กลายเป็นกระแส เมื่อวันที่ (4 มกราคม 2565) มีมติเห็นชอบร่าง ‘พ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร’ ซึ่งมีเนื้อหาเข้าข่ายควบคุมการรวมกลุ่มของภาคประชาชน ต้องขึ้นทะเบียนองค์กร ตรวจสอบการเงิน และจำกัดการรับเงินบริจาคนอกประเทศ 

ท่ามกลางความคับแคลงใจจนเกิดมวลชนรวมกลุ่มกว่า 19 เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน จำนวน 1,867 องค์กร คัดค้านกฎหมายดังกล่าว 

อย่างไรก็ตามกระทรวง พม.เปิดรับฟังความคิดเห็นออนไลน์แล้วตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม – 25 มีนาคม 2565

มอส.ขอเชิญชวนทุกคุณใช้สิทธิแสดงความคิดเห็นก่อนที่อนาคตการรวมกลุ่มจะเปลี่ยนไป ท่านใดที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอความคิดเห็นการรวมกลุ่มที่ตัวเองต้องการ ได้ในเว็บไซต์ www.m-society.go.th

เปิดไทม์ไลน์ ‘พรบ. ควบคุมเสรีภาพการรวมกลุ่มประชาชน’ จับชีพจรเหตุการณ์สำคัญว่ามีอะไรเกิดขึ้นกันบ้าง

2558 การประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม แต่พบข้อจำกัดและขอบเขตอำนาจ ไม่มีงบประมาณ และบุคลากรกำหนดไว้

2561 – 2563 กระทรวง พม. จัดทำร่าง ‘พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม’ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) 

กุมภาพันธ์ 2563 อีกด้านหนึ่งภาคประชาชนกว่า 11,799 รายชื่อ นำโดยนางสุนี ไชยรส และคณะ เสนอร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (ฉบับประชาชน) สู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

6 มีนาคม 2563 กระทรวง พม. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่าง ‘พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม’ (ฉบับพม.) ณ ทำเนียบรัฐบาล 

14 เมษายน 2563 – 3 พฤษภาคม 2563 กระทรวง พม. เปิดรับฟังความคิดเห็นร่าง ‘พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม’ (ฉบับพม.) บนเว็บไซต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 

8 มกราคม – 12 พฤษภาคม 2564 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับฟังความคิดเห็นเว็บไซต์ออนไลน์ ร่าง ‘พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม’ (ฉบับประชาชน) นำโดยสุนี ไชยรส และภาคประชาชน จำนวน 11,799 คน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 

23 กุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรี มีมติร่างกฎหมาย ‘พ.ร.บ.องค์กรไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน’ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้รับร่าง ‘พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม’ ของกระทรวง พม.

24 กุมภาพันธ์ 2564 เครือข่ายภาคประชาสังคมฯ แถลงการณ์คัดค้านร่างกฎหมาย พ.ร.บ.องค์กรไม่แสวงหารายได้ บนสื่อออนไลน์ และเสนอฉบับร่าง ‘พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมฯ’ ประชาชนร่วมลงชื่อ 11,799 ราย

2 มีนาคม.2564 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย แถลงการณ์บนเฟซบุ๊ก 4 ข้อ วอนรัฐหยุดร่าง ‘พ.ร.บ.องค์กรไม่แสวงหากำไรฯ’ เนื่องจากแทรกแซง ควบคุม มองเป็นศัตรู และร่วมมือพัฒนาสังคม-ท้องถิ่น

12 – 31 มีนาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์สคก. ร่าง ‘พ.ร.บ.ว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน’ โดยความเห็นส่วนใหญ่ควรถอนร่างทั้งฉบับ

25 พฤษภาคม 2564 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จัดประชุมร่างกฎหมาย ‘พ.ร.บ.องค์กรไม่แสวงหารายได้ฯ’ โดยมี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เสนอปรับตามมาตรฐานสากลด้าน (AML/CFT) จำนวน 8 ประเด็น

17 มิุนายน 2564 ฮิวแมนไรท์วอทช์ และภาคประชาสังคม 41 องค์กร ยื่นจดหมายถึงกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา วอนผลักดันให้รัฐบาลไทยยกเลิกร่าง ‘พ.ร.บ.ว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ’ 

29 มิถุนายน 2564 คณะรัฐมนตรี มีมติเพิ่มเติมหลักการร่างกฎหมาย ‘พ.ร.บ.องค์กรไม่แสวงหารายได้ฯ’ ตามที่สำนักงาน ปปง. เสนอตามมาตรฐานสากลด้าน (AML/CFT) จำนวน 8 ประเด็น

1 กรกฎาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเริ่มเผยแพร่หลักการร่างกฎหมาย ’พ.ร.บ.การดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน’ โดยปรับเพียงข้อเสนอของสำนักงานปปง. 

1 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2564 สำนักงานกฤษฎีกา รับฟังความคิดเห็นหลักการ มาตรฐานสากลด้าน (AML/CFT) 8 ประเด็น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ มีการแสดงความคิดเห็น 14,038 คน ไม่เห็นด้วย 12,000 คน

4 พฤศจิกายน 2564 คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติร่าง ‘พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน’ ตามที่สำนักงานปปง.เสนอ และสั่งให้สำนักงานสคก. พิจารณาร่วมกับ ‘พ.ร.บ.การดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปัน’ เพื่อให้สอดคล้องกัน

10 พฤศจิกายน 2564 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมประชุมสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รอบที่ 3 กลไก Universal Periodic Review โดย คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ บนระบบออนไลน์ ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา 

13 ธันวาคม 2564 คณะกรรมการกฤษฎีกา จัดทำร่าง ‘พ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร’ คัดลอกบางส่วนร่าง ‘พ.ร.บ.ส่งเสริมพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม’ กำหนดบนหมวด 1 การส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยยังไม่มีการหารือ กระทรวง พม.

15 ธันวาคม 2564 เครือข่ายภาคประชาชนฯ 19 องค์กร ยื่นหนังสือถึงสภาผู้แทนราษฎร ขอไม่รับหลักการร่าง ‘พ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร’ ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ณ รัฐสภา

21 ธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรี รายงานผลการประชุมกลไก UPR ภายใต้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีความเห็นปรับกฎหมายและนโยบายให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

27 ธันวาคม 2564 

4 มกราคม 2565 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่าง ‘พ.ร.บ. การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร’ ตามเสนอ คณะกรรมการกฤษฎีกา และให้กระทรวง พม. รับฟังความคิดเห็น วิเคราะห์ผลกระทบ ตาม ม.77 

7 มกราคม 2565 เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน ภาคประชาชนจำนวน  1,867 องค์กร แถลงการณ์บนเฟซบุ๊ก คัดค้านร่าง ‘พ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร’ โดยมีเจตนาควบคุม กำชับ และให้อำนาจรัฐคุกคามการรวมกลุ่มประชาชน

12 มกราคม 2565 ศูนย์รวม​ประชาชน​ปกป้อง​สถาบัน​ ร่วมลงรายชื่อ​กา​รสนับสนุน​ให้​มี​กฎหมาย​ควบคุม​ NGO ออนไลน์

18 มกราคม – 25 มีนาคม 2565 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เปิดรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร บนระบบออนไลน์ 

31 มกราคม ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน ร่วมลงชื่อสนับสนุนออนไลน์ ให้ออกกฎหมายควบคุม และมีบทลงโทษ NGOs ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประเทศไทย

7 กุมภาพันธ์ 2565 องค์การสหประชาชาติในประเทศไทย ประชุมร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมในประเด็นเรื่อง ร่าง พ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร รูปแบบออนไลน์ 

10 กุมภาพันธ์ 2565 สภาองค์กรชุมชน และสภาประชาชนภาคใต้ จัดเวทีวาระประชาชน กฎหมายควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชน ร่าง พ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรฯ เพื่อรับฟังข้อเท็จจริง รูปแบบการควบคุมประชาชน และร่วมประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน บน สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการภาคใต้ Thai PBS

17 กุมภาพันธ์ 2565 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พอช. ร่วมจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร (รอบแรก)

21 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 กระทรวง พม. เปิดการประชุมออนไลน์แพลตฟอร์ม Zoom รับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร ทั่วประเทศไทย 

23 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ร่วมกับกลุ่มพสกนิกรปกป้องสถาบันฯ ยื่นหนังสือ 2 ฉบับ ที่รัฐสภาเกียกกาย เร่งออกกฎหมาย พ.ร.บ. การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร และ ตรวจสอบองค์กร NGO  

2 มีนาคม 2565 EU เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย 23 ประเทศ เข้าพบกมธ.กฏหมาย หารือข้อกังวลรัฐบาลไทย ออกกฎหมายอาจจะกระทบกับกิจกรรมขององค์กรภาคประชาสังคม

3 มีนาคม 2565 กลุ่มพสกนิกรปกป้องสถาบันฯ แถลงการณ์บนเพจเฟซบุ๊ก ชี้ EU ไม่สมควรแทรกแซงกิจการภายในของราชอาณาจักรไทย 

หมายเหตุ : ร่างกฎหมายฯ มีการเปลี่ยนชื่อจาก ‘การดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน’ เปลี่ยนเป็น ‘การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร’

โดยในขณะนี้ มีการเรียกอีกชื่อให้สั้นและง่ายมาขึ้น ‘ พรบ. ควบคุมการรวมกลุ่ม ‘ จากความไม่ชัดเจนในเนื้อหา ที่อาจจะนำไปสู่การควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชนต่อไป

โดย จรัสรวี ไชยธรรม

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติการประชาชน เพื่อรักษาสิทธิการรวมกลุ่มที่ทุกคนใฝ่ฝัน 4 กิจกรรมดังนี้

(1) Email Bomb ! : ระดมพลระเบิดอารมณ์ โดยร่วมกันส่งอีเมล เขียนข้อความแสดงความรู้สึก และความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ไปที่ npo.draff@gmail.com ร่างตั้งแต่วันนี้ แล้วกดส่งอย่างพร้อมเพรียงกันในวันที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 12.00 น.

(2) Mention Bomb ! : ในการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปในครั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าภาพหลักได้จัดทำแฟนเพจขึ้นมาเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสาร เราจึงอยากชวนปฏิบัติการช่วยกันใส่ @(mention) ในทุก Status บนเฟซบุ๊กส่วนตัว หรือแฟนเพจขององค์กร ว่าท่าน/องค์กรของท่านไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.นี้ โดยใส่ Mention ไปที่ @รับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร

(3) Sign for Change : มาร่วมกันลงชื่อว่าคุณไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.นี้ ผ่านเว็บไซต์ Change.org (คลิกที่ลิ้งค์) >>> https://bit.ly/3sxZNIX

(4) Hashtag Hijack : ชวนติด 2 แฮชแท็ก (#) ร่วมกัน ในเนื้อหาที่ท่านโพสต์บนออนไลน์ว่า #ไม่เอาพรบควบคุมภาคประชาสังคม และ #หยุดกฎหมายการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร และ #หยุดพรบควบคุมการรวมกลุ่ม


เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish