ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

การทำงานของ The Documentation Center of Cambodia (DC-Cam)

DC-CAM หรือศูนย์รวบรวมเอกสารแห่งกัมพูชา (The Documentation Center of Cambodia, DC-Cam) เป็นสถาบันวิจัยอิสระที่เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมและความปรองดองในสังคมกัมพูชา รวมไปถึงการระลึกถึงอาชญากรรมที่เกิดขึ้นภายใต้ระบอบการปกครองของเขมรแดง (Khmer Rouge) ในปัจจุบัน DC-Cam รวบรวมเอกสารแห่งกัมพูชาแห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่จัดเก็บเอกสารสิ่งตีพิมพ์และวัตถุหลักฐานที่เกี่ยวกับระบอบเขมรแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลก

โดยการปฏิบัติงานของ DC-CAM เน้นที่การเปิดเผยเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ภายใต้ระบอบเขมรแดง เพราะเชื่อว่า “ประเทศที่ขาดความกล้าที่จะเรียนรู้จากอดีตก็ย่อมไม่กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัจจุบันและอนาคต” DC-Cam มีเป้าหมายที่จะอุทิศตนเพื่อส่งเสริมความทรงจำ ความยุติธรรม การเยียวยา และการปรองดองในสังคมกัมพูชาด้วยการรวบรวมเอกสาร การวิจัย การเผยแพร่ข้อมูลและการให้การศึกษาแก่คนรุ่นใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในช่วงระบอบการปกครองของเขมรแดง

นอกจากนี้ DC-CA ยังรวบรวมเอกสารแห่งกัมพูชากำลังเตรียมจัดตั้งศูนย์ถาวรในชื่อสถาบัน Sleuk Rith เพื่อแสดงถึงจุดยืนต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งหมดในกัมพูชาและทั่วโลก

ในปี 1995 ได้มีการจัดตั้งศูนย์รวบรวมข้อมูลเป็นสำนักงานที่มหาวิทยาลัยเยล ต่อมาในปี 1997 ก็ตั้งเป็นศูนย์ ปัจจุบันเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับเขมรแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลก สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเขมรแดง ความยุติธรรม และการเยียวยา

ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย

ในยุคประธานาธิบดีนิกสัน ได้วางระเบิดที่กัมพูชากว่าครึ่งประเทศ ประชาชนกว่าแสนล้านคนเสียชีวิต ทำให้คนไม่พอใจจึงเข้าร่วมกับเขมรแดง รวมถึงสาเหตุจากบริบทในประเทศด้วย คำว่า “เขมรแดง” กษัตริย์สีหนุบัญญัติขึ้นเพื่อเรียกผู้ต่อต้านเขาที่เชื่อในลัทธิคอมมิวนิสต์

ปี 1970 ลอนนอลทำรัฐประหาร กษัตริย์สีหนุ โดยมีอเมริกาหนุนหลัง

ปี 1973 ผู้คน 85% ของกัมพูชาเข้าร่วมกับเขมรแดง

ปี 1975 เขมรแดงเข้าควบคุมพื้นที่ทั้งหมด คนส่วนใหญ่ดีใจว่า เรารอดจากอเมริกาแล้ว เป็นอิสระแล้ว แต่หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง ผู้คนกว่า 2 ล้านคน ถูกอพยพออกนอกเมือง โดยไม่อนุญาตให้เดินทางข้ามชุมชน มีการคุมอย่างเข้มงวด ห้ามมีความสัมพันธ์ในครอบครัว ทุกคนถูกแยก เด็กรวมกัน ชายรวมกัน หญิงรวมกัน พนมเปญกลายเป็นเมืองร้าง ทุกคนทำงานในชนบทวันละ 12 ชั่วโมง ทุกเดือน ไม่ได้หยุด มีเป้าหมายว่าต้องผลิตข้าวให้ได้ 3 ตันภายใน 4 ปี ทำให้คนตายจากการใช้แรงงานหนัก สถานที่ทางศาสนาหรือวัดถูกปรับเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ผู้หญิงมุสลิมซึ่งไว้ผมยาว ใส่ผ้าฮิญาบ ไม่กินหมู ถูกบังคับให้ตัดผมสั้น ไม่ให้โพกหัวและต้องกินหมู

มีการสมรสหมู่ คลุมถุงชนโดยรัฐบาล โดยให้ชายหญิงนั่งตรงข้ามกัน ให้ปฏิญาณตนว่าจะแต่งงาน พูดว่าจะซื่อสัตย์ต่อองค์กร กลับบ้านกินข้าว พิธีสมรสมีแค่นี้ เพราะรัฐบาลคิดว่าการฉลองเสียเวลา

รัฐปลูกฝังให้เยาวชนรักองค์กร คิดว่าองค์กรเป็นพ่อเป็นแม่ เชื่อองค์กรมากกว่าพ่อแม่ บางทีก็ชี้ตัวพ่อแม่ว่าเป็นพวกต่อต้าน ทำให้พ่อแม่ถูกฆ่า เขมรแดงใช้วิธีเขียนเสือให้วัวกลัว ฆ่าผู้ต่อต้านให้ดู ทำให้คนกลัว

พูดคุยกับบอง ยุกชาง (Bong Yukshang)

บองยุกชาง เป็นผู้อำนวยการศูนย์ DC-CAM จากองค์กร DC-CAM องค์กรพัฒนาเอกชนที่เก็บรวบรวมข้อมูลในยุคเขมรแดงเพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยุคเขมรแดง

การก่อตั้ง DC CAM

ยุกชางเคยถูกจับตอนอายุ 15 และมีความโกรธเคืองเขมรแดง เขาอยากแก้แค้น ก็เลยมาทำงาน DC- CAM เพื่อจะแก้แค้น ต้องการจับกลุ่มเขมรแดงมาเข้าคุกเข่าลงโทษ แต่เมื่อศึกษาหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ความคิดก็เปลี่ยน และเริ่มเข้าใจว่า เขมรแดงก็เป็นคน มีครอบครัว มีลูกหลาน และทุกข์ทรมานเช่นกัน จึงเปลี่ยนมาดูเคสสังคมที่ใช้กระบวนการกฎหมาย ศาล เพื่อเปิดเผยความจริง และต่อมายุกชางก็อยากจะคุยโดยตรงกับคนที่เคยทำร้ายเขา กลับไปหมู่บ้านนั้น ไปเจอบุคคลเหล่านี้ คุยๆ ไปก็ถามว่า “จำผมได้ไหม” เขาจำไม่ได้

ความรุนแรง ความขัดแย้ง และการเยียวยา

เวลาที่เรายอมให้เขากระทำ มันไม่ใช่แค่เราถูกฆ่าทางร่างกาย แต่ทางจิตใจด้วย หมายถึงว่า ความกลัวและการไม่ยืนหยัดต่อสู้ ประชาชนปล่อยให้เขมรแดงฆ่าเอง (Not just physically dead, but mentally dead which means they were scared and can’t resist at all So people allow Khmers Rouge to kill) การเยียวยาเป็นเรื่องส่วนตัว การให้อภัยก็เช่นกัน remelioration is personal, forgiveness as well

การผลักดันให้เกิดหลักสูตรในโรงเรียน

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาเป็นเรื่องการเมือง เกี่ยวข้องกับสงครามเวียดนามเรื่องการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนระบอบเขมรแดง รัฐบาลปัจจุบันเป็นสังคมนิยม นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรัฐ ก็เขียนประวัติศาสตร์อย่างอิสระไม่ได้ ต้องเขียนตามรัฐ เมื่อ DC- CAM เล็งเห็นว่าคนรุ่นใหม่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จึงผลักดันให้เกิดหลักสูตรในสถานศึกษา โดยมองการศึกษาไว้สองรูปแบบ

รูปแบบที่ 1: เราไม่เอาทั้งหมดไปสอนเด็ก เราทำบทเรียนให้เกิดการสนทนา เพราะต้องมีกระบวนการให้เด็กๆ พูดคุยกัน ไม่ใช่บรรยาย เด็กต้องไปวิจัย ค้นคว้าเอง โรงเรียน 1,700 แห่ง นักเรียน 1 ล้านคน เราจึงผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยน และการได้แลกเปลี่ยนก็ทำให้ได้คุยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ถ้าเข้ามหาวิทยาลัย ก็ไปค้นคว้าต่อได้

รูปแบบที่ 2: ถ้าอย่างนั้นใครควรเขียนประวัติศาสตร์ล่ะ ต้องเป็นบุคคลนอกสิ คนในประเทศอื่นๆ เพราะเราเขียนเองไม่ได้ เราเป็นเอ็นจีโอ เราก็เสนอรัฐว่าเราจะเขียนให้ เรื่องราวเน้นที่เรื่องราวของผู้คน ไม่ใช่การเมือง เราไม่อยากเปลี่ยนทุกอย่าง แค่เปลี่ยนเรื่องเดียวเล็กๆ แต่ทำให้ดีที่สุด do one small thing to get big change เราเปลี่ยนสังคมไม่ได้ แต่ทำให้เกิดผลกระทบได้

ปัจจุบัน DC-CAM ยังคงทำงานต่อเนื่องเพื่อยืนยันปณิธาน เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องเขมรแดง เพื่อแสดงถึงจุดยืนต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาและทั่วโลก

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai