‘พรบ.ควบคุมการรวมกลุ่ม’ ยังระอุ ภาคประชาสังคมวอนยุติร่างทุกฉบับ นักกฎหมาย EnLAW ชี้กฎหมายนิยามกว้าง หวั่นกระทบเสรีภาพ ‘การรวมกลุ่ม’ เครื่องมือ ‘ฟ้องปิดปาก(SLAPP)’ ผู้แทนอินโดนีเซียเผย Southeast Asia เสรีภาพการรวมกลุ่ม ไร้บนปฏิญญาอาเซียนฯ (AHRD) นักวิจัยกัมพูชา เปิดบทเรียนกรณีตัวอย่างหลังถูกบังคับใช้กฎหมาย Lango ประเทศกัมพูชา และ กลุ่มเคลื่อนไหว LBGTQ ต้องถูกหยุดกิจกรรมในประเทศ อินโดนีเซีย

รับฟังเสวนาออนไลน์ บทเรียนเพื่อนบ้าน ‘พ.ร.บ.การรวมกลุ่ม’ วิกฤตของประชาชน? เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 เวลา 14.30-16.00 น. ที่ผ่านมา

‘พรบ.ควบคุมการรวมกลุ่ม’ ยังระอุ ภาคประชาสังคมวอนยุติร่างทุกฉบับ

ก่อนสัปดาห์สุดท้าย เดือนมี.ค. กระทรวง พม. รับฟังความคิดเห็น ‘ร่าง พรบ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. …’ ที่ผ่านมติครม.เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 65 และขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 1 เม.ย. 65 เพื่อส่งกลับไปให้ ครม. มีมติเห็นชอบส่งให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาเป็นกฎหมายใช้บังคับในลำดับต่อไป 

เกิดปรากฎการณ์ความเคลื่อนไหวของกลุ่มภาคประชาสังคม และประชาชน ตั้งคำถามกฎหมายดังกล่าว ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิการรวมกลุ่ม เสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ภาคประชาสังคมและประชาชน ต้องการเพื่อแสดงความคิดเห็น ทำกิจกรรม สาธารณะประโยชน์ที่ภาครัฐไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึง และบางส่วนของกระบวนการรับฟังความคิดที่รัฐบาลจัดขึ้น เคลือบแคลงใจถึงความชอบธรรม การเข้าถึงของประชาชนทั่วถึงได้อย่างเพียงพอ

วันที่ (7 เม.ย) ขบวนต่อต้านร่างกฎหมายทำลายการรวมกลุ่มของประชาชน แถลงข่าวออนไลน์กรณีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) บิดเบือนและแทรกแซงกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อร่าง พ.ร.บ.การดำเนินกิจการขององค์กรไม่แสวงหากำไร ก่อนหน้า  (24 เม.ย) ‘ขบวนประชาชนต่อต้านร่างกฎหมายทำลายการรวมกลุ่มของประชาชน’ 800 กว่าคน ยื่นหนังสือคัดค้าน ยุติการร่างกฎหมาย พ.ร.บ.การรวมกลุ่มทุกฉบับ โดยมี จุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวง พม. รับหนังสือ ที่กระทวง พม. 

ด้าน พัชรี อาระยะกุล ปลัด พม. เปิดเผยว่า ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ เครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายคนพิการ เครือข่ายผู้สูงอายุ สตรี เด็ก เยาวชน และสภาองค์กรชุมชน โดยมีเครือข่ายต่าง ๆ เข้ามาแสดงความคิดเห็นแล้วกว่า 5,004 องค์กร ซึ่งมีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เปิดเผยเมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ วันที่ 11 มี.ค. 65) 

สั่นคลอน ‘สิทธิกลุ่ม’ เครื่องมือใหม่ ‘ฟ้องปิดปาก(SLAPP)’ 

“รัฐอาจจะใช้ข้อหาใด ข้อหาหนึ่งในระยะยาวมาเพื่อหยุดการดำเนินการภาคประชาสังคม ประชาชน ไม่สามารถที่จะแสดงออกได้อย่างเต็มที่ตามเสรีภาพ” 

อัมรินทร์ สายจันทร์ นักกฎหมาย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) กล่าวว่า อาจนำมาส฿่บรรยากาศที่เกิดความหวาดกลัวภายในสังคม สร้างผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อร่างได้ถูกบังคับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสรีภาพการชุมนุม การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ 

นักกฎหมาย EnLAW อธิบายอีกว่า พบว่ารูปแบบการรวมกลุ่มมีรูปแบบที่หลากหลาย การรวมตัวกลุ่มอนุรักษ์ของชุมชนต่างๆที่ทำเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือว่ากลุ่มสหภาพแรงงาน กลุ่มภาคี ที่มีการรวมตัวกันในรูปแบบไม่เป็นทางการ กลุ่มธรรมชาติก็มีผลตามกฎหมายอันนี้ทั้งหมด

ข้อสังเกตกฎหมายนี้ ไม่ใช่เพียงเหมือนอาวุธของรัฐเท่านั้น แต่อาจจะรวมไปถึงภาคธุรกิจที่ไม่พอใจกับการคัดค้านชุมชนต่างๆ เรียกร้องเพื่อความเป็นอยู่ในพื้นที่ของตนเอง 

“อาจจะถูกหยิบกฎหมายฉบับนี้นำมาเป็นเครื่องมือมาใช้รูปแบบ ‘SLAPP’ หรือ ‘ฟ้องปิดปาก’ ที่ปัจจุบันกฎหมาย ‘หมิ่นประมาท’ ถูกนำมาใช้บ่อยกับประชาชนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นไม่อาจจะไม่วางใจกฎหมายฉบับนี้ได้” 

อัมรินทร์ อธิบาย บนเวทีเสวนาออนไลน์ บทเรียนเพื่อนบ้าน ‘พ.ร.บ.การรวมกลุ่ม’ วิกฤตของประชาชน? เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 เวลา 14.30-16.00 น. ที่ผ่านมา

ส่วนใดของกฎหมายที่น่ากังวล 

ไทยยังอยู่กระบวนการร่าง ‘พรบ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. …’ ยกร่างโดย คณะกรรมการกฤษฎีกา ปรับแก้จากฉบับแรก ‘ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. ….’ ผ่านมติ ครม. เมื่อวันที่ (23 ก.พ. 64) 

เนื้อหาฉบับนี้ตัดเพียง ‘การจดทะเบียน’ แต่เพิ่มเนื้อหา ‘ฟอกเงิน’ และ ‘ก่อการร้าย’ เข้ามา โดยรัฐบาลอ้างเพื่อป้องกันการทุจริต โดยมีการนิยามกฎหมายที่คลุมเครือกว้างๆ ได้แก่ 

มาตรา 3 ‘องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร’ คณะบุคคลทุกประเภท ที่มีรวมกลุ่มทำกิจกรรมโดยไม่ได้มุ่งหากำไร เฉพาะครั้งคราว นอกจากกลุ่มที่เป็นมูลนิธิ สมาคม เป็นในทางภาคประชาสังคม ประชาชนทั่วไป ต้องเปิดเผยข้อมูล รายละเอียดองค์กร ชื่อ วัตถุประสงค์ที่จัด วิธีการดำเนินงาน ที่มาของเงินทุน รายชื่อผู้รับผิดชอบดำเนินงาน โดยให้หน่วยงานภาครัฐเข้าถึงได้โดยง่าย 

มาตรา 19 สาระสำคัญคือ องค์กรที่มีรายได้จากการรับเงินบริจาคจากบุคคลทั่วไป หรือจากต่างประเทศต้องมีการทำรายรับรายจ่าย เปิดเผยบัญชีให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงได้ หากทำไม่ได้ก็สามารถสั่งหยุดดำเนินกิจกรรมได้ หยุดการดำเนินการองค์กรได้

อีกข้อสังเกตคาดเป็นปัญหาใหญ่ มาตรา 20 ‘องค์กรไมแสวงหากำไรต้องไม่ดำเนินงานในลักษณะดังต่อไปนี้’ 

(1) กระทบตอความมั่นคงของรัฐ รวมถึงความมั่นคงของรัฐด้านเศรษฐกิจหรือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(2) กระทบต่อความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อใหเกิดความแตกแยกในสังคม

(3) กระทบต่อประโยชนสาธารณะรวมทั้งความปลอดภัยสาธารณะ

(4) เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมาย

(5) เป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือกระทบต่อความเป็นอยู่โดยปกติสุขของบุคคลอื่น

กรณีฝ่าฝืน ให้นายทะเบียนแจ้งให้หยุดการกระทำและแก้ไขการกระทำ หากยังฝ่าฝืนการแจ้งเตือนของนายทะเบียน ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งให้ยุติการดำเนินงาน

เห็นได้การยกร่างกฎหมายฉบับนี้ เป็นการเข้ามากำหนดกิจกรรมที่ต้องห้ามทำ ควบคุมในทางเนื้อหา เป็นฉบับที่มีผลกระทบอย่างมาก ทั้งใช้คำกว้าง กำกวม และบทลงโทษทางอาญา กรณีที่ฝ่าฝืน นายทะเบียนสามารถสั่งให้ยุติการดำเนินงานองค์กร โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท  ต่อเนื่องอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาทหากยังฝ่าฝืนต่อเนื่อง อีกทั้งผู้รับผิดชอบดำเนินงานขององค์กรรับโทษเช่นเดียวกัน 

“เราไม่มีทางที่จะรู้ได้เลยว่า รัฐจะตีความขยายความไปแค่ไหน การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนซึ่ง ยังไงก็ต้องเกี่ยวพันเรื่องประโยชน์สาธารณะไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง หรือทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่าง ซึ่งก็เป็นปกติในระบอบประชาธิปไตย” อัมรินทร์ กล่าว

ปฏิญญาอาเซียนฯ AHRD ไม่ได้บัญญัติ ?

Freedom of association (FOA) in Southeast Asia สำรวจการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) 

กฎหมายควบคุมสิทธิพื้นฐาน ได้แก่ประเทศ กัมพูชา อินโดนีเซีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเมียนมาร์

“หลายๆประเทศประสบปัญหา สร้างภาระองค์กรให้ต้องทำรายงานส่งต่างๆ องค์กร NGOs ปกติทำงานหนักอยู่แล้วยังต้องส่งข้อมูล ถ้าไม่ส่งต้องเป็นเหตุทำให้ถูกตั้งคำถาม หรือแม้กระทั่งถูกยกเลิกองค์กรถอนใบอนุญาตได้” Yuyun Wahyuningrum ผู้แทนจากอินโดนีเซีย คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) เปิดเผย

มีข้อจำกัดการใช้กฎหมาย NGOs ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีการกำหนดให้ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมจะต้องมาจดทะเบียน บางกฎหมายมีนโยบาย หรือนิยามใช้คำที่มีความหมายกว้างเกินไป โดยยากต่อจะกำหนดด้านของสิทธิมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นบางรัฐก็มีกฎหมายห้ามไม่ให้บางกลุ่มที่ ไม่ได้จดทะเบียนให้ดำเนินการ มีบทลงโทษทางอาญา 

ผู้แทนจากอินโดนีเซีย อธิบายอีกว่า FOAA in ASEAN อาเซียนพูดถึงเรื่องเสรีภาพการรวมกลุ่ม ถูกมองเป็นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ แต่ไม่มีเสรีภาพการรวมกลุ่มพูดถึงในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AHRD) ขณะที่แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Phnom Penh Statement on the Adoption of ASEAN Human Rights Declaration) ระบุยืนยันจะดำเนินการ AHRD สอดคล้องกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาเวียนนาและแผนปฏิบัติการ สิทธิมนุยชนระหว่างประเทศอื่นๆ 

กัมพูชา 

“ตัวกฎหมายนี้เป็นกฎหมายส่งผลกระทบมากๆต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นกัมพูชาในพื้นที่ห่างไกล กับประชาชนรวมตัวกันประท้วงเพื่อความอยู่รอดประชาชน” 

Dr.Sary seng นักวิจัยสังคม ประเทศกัมพูชา ไทย และญี่ปุ่น สถาบันวิจัยสังคม – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

นักวิจัยสังคม ประเทศกัมพูชาเล่าถึงอุปสรรคการทำกิจกรรมของชุมชนที่อาศัยสิ่งแวดล้อม อาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต เมื่อเจอบริษัทจีนที่ได้สัมปทานที่ดิน โครงการสัมปทานที่ดินทั้งหมู่บ้าน ส่งผลให้ทำอะไรลำบากขึ้น 

เนื่องจากกฎหมาย Lango หรือกฎหมายควบคุม NGOs ถูกบังคับใช้ในประเทศกัมพูชาเมื่อปี 2015 มากว่า 7 ปี ประสบปัญหาเรื่องนิยามของกฎหมายที่กว้างและสร้างความสันสนกับประชาชน นำมาสู่เพื่อการควบคุม และบางครั้งก็เข้าใจยากในการตีความเจ้าน้าที่ระดับท้องถิ่นพื้นที่ภาคประชาสังคมทำงานอยู่

ยกตัวอย่าง มาตรา 4 กล่าวถึงนิยาม ‘สมาคมในประเทศ’ และ ‘องค์กรเอกชนภายในประเทศ’ ที่มีเนื้อหาเหมือนกฎหมายเดิม คือ “องค์กรที่ถูกตั้งขึ้นอยู่ภายใต้กฎหมายกัมพูชา โดยบุลคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ ของสมาชิกโดนไม่สร้างไม่แสวงกำไรมาแบ่งปันกัน” 

และมาตรา 10 กล่าว สมาคมในประเทศ และองค์กรเอ็นจีโอ รายงานบัญชีให้กับรัฐบาล รายงานบัญชีต้องมาจากบัญชีธนาคาร รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเศรษฐกิจการคลังภายใน 30 วัน หลังจดทะเบียน ในกรณีที่มีการแก้ไขกฎหมาย เปลี่ยนสำนักงาน เปลี่ยนประธาน เปลี่ยนผู้อำนวยการ หรือเปลี่ยนข้อมูลด้านธนาคารต้องแจ้งให้กระทรวงมหาดไทยทราบ 15 วันนับ ความเปลี่ยนแปลงนั้น แจ้งให้ทราบพร้อมแนบเอกสาร

นำมาซึ่งอุปสรรคทางด้านเทคนิคการเงิน ขององค์กรท้องถิ่นที่ทำโครงการพื้นที่ห่างไกล ต้องแจ้งและรายงานภายในเวลา 15 วันค่อนข้างเป็นปัญหา ถึงแม้ภาคประขาสังคมพยายามพูดคุยหลายภาคส่วนให้รัฐบาลเป็นมิตรลักษณะการทำงานของพวกเขา แต่ก็ไม่สำเร็จรัฐบาลยังยืนยันใช้กฎหมายแบบที่เสนอ

“กฎหมายนี้ผมคิดว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อควบคุมภาคประชาสังคม เสรีภาพของคนในกัมพูชา 

ซึ่งรัฐบาลมองว่ากระบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม มีเอ็นจีโอ หนุนหลังอยู่ รัฐบาลไม่ได้ตั้งใจกฎหมายนี้ควบคุมเอ็นจีโอ แต่กฎหมายนี้ต้องใช้เพื่อควบคุมขบวนการภาคประชาชน รัฐบาลคอ่นข้างกลัวเรื่องของการชุมนุม การเคลื่อนไหวของประชาชนมากๆ” Dr. Sary seng เปิดเผย

นักวิจัยสังคมประเทศกัมพูชา ยังอธิบายอีกว่า กลุ่มประชาชนกลุ่มนี้ กลายเป็นพวกกองโจร ต่อต้านรัฐบาลไปหมด เขาไม่ได้ต่อสู้รัฐบาลเลย เขาต้องการต่อสู้เพื่อความเป็นอยู่ตัวเอง เรื่องแบบนี้อาจจะเกิดในประเทศไทยเช่นกัน เพราะสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นแล้วที่กัมพูชา 

อินโดนีเซีย

“องค์กรภาคประชาสงคมที่ทำเรื่อง LBGTQ+ มีปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนต่างประเทศได้ เขาต้องเปลี่ยนการทำงานโครงการเพื่อให้รัฐบาลรับได้” Yuyun เปิดเผย 

เธอกำลังเล่าถึงผลกฎหมายควบคุม NGOs ในประเทศอินโดนีเซีย ภาคประชาสังคมทำงานประเด็น เพศสภาพ LBGTQ ทำงานได้ยากลำบากเพราะเจ้าหน้าที่ต้องการตรวจสอบกิจกรรม ต้องเปลี่ยนไปทำเรื่องเอดส์ HIV การจัดการอบรม งานสร้างความตระหนักให้ความรู้กับสังคม ชุมชน เรื่องสุขภาพทางเพศ องค์กรภาคประชาสังคมเท่านั้นที่ทำ โดยยังไม่ได้องค์กรทั้งทางโรงเรียน และภาครัฐดูแล

“เพราะฉะนั้น บทบาทก็เห็นเป็นบทบาที่ส่งเสริมการทำงาน ภาครัฐควรจะมองว่าองค์กรภาคประชาสังคมไม่ได้ทำงานขัดขาภาครัฐ เราส่งเสริมงานของภาครัฐ” Yuyun กล่าว  

อินโดนีเซีย พบข้อจำกัดของรัฐบนกฎหมาย NGOs ต้องให้รายงาน Lokataru report ที่เผชิญภาระมากมายเกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการสมาคม การจัดตั้ง การลงทะเบียน การดำเนินกิจกรรม การติดต่อระหว่างประเทศ การเข้าถึงทรัพยากร การเข้าถึงการเจรจานโยบาย กิจกรรมทางการเมือง 

ที่มีเนื้อ Law 9 of 1998 ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ การชุมนุมไม่ขออนุญาตถือผิดกฎหมาย ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบอย่างน้อย 24 ชม. ล่วงหน้าต้องให้ข้อมูลเป็นจำนวนมาก และ Lokataru ก็ยังมีข้อจำกัดการแสดงความเห็น เสรีภาพในการพูด  เช่น อินเตอร์เน็ต การเข้าถึงเนื้อหา ข้อมูลอะไรที่โพสไม่ได้ 

ผู้แทนจากอินโดนีเซีย ยังอธิบายอีกว่า ทางเลือกจัดการกฎหมาย  1 ) ปฏิเสธโดยสิ้นเชิง 2 )ประนีประนอม ยอมให้มีกฎหมายแต่พยายามลดโอกาสที่จะถูกลงโทษทางอาญาให้มากที่สุด

ใครที่พยายามใช้บริษัทมาขัดขวางการทำงานขององค์กร์ NGOs ถือผิดกฎหมาย เพราะนับเป็นองค์กรที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว 

“ในอินโดนีเซียเราพยายามเสนอให้คว่ำกฎหมายนี้ แต่ว่าสุดท้ายรัฐบาลก็ผ่านกฎหมายอยู่ดี เพราะฉะนั้น อย่างน้อยให้พวกเราช่วยเตรียมตัวด้วยนะคะ ก่อนที่จะมีการผ่านกฎหมายแล้วเราจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง” 

ผู้แทนอินโดนีเซียคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights –AICHR) ทิ้งท้ายอีกด้วยว่ากลไกของเธอนั้นการรับเรื่องร้องเรียนในเรื่องสิทธิมนุษยชน ใครที่สนใจสามารถส่งข้อร้องเรียนได้ 

.

จัดโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

#มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม #หยุดพรบควบคุมการรวมกลุ่ม #ไม่เอาพรบควบคุมภาคประชาสังคม #NoNpoBill

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish