‘สิทธิกลุ่มอิสระ’ คนรุ่นใหม่ต้องการ บนโลกใบเดียว ที่ไร้ความเท่าเทียม

เมื่อกลไก ‘กลุ่ม’ ในยุครัฐบาลคสช. ดูเหมือนราวกับไร้จุดยืน ‘เท่าเทียม’ บนสังคมไทย เมื่อการเข้ามาของ “พรบ.ควบคุมการรวมกลุ่ม” เปรียบได้กับกุญแจล็อค เสรีภาพของประชาชน ‘คนรุ่นใหม่’ เผยอยากให้ ‘การรวมกลุ่ม’ อิสระ 

จากเวที ถอดรหัส ‘การรวมกลุ่ม’ ที่คนรุ่นใหม่ต้องการ ก่อนร่างพรบ. ‘การดำเนินกิจกรรมองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร’ จะคืบคลาน วันที่ 1 มีนาคม 2565  เวลา 19.00-21.00 น. 

CLICK รับฟังได้ที่นี่

‘กลุ่ม’ กับจุดยืนไร้ ‘เท่าเทียม’ บนสังคมไทย 

“แต่พอเหมือนกับว่าพอเราจะมีการชุมนุม.. ให้ข้อมูลกับชาวบ้านเกี่ยวกับทรัพยากรทะเล ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาในพื้นที่บ้าง.. ก็จะมีจับผิด.. เหมือนกับว่าจะโดนหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินนะ” เปิดเผย ไครียะห์ ระหมันยะ เยาวชนเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น

ไครียะห์ กำลังอธิบายว่า พื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา กำลังเผชิญกับโครงการนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวนกว่า 16,753 ไร่ และเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น นั้นเป็นกลุ่มชุมชนที่ต้องการบอกเล่าเรื่องราวทรัพยากรธรรมชาติ หรือ กลุ่มธรรมชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนในท้องถิ่น ลักษณะองค์กร (ไม่ได้จดทะเบียน)

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นกฎหมายที่เจ้าหน้าใช้ตักเตือน ท่ามกลางปัญหาชุมชนเดือร้อน ช่วงของสถานการณ์โควิด-19 ไม่สามารถที่จะรวมตัวได้ ในพื้นที่ ในหลายๆพื้นที่เอง ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ชนบทหรือว่าเข้าไปในเมืองสงขลาเอง ก็จะประมาณนี้หมดเลย 

“เวลามีเหตุการณ์ที่เขาสามารถจะรวมตัวกันได้ เหมือนกับว่าเขามีเวทีประชาพิจารณ์ของเขา รัฐบาลเองก็สามารถที่จะ จัดเวทีกันได้ไม่ว่าจะเป็นเวทีประชาพิจารณ์ 1 2 3 4 5 แบบนี้ แต่พอเหมือนกับว่าพอเราจะมีการชุมนุมให้ข้อมูลกับชาวบ้านเกี่ยวกับทรัพยากร ทะเลก็จะมีการมีเจ้าหน้าที่พื้นเข้ามาในพื้นที่บ้าง ก็จะมีจับผิด เหมือนกับว่าจะโดนหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินนะ ” ไครียะห์ กล่าว

ด้าน ทิติยา รังมาตย์  ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น อธิบายลักษณะการดำเนินการภาครัฐต่อกรณีการรวมกลุ่มชุมชนทำงานด้านรณรงค์ แล้วก็เรียกร้องนโยบายต่อรัฐ เช่นเครือข่ายพีมูฟ P-MOVE กลับมาโดยได้รับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้รับหมาย คือการรวมกลุ่มปัจจุบัน

“มองว่ารัฐเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งทำให้ประชาชนค่อนข้างกลัวมากขึ้น  ถ้าเรารวมกลุ่มกันเราจะได้รับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้รับหมายหรือไม่ ซึ่งการเลือกปฏิบัติของรัฐจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ พ.ร.บ.NGO ที่เขาจะออกมา เช่นเดียว แน่นอนว่าอาจมีทิศทางกฎหมายเลือกการปฏิบัติมากขึ้น” ทิติยา กล่าว

“พรบ.ควบคุมการรวมกลุ่ม” เท่ากับกุญแจล็อค ?    

กฤต แสงสุรินทร์ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม EnLAW อธิบายว่า ก่อนหน้าที่ยังไม่มีพ.ร.บ.การรวมกลุ่ม ในการรวมกลุ่มของมูลนิธิในการเปลี่ยนแปลง การเปิดเผย คือรัฐสามารถเข้ามาตรวจสอบได้อยู่แล้ว รูปแบบการทำงานขององค์กร EnLAW ก็ทำงานภาคประชาชน สิทธิมนุษยชน ซึ่งงบประมาณเป็นการเขียนขอแหล่งทุน เราก็พิจารณาว่าแหล่งทุนเหล่านั้นมีสิ่งที่เหมือนกับภาคประชาชนไหม ซึ่งเมื่อได้รับงบประมาณได้มาเขียนการจัดกิจกรรมก็เป็นหน้าที่เสียภาษีและรายงาน 

“ขนาดเครือข่ายชาวบ้าน ชุมชนต่างๆที่ออกมา เวลาเรามีปัญหา ก็ออกมาเรียกร้อง ถึงผู้มีอำนาจก็ต้องให้ผู้มีอำนาจออกมาเรียกร้องแก้ไขปัญหา สิทธิเสรีภาพแสดออกพูดในพื้นที่สาธารณะ เสียงในพื้นที่ที่ต้องฟัง เพื่อต้องการเรียกร้องผลักดันประเด็นการสื่อสารให้ไปให้ไกลมากยิ่งขึ้นที่ผ่านมา “กฤต กล่าว

นักกฎหมาย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม EnLAW  อธิบายอีกว่า ก่อนหน้าที่มีการเคลื่อนไหว การใช้กฎหมายมาปิกกัน พ.ร.บ.คอมฯ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ปัจุบันก็ไม่ได้ใช้แล้ว ใช้พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ พี่น้องจะนะออกมาเรียกร้อง ก็มีการใช้พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ มาสลายการชุมนุม มีกฎหมายมาห้าม จัดแบบนี้ไม่ได้ จัดเสวนาได้แต่ห้ามพูดถึงเรื่องนี้เรื่องนั้น เสรีภาพการแสดงออกเสรีภาพการชุมนุม การจำกัดสิทธิการรวมกลุ่ม 

อยากให้ ‘การรวมกลุ่ม’ อิสระ ‘คนรุ่นใหม่’ เผย

“การรวมกลุ่มอยากให้มันเป็นอิสระโดยปราศจากที่รัฐจะมาควบคุม เพราะว่าแน่นอนว่ารัฐก็มีหน้าที่ที่จะต้องทำ” อภิญญา ผดุงโชค มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน 

อภิญญา อธิบายว่า บางเรื่องบางอย่างการรวมกลุ่มของแต่ละชุมชนแก้ไขในที่ ชุมชนได้รับผลกระทบนั้นจริงๆ เช่นกลุ่มจะนะ ได้รับผลกระทบและไม่เห็นด้วยคือเป็นพื้นที่ของตนเอง แน่นอนรู้สึกว่ารัฐทำแบบนั้นเพื่อรักษาท้องถิ่นของตนเอาไว้ 

ขณะที่ เรื่องหลากหลายทางเพศ ก็ต้องการ คือเขาได้รับผลกระทบจากรัฐจริงๆ การเลิกปฏิบัติการถูกบลูลี่ หรือตีตรา การอะไรต่างๆ อุ้มเชื่อว่าทุกคนรู้ว่าประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ รู้ว่าเขาต้องเจออะไรบ้าง อย่างแรกบลูลี่ การถูกลดทอนคุณค่ามนุษย์ สิ่งเหล่านี้เราต้องมองว่าพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนมีเท่ากัน แล้วพอเขาเจออะไรต่างๆมาเยอะๆ แน่นอนว่าเขาก็ต้องรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเอง เพราะว่าพวกคุณไม่ได้ให้สิทธิความเป็นมนุษย์แก่เขา ลดทอนเขาไปแล้ว 

การรวมกลุ่มของเขาแบบนี้ ถ้าในมุมมองของอุ้มนะ มองว่าเป็นเรื่องดี ต้องการที่จะให้ทุกคนรู้ว่ามีศักดิ์ศรีความเป้นมนุษย ไม่ว่าใครก็ตามว่าหรือมาตีตราเขาก็ได้ แบบนั้นไม่ใช่ อยากจะแบบให้เกียรติ รู้สึกว่ารัฐไม่ควรจะมาครอบในการที่จะแบบ เหมือนเป็นการปิดปาก การตัดแขนตัดขาการรวมกลุ่มองค์กรอิสระเลย คือตัดไปหมดเลย ง่ายๆ 

“อุ้มอ่านวนๆ 3 วัน เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ตัวนี้ รู้สึกว่าเขาตัดแขนตัดขาโดยการปรับ หรือจำคุกแบบอะไรต่างๆ รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้คือเป็นการที่ทำแบบรุนแรงอยู่ขององค์กรอิสระค่ะ” อภิญญา ทิ้งทาย

.

จัดโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

#มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม #หยุดพรบควบคุมการรวมกลุ่ม #ไม่เอาพรบควบคุมภาคประชาสังคม #NoNpoBill

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish