แมะ อาภรณ์ สองยางเจริญสุข และ มาย อรณี แซ่ว้าน อาสาคืนถิ่นรุ่น 7 จังหวัดตาก

ปัจจุบัน “แมะกับมาย” กลับไปค้นหาเรื่องราวในพื้นที่ชุมชนของบ้านปะน้อยปู่ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก หลังจากที่ทั้งคู่เรียนจบที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาการจัดการภูมิวัฒนธรรม

“แมะ” กลับมาที่ปะน้อยปุได้ 3 ปีแล้ว

ในขณะที่ “มาย” เติบโตที่ชุมชนบ้านป่าหวาย อำเภอพบพระ จังหวัดตาก 

แต่มิตรภาพของทั้งคู่ที่เกิดขึ้นจากการพบกันในช่วงที่เรียนมหาลัย ท่ามกลางการเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงเรื่องการวิธีการเก็บข้อมูลของชุมชน ทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจที่จะร่วมมือกันเพื่อทำงานกับพื้นที่ชุมชนบ้านปะน้อยปุในปัจจุบัน

แมะ : ตอนนี้เรากำลังกลับมาทำงานในชุมชน โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเกี่ยวกับผ้าทอการทอผ้า การย้อมสีจากธรรมชาติ ทำงานกับเด็กในชุมชนโดยใช้แบรนด์ “Lalapor” ที่เป็นตัวเชื่อมให้กับทั้งเด็กและก็ผู้รู้ในชุมชน และก็ตัวเรา ตัวเรามีบทบาทเป็นคนเชื่อมให้มีกิจกรรม และก็ให้เขาทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดเป็นพื้นที่การเรียนรู้ให้กับคน 2 วัย

มาย : โลโก้แบรนด์เกิดก่อน แล้วก็เป็นเหมือนกับแบรนด์เกิดจากการที่เราคิดว่าหลังจากจบมา แล้วเราอยากทำเรื่องผ้าทอแน่นอนแล้วก็มีแรงบันดาลใจที่จะกลับบ้าน อยากกลับมาดูแลพ่อแม่ด้วยอยากกลับมาทำงานใกล้บ้าน แบรนด์นี้ก็เลยทำให้เรานึกถึงคนที่อยู่ที่บ้านนั่นก็คือ “คุณแม่” เป็นตัวที่ทำให้เราอยากทำงานกับแบรนด์นี้ “Lalapor” ที่แปลว่าดอกไม้ที่คอยส่งแสง หลักๆที่เราขายอยู่ตอนนี้ก็จะเป็นเสื้อปกาเกอะญอ มีทั้งของผู้หญิงผู้ชาย แล้วก็พวงกุญแจ แล้วก็สีย้อมธรรมชาติ

ทุกอย่างก็เป็นสีธรรมชาติหมด เพราะเรากลับมาฟื้นฟูภูมิปัญญาการย้อมสีธรรมชาติ การทอผ้ากี่เอว 

ประสบการณ์ ก่อนที่จะมาทำงานกับชุมชน

แมะ : เราคิดว่าประสบการณ์มันได้ตั้งแต่เรียนแล้ว เหมือนตอนที่เราเรียนมันมีวิชาที่ทำให้เรามี มีปฏิสัมพันธ์คนในชุมชน เพราะว่ามันมีห้องเรียนชุมชนที่ได้ทดลองให้เราได้ทำงานจริงกับคนในชุมชน โดยพี่ๆที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เหมือนกัน เราได้เครื่องมือตัวนั้นในการทำแล้วก็ได้เห็นปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ที่ทำงานร่วมกันแล้วมันเป็นแรงบรรดาลใจกับเราจริงๆชุมชนเราก็มีเหมือนกัน แต่เพียงแค่ไม่มีตัวคนที่จะเชื่อมคนมาทำงานร่วมกัน คิดว่าถ้าเราได้ประสบการณ์จากตรงนี้เราก็กลับไปทำงานในพื้นที่ได้ 

มีความสนใจงานชุมชนอยู่ก่อนแล้ว ?

แมะ : ปีแรกได้ไปทำงานในชุมชนแบบนี้เหมือนกันแต่เป็นชุมชนอื่นที่เป็นกะเหรี่ยงโปว์ ก็มีความคิดที่แบบพื้นที่เขาก็คล้ายๆของเราแล้วเราก็ได้ทำงานจริงกับพี่ๆในนั้น ก็รู้สึกว่าเราก็สามารถกลับมาทำได้เหมือนกันอันนี้ก็เป็นแรงบันดาลใจให้เราได้ทำงานกับเขาจริง ก็ได้ตัดสินใจอีกเช่นกันเหมือนกับพื้นที่ตรงนี้ก็มีคนทำแล้วแต่ว่าในพื้นที่ของเรามันไม่ได้มีคนทำ ก็เลยมีการตัดสินใจอยากกลับมาทำงานในพื้นที่ตัวเองเพราะคิดว่าอยากกลับมาทำงานอยู่แล้ว ถ้าเรียนจบอยากกลับมาทำงานใกล้บ้านอยู่แล้ว ก็เลยหลังจากจบแล้วการได้รับประสบการณ์จากการเรียนด้วยจากการทำงานจริง 1 ปี หลังจากจบมาด้วยก็เลยทำให้เราตัดสินใจง่ายขึ้นที่จะกลับมาทำงานในบ้าน เพราะว่าเราได้รับประสบการณ์ทั้งเรียนและทำงานจริงอันนี้ก็เป็นเหมือนกับทำให้เราตัดสินใจง่ายขึ้น ที่จะกลับมาอยู่บ้านให้ไวขึ้นเพราะสุดท้ายแล้วเหมือนกับเป้าหมายของเราในการทำงานก็คือบ้านอยู่ดี

มาย : จริงๆแมะกลับมาบ้านก่อนเพราะว่าเราทำงานที่กรุงเทพ 1 ปี กลับมาทำงานที่แม่สอด 1 ปี แล้วพอเราทำงานก็รู้สึกว่ามันไม่สนุกกับการทำงานที่เป็นแบบนั้น แล้วตอนนั้นเราก็ทำงานกับชุมชนทำงานกับเด็ก พอทำงานได้ปีนึงสัญญามันก็หมดด้วยลองกลับไปอยู่บ้านลองกลับไปทำกิจกรรมกับเด็กๆที่บ้าน แล้วก็ได้เชื่อมกับแมะมากขึ้นแล้วก็ได้มาทำงานด้วยกัน

ความยาก ความง่าย ของการกลับบ้าน

แมะ : มันเป็นข้อท้าทายเหมือนมันน่าจะเกิดกับเด็กทุกคน กลับมาอยู่บ้านแล้วมันจะทำอะไรนอกจากระบบนิเวศในชุมชนของเรา คนที่ทำอาชีพหลักก็จะเป็นแบบทำไร่ทำสวนทำนาแค่นี้ถ้าไม่ทำพวกนี้ก็จะเป็นแบบสายรับราชการ แต่ส่วนตัวเราก็ไม่ได้แบบเป็นคนชอบอยู่ในกฎในเกณฑ์ขนาดนั้นก็เลยคิดว่าข้อท้าทายที่มันเจอ เป็นเรื่องของคนในครอบครัวจะยอมรับ แล้วก็คนในชุมชนก็อาจจะสงสัยว่ากลับมาทำอะไรประมาณนี้ข้อท้าทายก็น่าจะประมาณนี้

ความฝันตอนเด็กกับตอนนี้ ?

แมะ : ความฝันของฉันมันมีนักเต้นด้วยนะไกลตัวมากตอนนี้ แล้วก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็นอาชีพอะไรแต่คิดว่าทำอะไรก็ได้ที่มันอยู่เบื้องหลังที่ไม่ต้องออกไปข้างหน้า อะไรแบบนี้งานเบื้องหลังทั้งหมดที่มันทำงานอยู่เบื้องหลังประมาณนี้ แต่เราช่วงนี้ได้ออกไปข้างหน้าต้องแสดงตัวตนออกมาก็จริงแต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่แสดงตัวชัดเจนขนาดนั้น มันถึงต้องเกิดเป็นแบรนด์ “Lalapor” ด้วยเราคงทำงานสื่อสารมันผ่านเพจหรือว่าแบรนด์ตัวนี้มากกว่า เราเป็นแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนๆอีกหลายๆคน ที่คิดอยากจะกลับบ้านแล้วก็เหมือนก็มีความหวังว่าถ้าเราทำแล้วมันจะมีช่องทางไหนที่เด็กกลับบ้านจะต้องพบเจอ และสามารถอยู่รอดได้โดยที่จะมีกิจกรรมหรือกลุ่มเพื่อนที่จะต้องไปเชื่อมกับเขาเหมือนที่เราอยากให้แรงบันดาลใจแล้วก็เป็นเส้นทางให้เขาได้มีโอกาสที่จะเลือกเดินทางนี้

มาย : เหมือนเด็กทุกคนที่อยากเป็นครูความรู้สึกตอนนั้นก็อยากเป็นครูอยู่ตอนที่ยังเป็นเด็ก แต่พอเริ่มเรียน ม.4 – ม.6 เจอคณิตเจอนุ่นนี่นั่นที่เราไม่ชอบ ตอนที่เราไปเรียนคณะนี้คือเขาไม่มีคณิตศาสตร์และมันก็ได้เรียนกับชุมชน ก็เลยเลือกเรียนคณะนี้จบมาก็ยังมีความเหมือนกับสิ่งที่เราฝันไว้ได้ทำงานกับเด็กได้สอนเด็กๆทำนู่นทำนี่ด้วยกัน แต่มันแค่แบบเปลี่ยนระบบงาน

คนรุ่นใหม่กับสภาวะฝันอะไรไม่ออก ไม่รู้อนาคตจะไปทางไหนทำอะไร ทำยังไง

แมะ : เราใช้ความเป็นเด็กตอนที่เราได้เรียนรู้แล้วก็เหมือนใช้ความทรงจำในวัยเด็ก ที่ได้เรียนรู้แล้วก็นึกถึงมันแล้วเราก็กลับมาทำสิ่งนั้นให้กับเด็กๆในชุมชน รุ่นต่อไปที่เขาจะต้องเติบโตไปในเส้นทางความฝันแต่ว่าในขณะเดียวกันก็อย่าลืมที่จะเรียนรู้สิ่งที่มันอยู่ในชุมชนของตัวเอง เพราะว่าอาจจะเป็นความฝันสุดท้ายที่เขาจะตัดสินใจกลับมาหรือไม่ได้กลับมาก็ได้ อาจจะไปในเส้นทางที่เขาฝันเหมือนเป็นทางเลือกหรือเส้นทางที่เขาจะกลับมาถ้าอาชีพที่เขาฝันไม่ได้ตอบโจทย์

มาย : เราก็ไม่รู้ว่าเราจะไปถึงที่เราฝันไว้ไหม แต่ว่าเราเชื่อว่าการกลับมาบ้านการกลับมาทำงานมันมีกลุ่มคนกลุ่มเพื่อนที่ทำงานแนวนี้ มันเกิดมีกลุ่มคนเหล่านี้คอยเป็นเพื่อนคอยซัพพอร์ตกันและกัน ถ้าเราไปทำงานสายอื่นที่เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่เราก็ลองกลับมาหาสิ่งที่เป็นเราค่อยๆพาไปด้วยกัน

ชีวิตและมิตรภาพ

แมะ : มิตรภาพของเรามันเหมือนรู้ว่าเราทำได้แค่ไหนแล้วเพื่อนก็ช่วยเราได้มากแค่ไหน พอมันมีเพื่อนช่วยในสิ่งที่เราทำไม่ได้อันนี้มันก็กล้าที่จะทำมากขึ้น มันมีคนอยู่ข้างหลังที่คอยช่วยเราอยู่จริงๆถ้าทำคนเดียวมันก็ได้แหละ แต่ว่ามันก็อาจจะเคว้งอะไรประมาณนั้น เราก็เลยต้องมีเพื่อนและพ่อแม่ครอบครัวคอยหนุนคอยซัพพอร์ตคอยอยู่ข้างหลังที่แบบเราไม่ว่างในการทำงานชิ้นนี้ก็อาจจะให้เขาทำให้เรา

มาย : ก็อย่างที่แมะบอกว่าเหมือนกับเรามีบางสิ่งที่เราถนัด แต่เพื่อนก็มีบางสิ่งที่เพื่อนถนัดบางทีเราไม่ถนัดแต่เพื่อนถนัด มันก็สามารถที่จะเชื่อมและช่วยหนุนกันไปได้

ก็เลยตัดสินใจที่จะสมัครอาสาคืนถิ่นปีนี้แบบ Duo ?

แมะ มาย (พูดพร้อมกัน) : ใช่ๆ

แมะ : ก็เลยตัดสินใจเอาพื้นที่เพื่อนทดลองก่อน เดี๋ยวไปกันต่อจ้า

บทบาทของผู้หญิงในที่เราเห็นมาตั้งแต่เด็กจนโต และโลโก้ Lalapor ที่สื่อความหมายผ่านความเป็นหญิง

บทบาทของผู้หญิงคนปกาเกอะญอ ก็จะมีบทบาทในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เพื่อไปหว่านในปีต่อๆไป แล้วก็บทบาทที่ชัดเจนที่สุดก็คงเป็นหัวหน้าครอบครัวในการทำอาหาร ดูแลบ้านให้กับสามีและก็ลูก อีกอันก็จะเป็นผ้าทอ แม่เคยเล่าว่าผ้าทอเหมือนกับเป็นเพื่อนสนิทเวลาไม่มีกิจกรรมอะไรทำ ก็จะใช้ผ้าทอในการระบายสิ่งที่มันอยู่ในใจ แล้วก็ทอผ้าผ่านลวดลายที่มันมีอยู่ที่เราได้เห็นในทั่วไปในปัจจุบัน 

จริงๆผู้หญิงคือแบบเท่าที่เห็นตั้งเล็กจนโต ก็รู้สึกว่าเหมือนเขาก็ทำทุกอย่างในไร่ในนาก็ต้องไป กลับมาบ้านแล้วก็ยังต้องหุงข้าวทำกับข้าวให้ลูกกินสามีกิน เหมือนต้องรับผิดชอบทุกอย่าง…มันก็หนักอยู่นะ

พลังของผู้หญิง การทำงาน การมองโลก สังคม การใช้ชีวิต ?
แมะ : บางทีจุดแข็งและพลังผู้หญิง ก็มีความละเอียดอ่อน เวลาจะทำงานมีความละเอียด มีความตั้งใจและแน่วแน่ในสิ่งที่กำลังจะทำให้มันสำเสร็จได้ พลังผู้หญิงก็มีผลในการช่วยเหลือกัน…เยอะเหมือนกัน

สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนและสังคมจากสิ่งที่กำลังทำอยู่

แมะ : คิดว่าสร้าง บางทีสิ่งที่เราทำมันอาจจะแบบพ่อแม่ ไม่ได้คิดว่าเหมือนจะต้องกลับบ้านแล้วอาจจะไม่ได้เหมือนเด็กทั่วไป มันเราก็อยากให้เขารู้เหมือนกันว่ามีอาชีพอยู่สายงานแบบนี้ ไม่ต้องรับราชการก็ได้ แต่ว่าเราสามารถทำงานที่มันใช้ต้นทุนที่มันมีอยู่ในชุมชนมาสร้างงานได้เหมือนกัน

มาย : งานที่ทำด้วยความที่มันเป็นธรรมชาติด้วย บางทีมันก็จะอนุรักษ์ธรรมชาติที่เราทำ ส่งผลในทั้งของสังคมที่อยู่รอบๆนั้น มีป้าๆพี่ๆเห็นสิ่งที่ทำมากขึ้นอยากเข้ามาทำงานด้วยกันมากขึ้นในสังคม ต่อไปที่เราจะทำเป็นพื้นที่ที่ใช้สีพื้นที่ที่ให้เก็บข้อมูลเรื่องสี แล้วก็อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ส่วนหนึ่งเราต้องใช้ในอนาคตจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลง

แรงบันดาลใจในการมีชีวิตอยู่หรือทำงาน? คิดว่าเราเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆได้ด้วยไหม ?

แมะ : คิดว่าเรามีแรงบันดาลใจในตัวเอง หมายถึงว่าสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองได้โดยการที่ไปหางานคนอื่นมาดู แล้วก็หาวิธีคิดว่าเขาทำงานกันยังไงแล้วเขามีมุมมองในการมองชุมชนตัวเองยังไง มาดูว่าสิ่งแวดล้อมในชุมชนมันมีความสวยงามยังไงบ้าง อันนี้ก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับการที่เราอยากอยู่ในชุมชนตัวเอง เราอยากทำอะไรในชุมชนตัวเองให้กับตัวเองแล้วก็คนที่อยู่ในชุมชนตัวเองเหมือนกัน เช่นอาจจะหามุมใดมุมนึงในชุมชนตัวเองแล้วก็เก็บภาพถ่ายไว้ แล้วก็ดูการเปลี่ยนแปลงว่ามันเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน เราพอจะเป็นคนที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองในการที่จะอยู่ และก็ใช้มัน เช่น สิ่งแวดล้อม และกรรมชาติ ที่มันมีอยู่ในชุมชน

มาย : รู้สึกว่าคนที่เขากลับบ้านเขาเป็นแรงบันดาลใจให้เรานะ มันก็มีรายการเรื่องราวของคนที่กลับบ้านที่เราได้เห็น ก็มีแรงบันดาลใจว่าเขากลับไปทำได้ถึงบริบทมันจะต่างกัน เรากลับไปทำอะไรที่บ้านได้อันนี้ก็เป้นแรงบันดาลใจ แล้วเราเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้ไหม…ไม่รู้เหมือนกัน ก็ทำสิ่งที่ทำอยู่แต่ว่าจะบันดาลใจให้ใครได้ไหม ไม่รู้เหมือนกัน

แมะ : แล้วแต่วิจารณญาณคนที่เขามาดูงานเรา

มีความสนใจ งานอดิเรกอื่นๆ ที่ชอบ

แมะ
: เกษตรก็คงอยากทำอยู่นะการปลูกพืชที่เป็นไม้ผลมีความสนใจในระดับนึง แต่ว่าอาจจะเล็กน้อยถ้าสมมุติว่าการอยู่ชุมชนจริงแล้วเราทำแค่เรื่องผ้าหรือการย้อมสี มันไม่สามารถดูแลเราได้ขนาดนั้นเราคงเกษตรที่มันเป็นเรื่องของการกิน การอยู่ ของเราให้เราได้กินด้วยให้เราสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้ด้วย แล้วก็อีกอันนึงที่มีความฝันเป็นนักจัดการเรียนรู้อยากออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบของเรา ที่มันตอบโจทย์กับคนในชุมชนแล้วก็เด็กในชุมชนเช่นกัน เพราะว่าเหมือนกับบางทีบริบทเราอาจจะต่างจากพื้นที่อื่น แต่ว่าเราอยากออกแบบให้เข้ากับชุมชนของเราให้มากที่สุด 

มาย : ของมายจะเป็นเรื่องการวาดรูป เมื่อก่อน เป็นเรื่องการใช้สีอย่างอื่นแต่ช่วงหลังก็มีการใช้สีธรรมชาติ ก็เป็นใช้ก้อนหินใช้สีจริงๆตอนแรกที่คิดไว้จะทำสีวาดมาจากการย้อมผ้า จะเอาสีที่เหลือมาทำเป็นสีสำหรับใช้วาดรูปในอนาคตก็อยากจะทำ

สนับสนุนและติดตาม แมะ-มาย ที่นี่

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราได้พูดคุยกับเพื่อนอาสาสมัคร จากโครงการอาสาคืนถิ่นทั้งสองคนพร้อมกัน หลังจากที่มีการเปิดรับอาสาสมัครในรูปแบบ DUO และ Team เป็นปีแรก การกลับบ้านของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ที่

Our Ethnic Friends บทสนทนาระหว่างเพื่อนกับเพื่อน พูดคุยทำความรู้จักกับเพื่อนอาสาสมัครพร้อมกันกับพวกเรา

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish