบสัมภาษณ์ 5. ผู้ที่ผ่านรอบสัมภาษณ์จะต้องเข้าร่วมปฐมนิเทศตามวันเวลาที่ทางโครงการกำหนด และสามารถเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ตลอดวาระการเป็นอาสาสมัคร 6. ตลอดวาระของการเข้าร่วมโครงการ อาสาสมัครจะกลับไปปฏิบัติงานในชุมชนตนเอง โดยโครงการจะจัดการเรียนรู้ให้กับอาสาสมัครเป็นระยะๆตลอดวาระอาสาสมัคร  โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครให้สามารถพัฒนาตนเอง สามารถสร้างสัมมาชีพร่วมกับชุมชน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน และสานเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งต่อไป นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อาสาสมัครยังจะได้รับโอกาสเข้าไปเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพตามประเด็นที่อาสาสมัครสนใจ ซึ่งจะปรับให้สอคล้องตามความสนใจ ตามสถานการณ์ และตามบริบทของอาสาสมัคร ที่สำคัญคือ ในระหว่างการปฏิบัติงานในชุมชน อาสาสมัครจะมีพี่เลี้ยงคอยติดตามให้คำปรึกษา รวมถึงกระบวนการ Coaching เพื่อเติมศักยภาพในประเด็น/กิจกรรม/อาชีพที่อาสาสมัครมีความสนใจตลอดระยะที่เข้าร่วมโครงการ สิ่งดีๆ ที่อาสาสมัครจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ 1. ได้รับการพัฒนาความรู้ และศักยภาพในเนื้อหาที่สำคัญคือ ความเข้าใจชุมชน สังคม โลกาภิวัตน์ 2. ได้เรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่า และบทบาทการเป็นอาสาสมัคร 3. ได้รับการฝึกฝนแนวทางการพัฒนาชีวิตด้านการจัดสมดุลชีวิต 4. ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร การเขียนโครงการ รวมทั้งทักษะที่ตนเองสนใจ เช่น  เกษตรอินทรีย์   การพัฒนาผลิตภัณฑ์  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฯลฯ 5. ได้รับการพัฒนาความรู้ แนวทางการเป็นผู้ประกอบการทางสังคม (SE) รวมทั้งการสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่กลับบ้าน 6. ได้ทำงานร่วมกับอาสานักสนับสนุน เพื่อพัฒนากิจกรรมและโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของชุมชนและของอาสาคืนถิ่น 7. ได้รับสนับสนุนทุนรายเดือน เดือนละ 4,500 บาท เป็นระยะเวลา  6 เดือน การเรียนรู้ประกอบด้วยการอบรม-สัมมนาที่จะได้ร่วมเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่น ประมาณ 4 ครั้ง คือ @ ปฐมนิเทศ  5-6 วัน  ได้รู้จักเพื่อน  เรียนรู้วิเคราะห์สังคม ชุมชน โลกาภิวัตน์  สร้างแรงบันดาลใจกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กลับมาอยู่บ้าน   เรียนรู้เครื่องมือการศึกษาชุมชน  และบทบาทการเป็นอาสาสมัคร  พร้อมโจทย์สำหรับนำกลับไปศึกษาในชุมชนตนเอง และประเด็นที่จะพัฒนาเพื่อสร้างฐานยังชีพร่วมกับชุมชน @ สัมมนาวาระ 6 เดือน 4-5 วัน  สรุปบทเรียน ความก้าวหน้าในการพัฒนางานในชุมชนตนเอง  แลกเปลี่ยนงาน ความคิด ชีวิต จิตใจ  / การพัฒนาความรู้ทักษะในเรื่องร่วม เช่น การประกอบการทางสังคม หรือ  การเขียนโครงการ หรือ ทักษะการสื่อสาร @ สัมมนาวาระ 10 เดือน 4-5 วัน  สรุปบทเรียน นำเสนอการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง ในช่วงระหว่าง 3 เดือนแรก หรือช่วงเดือนที่ 4 เป็นต้นไป  อาสาคืนถิ่นจะได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่ตนเองสนใจเป็นรายบุคคล หรือกลุ่มย่อย รวมทั้งมีโอกาสในการทำงานร่วมกับอาสานักสนับสนุนซึ่งเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์เพื่อสนับสนุนงานของอาสาคืนถิ่นด้วย

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai