โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน ถอดบทเรียนการทำงานอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนรุ่น 9
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)ได้เริ่มดำเนินโครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ปี 2549 โดยมีจุดมุ่งมายเพื่อเสริมสร้างให้คนหนุ่มสาวที่จบนิติศาสตร์ ได้เรียนรู้ปัญหาการละเมิดสิทธิ์ และมีโอกาสปฏิบัติงานในฐานะอาสาสมัครเป็นระยะเวลา 1 ปี ในองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสิทธิ ซึ่งนับว่าเป็นเวทีของการเรียนรู้สิทธิประชาชนคนด้อยโอกาส และการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในหลาก หลายประเด็น
หลังจากที่ได้ดำเนินโครงการมาจนถึงรุ่นที่ 8 โดยการสรุปบทเรียนของโครงการเป็นระยะกับภาคีเครือข่าย ได้เห็นร่วมกันว่า ควรเปิดให้คนหนุ่มสาวที่จบปริญญาตรีในสาขาอื่นๆ ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้สังคมในรูปแบบงานอาสาสมัครด้วย ต้นปี 2557 ที่ผ่านมา มอส.จึงเปิดโอกาสให้คนหนุ่มสาวที่จบปริญญาตรีทุกสาขา ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่นที่ 9
ประสบการณ์สี่เดือนที่ได้เป็นอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนของ นายกิตติชัย จงไกรจักร อาสาสมัครภาคสมทบจากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย บอกเล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า “ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายที่ดินและปัญหาในการนำใช้กฎหมาย ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยและหลักการปฏิบัติยังขาดหลักการ แนวคิด และการจัดการอย่างมีส่วนร่วมในหลายแง่มุม”
โดยความคาดหวังว่า น้องๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น และรู้จักเครือข่ายนักสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นรุ่นที่นักกฎหมายสิทธิ์ที่หมด วาระการเป็นอาสาสมัครแล้ว แต่ยังคงทำงานด้านสิทธิ์ต่อเนื่อง รวมถึงมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กิตติชัยเล่าว่า เมื่อเขาเข้าร่วมโครงการนี้ ทำให้เขาได้ทำตามความฝัน ด้วยความชอบงานด้านกฎหมายเพราะเรียนจบนิติศาสตร์ และเห็นด้วยว่ากฎหมายสิทธิมนุษยชนมีผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้
“ผมสนใจเรื่องความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ผมเชื่อว่ากฏหมายควรพิจารณาถึงประโยชน์ในด้านสิทธิมนุษยชน ดังนั้นกฎหมายที่ล้าหลังหรือไม่ได้ผล ควรมีการปรับเปลี่ยน อีกทั้งผมยังสนใจไม่ใช่เพียงแต่การบังคับใช้กฎหมาย แต่รวมไปถึงการพัฒนากฎหมายให้เหมาะสมกับยุคสมัยอีกด้วย”
หลังจากเรียนจบและเข้ามาทำงาน ด้วยความที่ประสบการณ์การทำงานยังไม่มาก ทำให้บางครั้งทำให้เขาพบข้อจำกัดเรื่องตามเพื่อนร่วมงานไม่ทันบ้าง อีกทั้งในบางเรื่องเขาเองก็ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจทั้งหมด อีกทั้งพอเริ่มต้นทำงานก็ยังติดกรอบความรู้ตามที่เรียนมาจากรั้วมหาลัย ซึ่งท่องจำกฎหมายเป็นมาตราโดยขาดมิติหรือองค์ประกอบอื่นที่เป็นข้อเท็จจริง ทางสังคม บางครั้งทำให้เกิดความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน แต่เขาเองก็มีความตั้งใจจะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพราะการทำงานต้องอาศัยข้อมูลความรู้ใหม่ๆ เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งการทำงานจริงในบทบาทของการเป็นอาสาสมัคร ช่วยให้เขาได้เรียนรู้จากปรากฏการณ์จริง และมีโอกาสหาความรู้เพิ่มเติมให้ตัวเองอยู่เสมอ
ooooooooo
**ติดตามและมาร่วมเป็นกำลังใจให้เหล่าหนุ่มสาวคนอาสา ผู้ทดลองความจริงบนหน้างานทางสังคม กับองค์กรพัฒนาสังคมด้านสิทธิ์ เพื่อฝึกปรือตัวเองให้กลายเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมให้เกิด ความเป็นธรรมและสันติ
CR.แปลและเรียบเรียงจากบทความของ Srijana Nepal หรือ Siza เจ้าหน้าที่แลกเปลี่ยนจาก INSEC (Informal Sector Service Center) ซึ่งช่วยงานที่มอส.เป็นเวลา 1 ปีเต็ม แปลเป็นไทยโดย สุภารัตน์ พระโนเรศ เจ้าหน้าที่แลกเปลี่ยนจาก มอส.ทำงานที่ INSEC เป็นเวลา 1 ปีเต็มเช่นกัน
และติดตามอ่านตอนต่อไปได้ที่นี่