?️‍? ปีนี้ได้เข้าร่วมขบวน Pride ไหม? บรรยากาศเป็นยังไง?

ปีนี้บรรยากาศค่อนข้างคึกคัก สเกลงานใหญ่มาก จัดที่ใจกลางเมือง แต่โดยรวมก็เป็นไปได้ด้วยดี อนาคตมีจัดมีความตั้งใจที่อยากจะจัด World Pride ภายในปี 2028 ถ้าศักยภาพประเทศไทยมีพร้อม ถ้าทุกอย่างโอเค ผ่านกระบวนการต่างๆ ได้ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ 

ถ้ามีโอกาสไปถึงตรงนั้น สิ่งที่จะดีขึ้น คาดว่า ความคิดคนในสังคมจะเปลี่ยนแปลงเพราะมีคนบางส่วนที่ยังไม่เข้าใจ และวิพากษ์วิจารณ์ว่าเรียกร้องแต่สิทธิของตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวาย ถ้าผลักดันไปสู่ระดับโลกได้รับการยอมรับ คนทั่วไปจะเข้าใจว่านี่ไม่ใช่งานสนุกสนาน ไม่ใช่งานเฉพาะกลุ่ม อาจเป็นประเด็นร่วมของสังคมได้ ในขณะที่ถ้าช่วงนั้นอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา แล้วเรามีการผลักดันเรื่อง สมรสเท่าเทียม หรือ อัตลักษณ์ ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งแรง ที่เพิ่มน้ำหนักให้กฎหมายสามารถผ่านออกมาใช้ได้  (ทัศนคติ และ การผลักดันกฎหมาย)

?️‍? ในขบวนมีประเด็นอื่นๆ อะไรบ้าง นอกจากสมรสเท่าเทียม

My Body My Choice คำนำหน้านามเลือกได้เอง เลือกวิถีทางเพศได้เอง’ 

องค์กรและเครือข่ายทำ พรบ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศภาพ พูดถึงเรื่องคำนำหน้านาม สวัสดิการ การแปลงเพศ คืออยากให้มีการเลือกได้ด้วยตัวเอง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนปรับปรุงร่าง กำลังเตรียมรับฟังความเห็น และยื่นเข้าสู่สภา ภายในปีนี้หรือปีหน้า 

อีกเรื่อง อันนี้มองในมุมยกเลิกมากกว่า คือ พรบ.ปราบปรามการค้าประเวณี ในช่วงรับฟังความคิดเห็นค่อนข้างเงียบมาก ตีความการค้าประเวณีแค่เฉพาะ Sex worker ที่เป็นผู้หญิง แต่ความจริงยังมี เด็ก มีทางออนไลน์ หรือ lgbtq+ อีก เลยเป็นประเด็นรองในขบวนที่ถูกพูดถึงเหมือนกัน 

?️‍? เพราะอะไร ‘สมรสเท่าเทียม’ ถึงถูกพูดถึงเยอะ?

มีแคมเปญ มีการพูดถึงเยอะเวลาทำกิจกรรม แล้วก็มีเคสที่มีการร้องเรียนจริงๆ ที่ถูกปฏิเสธการจดทะเบียนจากอำเภอจริง แล้วมีการทำสื่อ ประเด็นนี้เลยทำให้เห็นภาพชัดว่า ทำไมเราถึงจดทะเบียนสมรสได้แค่เฉพาะหญิงกับชาย แล้วก็จริงๆ เรื่องผลักดันสมรสเท่าเทียมก็ทำกันมานาน ตั้งแต่ยังพูดถึงเรื่องคู่ชีวิต ใช้โมเดลเรื่อง Civil Partnership ที่ได้สิทธิแค่บางเรื่องแต่ไม่ครอบคลุมเท่ากับชาย-หญิง ซึ่งจริงๆ มันมีเรื่องสิทธิการรับรองบุตร การกู้ร่วม มันเกี่ยวข้องกับเรื่องทางทรัพสิน เพราะจะมีการแก้ ทั้งประมวลกฎหมายทั้งทางแพ่งและพาณิชย์ มันส่งผลต่อชีวิตในหลายมิติเลย ในขณะที่ พรบ. อื่น จะเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงมากกว่า อย่างเช่น พรบ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพฯ ก็จะพูดถึงเรื่องทางชีววิทยา คำนำหน้านามการเลือกปฏิบัติ, พรบ.ปราบปรามการค้าประเวณี ก็จะพูดถึงกลุ่ม Sex worker  

?️‍? ตอนนี้ พรบ.สมรสเท่าเทียมอยู่ในขั้นตอนไหน?

เพราะสภาล่มบ่อยจนไม่ผ่านในสามวาระ ก็เลยหวังว่าจะรอรัฐบาลใหม่ฝ่ายประชาธิปไตย ให้นำมาพิจารณาอีกครั้ง หลังจากมี ครม. แล้วภายใน 60 วัน ก็จะมีความเป็นไปได้ในการพิจารณาต่อ ไม่ต้องเริ่มใหม่ เพราะเรื่องอยู่ในสภาอยู่แล้ว มีกรรมมาธิการพิจารณาอยู่แล้ว คือรอดูสถานการณ์ทางการเมือง เพราะถ้าไม่มีสภาก็ขับเคลื่อนต่อยังไม่ได้

ส่วนตัวคิดว่าจะเป็นไปในทางที่ดี เท่าที่ดูจากการทำงาน หลายคนเริ่มเห็นด้วยมากขึ้น สังคมมีการเปิดกว้างมากขึ้น ในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาเป็นเรื่องของการจัดการกันเองสำหรับคนที่มีความนับถือ แต่ในเรื่องของกฎหมาย ทั้งในเเง่ของสินทรัพย์ เรื่องทางเพ่ง ทุกคนควรได้รับไม่ควรจำกัดแค่ ชาย-หญิง พอเราเห็นมุมมองที่เปิดกว้างมากขึ้น คนสนใจมากขึ้น บวกกับบ้านเราที่ไม่ได้มีอคติทางเพศรุนแรง ถึงขั้นทำร้ายร่างกาย หรือ ดูถูกเหยียดหยาม เหมือนบางที่ ก็เลยคิดว่าแนวโน้มจะดีขึ้น แต่ในระดับทัศนคติก็ยังคงต้องคุยกันอีกเยอะ 

?️‍? ในต่างประเทศมีโมเดลอะไรที่หน้าสนใจที่ถูกนำมาใช้เเล้วบ้าง?

พรบ.รับรองอัตลักษณ์ฯ ก็มีการปรับเอาโมเดลของที่อื่นมาใช้ เช่น GenderX ในพาสปอร์ต เรื่องคำนำหน้า เรื่องใบแจ้งเกิดที่ระบุเพศสภาพ แต่ในบัตรประชาชน สามารถเลือกเองได้ตามความต้องการ ซึ่งก็มีการถกเถียงกันว่าเปลี่ยนแล้วจะยังไง ใบเกิดเปลี่ยนได้ไหมหรือเปลี่ยนแค่คำนำหน้า ซึ่งจริงๆ ก็ทำได้ เพียงแต่แก้ให้ตรงกับเพศสภาพ แต่ใบเกิดตามกำเนิดจะได้มีข้อมูลไว้ ถ้าต้องไปหาหมออาจจะต้องวินิจฉัยตามเพศสรีระทางชีววิทยา เลยคิดว่าเป็นโมเดลที่ก้าวหน้า 

?️‍? มากกว่าการเดินขบวนใน Pride Month คืออะไร?

มันคือการแสดงตัวตน แสดงพื้นที่ในการมองเห็น ปกติอย่าง Lgbtq+ ในไทยที่ผ่านมาบางครั้ง เวลาจะเข้าไปรนรงค์อะไรซักอย่าง เราต้องไปขอพื้นที่ ไปขอแสดงออก แต่งานนี้คือการจัดงานเพื่อเปิดพื้นที่ให้ตัวเอง ให้คนเข้ามามองเห็น มามีส่วนร่วมกับเรา มันเป็นมากกว่าการเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของพวกเรา หลายคนก็บอกว่ามันควรจะมีในทุกวัน แต่ในเดือนนี้ที่มีขบวนเฉลิมฉลองก็เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์การต่อสู้ 

?️‍? ส่วนตัวคิดยังไงกับ ‘Every Month Is Pride Month’

จริงๆ คิดว่าดีเลย เพราะเราควรจะภาคภูมิในอัตลักษณ์ของตัวเองได้ในทุกๆเดือน ถ้ามองในมุมที่เป็นคนเอเชีย สิ่งนี้มันเริ่มมาจากตะวันตก ในบางอย่างที่เราไม่ได้มีประวัติศาสตร์ร่วม แต่สำหรับเดือนมิถุนายนนี้มันก็เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ให้เราระลึกถึงที่มาของมัน

?️‍? บทบาทของ ‘อุ้ม (อาสาสมัครนักสิทธิ รุ่น 17)’ ในการขับเคลื่อน

ก็เริ่มตั้งแต่ก่อนมาทำงานก็คอยสนับสนุนมาตลอด พอมาทำเป็นทีมงานเบื้องหลังก็ได้ลงพื้นที่เก็บความคิดเห็น เก็บข้อมูล ช่วยประชาสัมพันธ์ ช่วยกระจายข่าว ในขบวนเยาวชน (Youth Pride) เราก็เข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นกระบวนกร รวบรวมความคิดเห็น เอาปัญหาจากกลุ่มเยาวชน ในประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ มาสื่อสารกับสังคมต่อ เยาวชนก็จะมีปัญหาเฉพาะ อย่างเช่น การยอมรับ เรื่องครอบครัว การแสดงออก 

?️‍? Self-Determination 

คือการสามารถกำหนดจิตใจ อัตลักษณ์ของตัวเองได้ มันมีความสำคัญกับทุกประเด็นที่เราขับเคลื่อน คือถ้าเราสามารถเลือกคำนำหน้านามได้ มันก็เหมือนได้เป็นตัวเอง บางคนก็แปลงเพศแล้ว แต่คำนำหน้าในเอกสารยังเป็น นาย เป็นสิ่งที่เห็นอยู่ทุกวัน เหมือนรัฐยังไม่ให้การยอมรับตัวตน

หรือการกำหนดจิตใจตัวเอง ถ้าเลือกได้เอง ถ้ามีการยอมรับเรื่องคำนำหน้า สามารถกำหนดตัวเองได้ด้วย ก็อาจจะทำให้มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น 

สังคมยอมรับก็ส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเราไม่สามารถกำหนดได้เองในทุกอย่าง ทั้งสรีระ หรือคำนำหน้า ก็อาจจะไม่มีความหมายก็ได้สำหรับบางคน เหมือนไม่มีแก่นแกน การยึดว่า ฉันสามารถกำหนดชีวิตตัวเองได้ เป็นสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย ชีวิตจิตใจของฉัน หรือแม้กระทั้ง Sex worker ร่างกายเขาทำไมเขาไม่มีสิทธิในการใช้ร่างกายของเขาถ้าเขาพึงพอใจที่จะทำ

?️‍? ทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องของทุกคน?

คนรอบตัวเรา เราไม่มีทางรู้ว่าอาจจะมีคนที่เป็น Lgbtq+ อยู่ก็ได้ แต่ไม่กล้าเปิดเผย (Coming Out) เพราะยังกลัวสังคมไม่ยอมรับ ด้วยความที่ความลื่นไหลทางเพศมีอยู่ หรือแม้แต่ตัวเราเองในอนาคตเราก็ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปแบบไหน ตามบริบทสังคม ยิ่งสังคมเปิดกว้างมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสได้ค้นหามากขึ้น ทั้งเราและคนรอบข้างเอง มันถึงเป็นเรื่องของทุกคน เพราะวันนึงเราอาจจะต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นที่ให้คำปรึกษากับคนรอบตัวที่เป็น Lgbtq+ หรือตัวเราในอนาคตที่อาจจะได้ค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของเรา ดังนั้นมันเลยเป็นเรื่องของทุกคน

?️‍? ?️‍? ?️‍?

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish