มาถึงตอนที่ 3 คำถามแรกที่โยนให้ฝุ่นลองคิดๆดูก็คือ : ฝุ่นคิดว่าการใช้ประเด็นเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร เป็นประเด็นในการเชื่อมสัมพันธ์กัน ทั้งคนรุ่นใหม่ในอาเซียนด้วยกันเอง และระหว่างคนรุ่นใหม่ในอาเซียนกับเพื่อนคนรุ่นใหม่ในในจีนแผ่นดินใหญ่ มีความสำคัญอย่างไร

ในประเด็นนี้ฝุ่นให้ความเห็นว่า : มีความสำคัญมากที่คนรุ่นใหม่ในประเทศไทยต้องพยายามเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนคนรุ่นใหม่ในจีนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร เพราะว่าคนรุ่นใหม่จีนมีพลังมาก มีความคิดสร้างสรรค์และที่สำคัญมีความเข้มแข็งต่อภาวะความกดดันสูง แน่นอนว่าความแตกต่างด้านสังคมของประเทศไทยและจีนไม่เหมือนกัน ประเทศไทยสามารถดำเนินงานได้อย่างมีอิสรภาพและมีทรัพยากรมากมายทางด้านเกษตรกรรมและระบบอาหารที่หลายหลาก แต่ทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมด้านการเกษตรกรรม และความเป็นอยู่ในการบริโภคที่ใกล้เคียงกัน (เกือบทุกประเทศในเอเชียต่างบริโภค “ข้าว” เป็นอาหารหลัก) ทั้งนี้ประเทศจีนมีประชากรมากที่สุดในโลกทำให้ความต้องการในการบริโภคมากตามไปด้วย การเชื่อมโยงในมิติเกษตรกรยั่งยืนและอาหารกับคนรุ่นใหม่จะส่งผลดีต่อการเกษตรกรรมของไทยเป็นอย่างมาก เช่น ผลไม้ไทย พืชผัก หรือข้าว ถ้าสามารถเชื่อมระบบการให้ข้อมูลและการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์กับคนจีน เพียงแค่เอาคนรุ่นใหม่ 1 % ของประเทศจีน ก็ทำให้ระบบการบริโภค การผลิตเปลี่ยนแปลงไปได้มากแล้ว เป็นต้น

 

ซึ่งคนรุ่นใหม่ในจีนมีการเข้าถึงและโซเชียลเน็ตเวิร์คได้เร็ว โลกโซเชียลจึงมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก การประสานความร่วมจึงเป็นโอกาสดีในการสร้างกระแสความนิยมในประเด็นต่างๆ ส่วนหนึ่งคนรุ่นใหม่ในจีนมักให้ความสำคัญกับประเทศไทยโดยเฉพาะการท่องเที่ยว ถ้าคนรุ่นใหม่ไทยมีความเชื่อมโยงในด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น เรียนรู้การทำไร่ ทำสวน ทำนา และรับรู้การบริโภคที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่า รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็จะสามารถทำให้การขับเคลื่อนของคนรุ่นใหม่ไทยในภาคเกษตรสามารถสร้างรายได้และสร้างกระแสของระบบความมั่งคงอาหารและการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ที่สำคัญจะเป็นแนวทางการพัฒนาและสร้างการยอมรับของครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่จะเห็นความสำคัญ ให้การสนับสนุนงานด้านเกษตรแบบการบูรณาการ ที่ควบรวมประเด็นเรื่องการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมไทยเข้าไปอยู่ในนั้นด้วย

มาถึงคำถามที่ 2 เราถามไปถึงกิจกรรมที่คิดและจัดขึ้นระหว่างช่วงที่มีเวิร์คชอปว่า : เพื่อนหลายคน (ที่จริงเกือบทุกคน) ที่เข้าร่วมเวิร์คช็อป ชอบกิจกรรมกัวซาและพอกหน้าที่ฝุ่นจัดขึ้นนอกเวลา ฝุ่นคิดอย่างไรที่ใช้กิจกรรมนี้มาเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ และจากกิจกรรมนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการเรียนรู้อย่างไรบ้าง

ฝุ่น : การที่ผมนำกิจกรรมกัวซาและพอกหน้าแบบวิถีไทยไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ เพราะส่วนตัวชอบกิจกรรมดังกล่าวนี้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นกิจจรรมที่สามารถสะท้อนบางอย่างที่เป็นตัวตนของคน เป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้จัดสรรเวลาในการแลตนเราเองมากที่สุด กิจกรรมกัวซานี้เป็นการรักษา ดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถรับรู้ความผิดปกติ และหยุดทบทวนตัวเองในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ การบริโภค และที่สำคัญเป็นการเรียนรู้วิถีการดูแลสุขภาพแบบดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้สืบทอดต่อๆกันมาอย่างเป็นองค์ความรู้ชัดเจน

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมนี้ คือ สามารถนำกิจกรรมนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับผู้ร่วมกิจกรรมในการตระหนักถึงการบริโภคอาหารที่ปลอดต่อร่างกาย (เช่น การมีสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่ดี การมีอารมณ์บวก) ทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความตระหนักมากกว่าการสื่อสารแบบการพูด หรือบอกต่อ ที่พวกเขาได้ประสบกับตนเองอย่างแท้จริง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการจัดกิจกรรมกัวซานี้คือ หลังกัวซาพบว่า เพื่อนคนจีนที่เข้าร่วมส่วนใหญ่มีปัญหาด้านปอด(ไม่ปกติ) ซึ่งต่างจากเพื่อนคนไทย คนพม่า ที่ไม่พบปัญหาส่วนนี้เลย ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมในจีนซึ่งคนส่วนใหญ่สูบบุรี่กันมาก จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพของคนในประเทศด้วย สิ่งเหล่านี้สามารถสะท้อนความเป็นจริงผ่านร่างกายของผู้เข้ากัวซาได้ เป็นต้น

ติดตามอ่าน ตอน 4 ได้จันทร์หน้า

———————————————
จารุวรรณ สุพลไร่ / เรื่อง
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish