โครงการวิจัยการพัฒนาวิถีการผลิตเกษตรกรรมเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร บนฐานศักยภาพชุมชนบ้านยางเปา ตำบลอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เกิดขึ้นจากสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะพืชผักปลอดภัยมีแนวโน้มลดลง ทำให้มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ได้เข้ามาเสริมสร้างศักยภาพคนรุ่นใหม่และเกษตรกรตัวอย่าง ด้วยการร่วมกันพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานศักยภาพในท้องถิ่น ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ
ทักษะการวิจัยมีบทบาทในการสำรวจและรวบรวมภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมของชุมชนช่วยให้เกษตรกรรุ่นใหม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์ความรู้ใหม่ได้ เครื่องมือวิจัยช่วยในการเก็บข้อมูลทรัพยากรเพื่อขยายผลสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่
โครงการสวนหลังบ้าน เกิดขึ้นระหว่างศึกษาวิจัย โดยให้กลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง ทั้งเคมีและเกษตรกรทางเลือกได้ทำการเพาะปลูกพืชเพื่อเป็นอีกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ทีมวิจัยได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีทั้งเกษตรกรเคมีและเกษตรกรทางเลือกโดยส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้วิธีผลิตที่แตกต่าง เมื่อคนรุ่นใหม่ทำงานวิจัยทำให้ได้เรียนรู้ทั้งบุคคลและชุมชน มีข้อมูลที่หน่วยการยอมรับและให้การสนับสนุนเป็นการศึกษาค้นคว้าที่เกิดจากคนในชุมชนเองช่วยยกระดับองค์ความรู้และทักษะต่างๆที่คนในชุมชนเชื่อมั่น