มาถึงตอนที่ 2 เราโยนคำถามถึงเรื่องกิจกรรมไปที่ฝุ่นว่า “ชอบหรือประทับใจกิจกรรม หรือ Session ไหนมากที่สุด”


ฝุ่นตอบกลับมาว่า : กิจกรรมที่ผมชอบและประทับใจที่สุดในการอบรมครั้งนี้ คือ “การสรุปสิ่งที่ทุกคนได้รับจากการเรียนรู้วันสุดท้าย” เพราะได้เห็นแววตาแห่งความมุ่งมั่น ความตั้งใจและพลังการถ่ายทอดการเรียนที่ได้รับของทุกคนที่เข้าร่วม รวมถึงประเด็นการเรียนรู้ของทุกคนที่ให้ความสำคัญของการพัฒนาระบบอาหารที่ปลอดภัย การเข้าถึงทรัพยากรในการผลิตสินค้าภาคการเกษตร และการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆที่เกิดขึ้น ซึ่งทุกคนต้องเผชิญหน้า เช่น สถานการณ์ของภาระโลกร้อน การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ สภาวะของการขาดแคลนคนรุ่นใหม่ในภาคการเกษตร การตระหนักรู้ของการรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น ที่ทำให้ผมฟังแล้วรู้ลึกมีพลังความคิด มีพลังบางอย่างที่การกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนงานที่ตัวผมเองกำลังทำอยู่ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนมันไปภายใต้สถานการณ์ปัญหา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเปิดพลังความคิดของผมได้เป็นอย่างดี

คำถามต่อมาที่ถูกโยนให้ฝุ่นคือ ประสบการณ์จากเวิร์คช็อปนี้ มีประโยชน์และสามารถนำไปต่อ
ยอดการทำงานของตนเองในอนาคตอย่างไรบ้าง

ฝุ่นเล่าให้ฟังว่า : การทำงานของผมส่วนใหญ่เน้นด้านการวิจัยและพัฒนา (วิจัยด้านนโยบายเกษตรอินทรีย์และการจัดการทรัพยากร โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่ภาคการเกษตร) โดยพื้นที่การทำงานเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์บนพื้นที่สูง ทำงานกับองค์กรชาวบ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การต่อยอดการวิจัยและการพัฒนาโครงการที่คิดไว้และกำลังจะดำเนินการในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาสวัสดิการบนฐานทรัพยากรชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่สูง เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาระบบอาหารอินทรีย์ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม โดยเน้นการสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้นำชุมชน ในการสร้างการจัดการทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการขับเคลื่อนเรื่องการสร้างความเข้าใจในการบริโภคที่ปลอดภัยเพื่อตอบสนองสินค้าของกลุ่มเป้าหมายที่อยู่บนฐานการผลิต การที่ต้องกลับไปสู่การพัฒนาบนฐานทรัพยากรชุมชนเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาสังคม และวัฒนธรรมของประเทศ โดยเฉพาะการเชื่องโยงคนรุ่นใหม่กับการพัฒนาและสร้างเศรษฐกิจชุมชน เชื่องโยงระหว่างชุมชนกับเมืองให้เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ทำให้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรในชุมชนที่มีอยู่ทั้งเพื่อคนในและนอกชุมชน การร่วมเวิร์คชอปครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นภาพชัดเจนของการที่จะพัฒนาด้านเกษตรกรรมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งในระดับชุมชนและในระดับประเทศของไทยในอนาคต

นี่คือเรื่องราวของเขาในตอนที่ 2 ติดตามอ่าน ตอน 3 ได้จันทร์หน้า

———————————————
จารุวรรณ สุพลไร่ / เรื่อง
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish