ตอนที่ 5 นี้ เป็นคำถามที่ต่อจากตอนท้ายของตอนที่ 4 เป็นประเด็นเรื่องความเชื่อมั่นกับสิ่งที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบันอย่างไร

ฝุ่นเล่าต่อไปว่า : ส่วนถามผมว่ามีความเชื่อมั่นหรือไม่ ในฐานะคนทำงานหนุนเสริมโครงการฯ อาจไม่สามารถตอบได้เต็มปากเต็มคำ และผมคิดว่าคนรุ่นใหม่และชุมชนในพื้นที่โครงการฯ จะเป็นผู้ให้คำตอบนี้เอง เพราะความเชื่อมั่นในความคิดของผมมีหลายปัจจัยในการสร้างความเชื่อมั่นนี้ เช่น สภาพจิตใจ สิ่งแวดล้อม คนในชุมชน ตัวอาสาสมัครฯ ศักยภาพของพื้นที่ ผู้นำชุมชน เป็นต้น ที่มีมากมายในการประกอบรวมเป็น “ความเชื่อมั่น” แต่ผมกลับมองว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้นเป็น “โอกาส”


ที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของสังคมในการเชื่อมโยงชุมชนกับคนรุ่นใหม่ได้มาเรียนรู้และทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน การสร้างพื้นที่อาหารอินทรีย์ให้กับชุมชน หรือผู้บริโภคทั่วไปได้รับรู้รับทราบในการบริโภคและแหล่งการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ การร่วมคิดร่วมทำกับคนรุ่นใหม่ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญต้องสร้างตัวตน (ผู้เป็นหน่วยสนับสนุน) เพื่อการเป็นส่วนหนึ่งการขับเคลื่อนหรือเป็นกลไกในการเชื่อมร้อยชุมชนตลอดเวลา (ไม่ใช่มาดำเนินแล้ว เสร็จโครงการก็หายไป) แต่ต้องมีคนรุ่นใหม่ในชุมชนเป็นผู้ดำเนินงานต่อในการสร้างชุมชน โดยทางโครงการฯจะติดตามและเยี่ยมให้กำลังใจในพื้นที่ เพราะชุมชนปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ปัญหาย่อมสามารถก่อตัวขึ้นได้ทุกวันและเวลา การร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมกันคิดกับคนรุ่นใหม่และชุมชนเป็นเรื่องจำเป็นในการเชื่อมประสานงาน ซึ่งถือเป็นโอกาสของคนทำงานในการเรียนรู้ และการปรับตัวของการทำงานในระดับเชิงพื้นที่ในชุมชนต่อไป

คำถามต่อมาได้ขอความเห็นจากฝุ่นในประเด็นคนรุ่นใหม่คืนถิ่นบ้านเกิดว่า : ปัจจุบันดูเหมือนกระแสคนรุ่นใหม่กลับบ้านเกิดกำลังมาแรงทั้งในไทยและจีน ในฐานะที่ฝุ่นเป็นคนทำงานสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารบนฐานเกษตรยั่งยืนในไทยซึ่งมีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานที่จีน อยากให้ฝุ่นช่วยเล่าจากสิ่งที่ตัวเองได้เห็น ได้สัมผัส เห็นและรู้สึกอย่างไรบ้างต่อประเด็นนี้

ฝุ่นเล่าว่า : ประเด็นนี้ผมขอตอบจากประสบการณ์การทำงานกับคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยตลอดระยะที่ผ่านมาครับ กระแสคนรุ่นใหม่กลับบ้านเกิดอาจจะกำลังเป็นกระแสสังคมหรือไม่อาจจะไม่ใช่ประเด็นนี้เลยเสียทีเดียวครับ แต่ที่เป็นกระแสกำลังมาแรงมากในสังคมไทยขณะนี้ คือ การกลับมาสู่ภาคการเกษตรและวิถีพื้นบ้านในแบบฉบับของคนรุ่นใหม่ซึ่งมีความหลากหลาย มีความคิดสร้างสรรค์ไปด้วยในตัว ทั้งนี้เพื่อพยายามปลดปล่อยตัวเองออกจากระบบการทำงาน(เป็นลูกจ้าง ทำงานตามคำสั่ง) แบบเดิมๆ และผมก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี อย่างน้อยก็ได้พยายามสร้างงานบนฐานของความรู้ความสามารถของตนเอง แต่อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของการพยายามสร้างเงื่อนไขเพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาของสังคม/ชุมชน แต่อาจเป็นเพียงการพยายามสร้างฐานเศรษฐกิจของตน(คนรุ่นใหม่)เอง ให้สามารถเกิดการยอมรับของสังคมมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามแต่ก็ยังมีคนรุ่นใหม่(ส่วนน้อยมาก)บางส่วน ที่สามารถผลักดันกิจกรรมและประเด็นงานของตัวเองไปสู่ธุรกิจเพื่อสังคมและช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนในภาพรวมไปด้วยในตัว ทั้งนี้ที่ผ่านมาคนรุ่นใหม่บางส่วนที่พยายามสวนกระแสที่เป็นค่านิยมหลัก สู่วิถีเกษตรธรรมชาติโดยใช้ฐานทรัพยากรในบ้านเกิดของตนเองเป็นฐานการผลิตและฐานการดำเนินงานด้านต่างๆ (ขอใช้คำว่า “ฐานทัพคนรุ่นใหม่” ที่พยายามสร้างพื้นที่ กลุ่มคน และอุดมการณ์ในพื้นที่ชุมชนของตนเอง เพื่อให้ชุมชนและสังคมยอมรับ) โดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทั้งเก่าและใหม่เข้ามาพัฒนาพื้นที่ของตนเองและสร้างความแตกต่างบนความถูกต้องตามธรรมชาติที่ไม่บิดเบือนและการเบียดเบียนธรรมชาติมากเกินไป (เช่น การใช้สารเคมี ไม่เอา GMO ไม่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว เป็นต้น) และที่สำคัญคือการพยายามเชื่อมทุกกลุ่ม องค์กรและหน่วยงานในชุมชนเพื่อเชื่อมให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมแก้ไขปัญหาที่จะกระทบกับชุมชนของตนเอง ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาทางสังคม บนฐานทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนอย่างแท้จริง โดยทรัพยากรที่มีคนรุ่นใหม่เป็นคนกลางในการช่วยประสานงาน จัดการและดำเนินงานโดยมีคนในชุมชนเป็นผู้สนับสนุนในการทำงานในพื้นที่ชุมชน และเพื่อให้เกิดความมั่งความทางอาหาร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกชุมชน

ติดตามอ่านตอนจบ จันทร์หน้า

และอ่านบทความย้อนหลัง คลิ๊ก

———————————————
จารุวรรณ สุพลไร่ / เรื่อง
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai