ดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 ตอนนี้กำลัง รับสมัครรุ่นที่ 13

 
เปิดรับสมัครถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561
Click -> ดาวน์โหลดใบสมัคร
กรอกใบสมัครให้ครบถ้วนและส่งกลับมาที่
admin@thaivolunteer.org

เรากำลังเปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนรุ่นที่ 13 ที่กระตือรือร้นและสนใจประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสังคม และอยากเห็นยุติธรรม ความเท่าเทียม สิทธิเสรีภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในสังคม โดยคุณจะเข้าร่วมกระบวนการเรียนในโครงการฯ เต็มเวลา 1 ปี ภายใต้การดูแลของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 เรามีกระบวนการเรียนรู้ที่มีความเป็นมืออาชีพ และใช้วิธีการมีส่วนร่วม เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Learning by  Doing) จะมีค่าเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 8000- 9000 ระยะเวลา 1 ปี

Share

คุณสมบัติของผู้สมัคร

 [divider scroll_text=”SCROLL_TEXT”]

ภารกิจสำคัญของฝ่ายอาสาสมัคร 

คือ ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้กับคนหนุ่มสาวที่มีความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อสังคมได้มีโอกาสเรียนรู้ พัฒนาตนเองทั้งด้านความคิด มุมมอง ทัศนคติทางสังคม พัฒนาความสามารถในการทำงาน ภายใต้โครงการ โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน โดยการปฏิบัติงานกับองค์กรที่ทำงานเชื่อมประสานกับผู้ที่ถูกละเมิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนหนุ่มสาวได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะไปเติบโตอยู่ ณ ที่ใด

ในแต่ละปี มอส. จะดำเนินการคัดเลือก ฝึกอบรมและจัดส่งอาสาสมัครได้เข้าไปทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศ โดยอาสาสมัครได้รับค่าตอบแทนรายเดือนที่เพียงพอแก่การยังชีพ ในระหว่างวาระการเป็นอาสาสมัครนั้น ฝ่ายอาสาสมัครจะมีกระบวนการพัฒนาศักยภาพให้กับอาสาสมัครทั้งงานทางด้าน ความคิด ทางด้านชีวิต ทางด้านจิตใจ โดยใช้กระบวนการนำบทเรียนหรือประสบการณ์ที่ได้จากการลงไปทำงานของอาสาสมัครเอง หรือให้ความรู้เฉพาะทางที่อาสาสมัครจะสามารถนำไปใช้ในการทำงาน ประเด็นที่อาสาสมัครได้เข้าไปทำงาน เช่น ประเด็นคนไร้รัฐ ไร้สถานะ ประเด็นสิ่งแวดล้อม ประเด็นแรงงานทั้งแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย ประเด็นผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ประเด็นผู้หญิง ประเด็นที่ดิน ฯลฯ

โดยในปัจจุบัน มีอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการแล้วทั้งหมด 11 รุ่น จำนวนประมาณ  300 คน อดีตอาสาสมัคร ได้ก่อเกิดการจัดตั้ง เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนขึ้นมาและปัจจุบันได้จดทะเบียนเป็นสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผลของการที่อดีตอาสาสมัครได้รวมตัวกันขึ้นมาเพื่อทำกิจกรรมต่อเนื่อง และเป็นพื้นที่ให้กับอดีตอาสาสมัครและคนที่สนใจในประเด็นสิทธิมนุษยชนได้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยน พูดคุยและทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.เสริมสร้างนักกฎหมายและคนรุ่นใหม่ให้มีความเข้าใจปัญหาสังคม ปัญหาประชาชนผู้เสียเปรียบ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตระหนักในบทบาทที่จะใช้วิชาชีพและความรู้ให้เอื้อต่อการสร้างสรรค์สังคมที่เป็นธรรมและมีอุดมคติในการทำงานเพื่อสังคม
2.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีบุคลากรทางกฎหมายและผู้สนใจ ได้เข้ามาหนุนช่วยการแก้ปัญหาของผู้ด้อยโอกาส องค์กรชุมชน และหนุนช่วยการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชน
3. ส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ที่เอื้อให้นักศึกษาด้านนิติศาสตร์ และสาชาอื่นๆได้เข้าใจปัญหาและมีการฝึกปฏิบัติกับกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
4.ส่งเสริมเวทีการแลกเปลี่ยนของอาสาสมัครทั้งอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้เกิดเครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่จะหนุนช่วยกันทำงานแก้ไขปัญหาของประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิในอนาคต
การเป็นอาสาสมัครคือ การพาตนมาเดินอยู่บานเส้นทางแห่งการพัฒนาตนเองควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น การเป็นอาสาสมัครจึงไม่จำกัดอยู่ที่ช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แท้จริงอาสาสมัครเป็นงานที่เราควรทำไปตลอดชีวิต 
 
พระไพศาล วิสาโล
 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สำนักงาน: มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
เลขที่ 409 ชั้น 2 ซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทร : 02-691-0437-9 / 089-4880463 / 086-9943322
Line id: moonoimimikoko
อัเมลย์ : admin@thaivolunteer.org
 
วีดีโอ:
https://www.youtube.com/watch?v=K1p4mL5Vsoo
https://www.youtube.com/watch?v=lY3qsuodHpU
https://www.youtube.com/watch?v=r-x61rqNi3Q
https://www.youtube.com/watch?v=4kTGyd7e6Bc
https://www.youtube.com/watch?v=PGROUhY0cOA
https://www.youtube.com/watch?v=K1p4mL5Vsoo
https://www.youtube.com/watch?v=_7nr2TkQxwE
https://www.youtube.com/watch?v=hGuRoRI5anM
https://www.youtube.com/watch?v=OLQYbE7FMeU
สัมภาษณ์:
https://www.thaivolunteer.org/journey-of-human-rights-defenders/
http://thaivolunteer.org/eng/personnal/nugsit-project/?preview=true&preview_id=2374&preview_nonce=b2f72123dd
 
ดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 ตอนนี้กำลัง รับสมัครรุ่นที่ 13
เปิดรับสมัครถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561
Click -> ดาวน์โหลดใบสมัคร
กรอกใบสมัครให้ครบถ้วนและส่งกลับมาที่
admin@thaivolunteer.org
 

ข้อมูลเดี่ยวกับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน

“ย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 12 ของการทำโครงการอาสานักสิทธิมนุษยชน ของมอส. ด้วยเป้าประสงค์อยากสร้างนักสิทธิมนุษยชนรุ่นใหม่ไปทำงานในองค์กรต่างๆ ทางสังคม มอส.มีความพยายามสรุปบทเรียน และถอดกระบวนการเรียนรู้ออกมาเป็นโมเดลในการทำงาน และมีความต้องการเผยแพร่และสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ด้วยเห็นความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนไร้พรมแดนในปัจจุบัน

นี่เป็นงานเขียนชิ้นหนึ่งที่มอส.พยายามรวบรวมองค์ความรู้ในการทำงาน ด้วยหวังมันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจอยากอ่านอยากศึกษาและนำบทเรียนดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย ด้วยการแบ่งข้อเขียนขนาดยาวนี้ออกเป็น 5 ตอนเพื่อความสะดวกในการอ่าน และเพื่อประสิทธิผลในการรับบทเรียนโปรดติดตามอ่านจนจบ” 🙂

โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน  มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

  1. ความเป็นมา แนวคิด เป้าหมาย ลักษณะของโครงการ
  2. การสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคี
  3. กระบวนการคัดเลือกอาสาสมัคร
  4. กระบวนการฝึกอบรม –สัมมนา
  5. กระบวนการติดตาม
  6. บทสรุปและการก้าวต่อไป

บทที่  ๑ ความเป็นมา แนวคิด เป้าหมาย ลักษณะของโครงการ

ความเป็นมา  

 โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ก่อตั้งในปี 2549 โดยมีที่มาจากการประชุม ร่วมกันของนักสิทธิมนุษยชนที่ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิ นักพัฒนา นักสิทธิมนุษยชน อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอนแก่น เชียงใหม่ และมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมซึ่งมีบทบาทในการสร้างอาสาสมัครเต็มเวลาให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ประชุมได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์หลักๆ คือ

  1. ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ การประกาศป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ การอพยพคนออกจากป่า  ปัญหาการค้ามนุษย์  แรงงาน ผู้หญิง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐ นายทุน และชาวบ้านในการใช้พื้นที่สร้างโครงการขนาดใหญ่ หรือทำเหมืองแร่ ฯลฯ    ซึ่งต้องการบุคลากรด้านกฎหมายที่เข้าใจหลักการสิทธิมนุษยชนเข้าไปคลี่คลายปัญหาให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
  2. ปัญหาความความขาดแคลนนักกฎหมายที่มีความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งประมาณว่ามีอยู่ไม่เกิน ๒๕ คน ณ ช่วงเวลานั้น เพื่อเข้าไปช่วยคดีที่ชาวบ้านถูกจับ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และบ่อยครั้ง เช่น การถูกฟ้องว่าเข้าไปอยู่ในเขตอนุรักษ์  หรือเข้าทำกินในที่ดินที่มีเจ้าของ ซึ่งในทางกฎหมายถือว่าผิด แต่ในความเป็นจริง ชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่มานาน ก่อนออกกฎหมาย หรือโดยที่เขาก็ไม่รู้ว่าอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์   รวมทั้งคดีละเมิดสิทธิในประเด็นอื่นๆ
  3. การเรียนการสอนในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ยังขาดคุณภาพในการสร้างนักกฎหมายให้เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง    กระบวนการเรียน การสอน ยังเน้นการเรียนรู้ที่ตัวบทกฎหมาย ขาดการวิเคราะห์จากปัญหาจริง    วิชาสิทธิมนุษยชนยังเป็นวิชาเลือกมากกว่าวิชาบังคับ  อาจารย์ที่สอนได้ยังมีน้อยและเป็นการสอนในห้องมากกว่าการให้นักศึกษาลงไปศึกษาในพื้นที่จริง มีความเห็นร่วมว่านักกฎหมายเป็นวิชาชีพที่สำคัญสามารถตัดสินชีวิตคนได้  ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่นักกฎหมายควรได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจสังคม และปัญหาของผู้ขาดโอกาสอย่างแท้จริง

แนวคิด เป้าหมาย : สร้างนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนในระยะยาว สร้างความเป็นธรรมในสังคม

จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาดังกล่าว   นำไปสู่การริเริ่มและพัฒนาโครงการที่มีเป้าหมายเสริมสร้างบัณฑิตด้านกฎหมายให้เรียนรู้และปฏิบัติงานแก้ปัญหาด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน กับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิ   ขณะเดียวกันก็สามารถสนับสนุนการทำงานขององค์กร ที่ต้องการบุคลากรด้านกฎหมาย  และการเสริมสร้างนี้จะช่วยสร้างนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่จะเข้าไปร่วมขบวนการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิ และ สร้างความเป็นธรรมในสังคมในระยะยาว

 

ดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 ตอนนี้กำลัง รับสมัครรุ่นที่ 13
เปิดรับสมัครถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561
Click -> ดาวน์โหลดใบสมัคร
กรอกใบสมัครให้ครบถ้วนและส่งกลับมาที่
admin@thaivolunteer.org

ลักษณะโครงการฯ กลไกในการขับเคลื่อน

โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจึงถูกออกแบบให้ มีการรับสมัครผู้ที่จบด้านกฎหมายที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจไปปฏิบัติงาน ในองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิฯในประเด็นต่างๆ เป็นระยะเวลา ๑ ปี ในฐานะอาสาสมัครเต็มเวลา   โดยถือว่าการเรียนรู้ในองค์กรเป็น “การเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติงาน” และยังมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ เป็นระยะๆระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อเสริมความรู้ การวิเคราะห์สถานการณ์ การสรุปบทเรียน การเสริมสร้างพลังใจ อุดมการณ์ในการทำงาน และการสร้างเครือข่ายระหว่างอาสาสมัคร อาสาสมัครจะมีค่ายังชีพรายเดือนจนครบ ๑ ปี และมีเงินสมทบให้เมื่อครบวาระ ค่ายังชีพอาสาสมัครจะเป็นแบ่งจ่ายระหว่างองค์กรที่รับอาสาสมัคร และ มอส.โดยปกติ จะอยู่ในอัตรา 80:20 คือองค์กรจ่าย  80%  มอส. 20%   หรือให้องค์กรจ่าย 100% เลยถ้าเป็นไปได้เพื่อให้มีการแบ่งสัดส่วนไปให้บางองค์กรที่มีงบประมาณจำกัด

กลไกขับเคลื่อนงานคือ คณะกรรมการโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วยคณะผู้ก่อตั้งและผู้ที่เชิญมาประมาณ 8-10 คน เพื่อช่วยกำกับทิศทาง ออกแบบหลักสูตร ประเมินผล มอส.เป็นองค์กรเลขา และองค์กรหลักในการพัฒนาโครงการฯหาทุนจากแหล่งต่างๆ และดำเนินงานในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีประสบการณ์เรื่องการเสริมสร้างคนหนุ่มสาวให้ทำงานเพื่อสังคม

กระบวนการทำงานมอส.

ได้ดำเนินการโครงการฯ มาถึงรุ่นที่ 12 (ปี พ.ศ. 2561) โดยในรุ่นที่ 8-12 มอส.เปิดโอกาสให้คนที่ไม่จบกฎหมายเข้ามาร่วมกับกระบวนการด้วยจึงได้ปรับชื่อเป็น “โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน” ในแต่ละปี จะมีกระบวนการทำงาน ดังนี้

  1. การประสานงานกับองค์กรภาคี ในการเป็นพื้นที่เรียนรู้และปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
  2. กระบวนการคัดเลือกอาสาสมัคร โดยมีการประชาสัมพันธ์ และขั้นตอนการคัดเลือก
  3. กระบวนการฝึกอบรม-สัมมนา จำนวน ๔ ครั้ง เป็นการฝึกอบรม-สัมมนาก่อนเริ่มปฏิบัติงาน  ระหว่างการปฏิบัติงาน ๒ ครั้ง และ ครบวาระการปฏิบัติงาน ๑ ปี
  4. กระบวนการติดตาม องค์กร และอาสาสมัครระหว่างการปฏิบัติงาน โดยกระบวนการในรายละเอียดจะกล่าวในบทต่อไป

ท่านใดอยากร่วมงานกับเราด้วยการเป็นอาสาสมัคร หรือองค์กรใดอยากรับอาสาสมัครเข้าไปร่วมงาน โปรดอ่านบทความนี้ นี่เป็นงานเขียนชิ้นหนึ่ง (ตอนที่ 2 มีทั้งหมด 5 ตอน) ที่มอส.พยายามรวบรวมองค์ความรู้ในการทำงาน ด้วยหวังมันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจอยากอ่านอยากศึกษาและนำบทเรียนดังกล่าว ไปใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย ด้วยการแบ่งข้อเขียนขนาดยาวนี้ออกเป็น 5 ตอนเพื่อความสะดวกในการอ่าน และเพื่อประสิทธิผลในการรับบทเรียนโปรดติดตามอ่านจนจบ”

โดย กรรณิกา ควรขจร มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)

ดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 ตอนนี้กำลัง รับสมัครรุ่นที่ 13
เปิดรับสมัครถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561
Click -> ดาวน์โหลดใบสมัคร
กรอกใบสมัครให้ครบถ้วนและส่งกลับมาที่
admin@thaivolunteer.org
 

บทที่ ๒ การสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคี  

องค์กรภาคีหลัก หมายถึง  องค์กรที่รับอาสาสมัครเข้าไปปฏิบัติงาน ๑ ปี   องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง หมายถึงองค์กรอื่นๆที่เข้ามาสนับสนุนการเรียนรู้ การทำงานของอาสาสมัคร ได้แก่ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน หรือ งานพัฒนาสังคม ทั้งภาครัฐ เอกชน   สถาบันการศึกษา เป็นต้น

การสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคีหลัก คือการประสานสร้างความเข้าใจในเป้าหมายของโครงการ และสร้างความร่วมมือกับองค์กรที่ต้องการรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงานในองค์กรจนครบวาระ ๑ ปี   ได้แก่การเข้ามาร่วมในการคัดเลือกอาสาสมัคร   การมอบหมายและจัดการเรียนรู้ให้อาสาสมัครเมื่ออยู่ในองค์กร  ตลอดจนร่วมปรึกษาหารือ ร่วมกันจัดการเรียนรู้ ประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร  กับเจ้าหน้าที่ของ มอส.

คุณสมบัติขององค์กรที่รับอาสาสมัคร

๑.  เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีเป้าหมายร่วมในการทำงานเพื่อสร้างความเป็นธรรมและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

๒.  มีความพร้อมที่จะให้อาสาสมัครทำงานครบ ๑ ปี เช่น มีแผนงาน และงบประมาณเพียงพอ

๓.  มีพี่เลี้ยงในการมอบหมายงานและติดตามการทำงานของอาสาสมัคร

๔.  มีงบประมาณสมทบในการแบ่งจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนให้อาสาสมัครประมาณ ๘๐ ถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ของค่าตอบแทน   หลักเกณฑ์นี้มีความยืดหยุ่นตามความจำเป็นของงาน และความพร้อม ขององค์กร

[divider scroll_text=”SCROLL_TEXT”]

การพิจารณาองค์กรที่จะรับอาสาสมัคร

๑.  วิเคราะห์ภาพรวมความต้องการอาสาสมัคร และความพร้อมของ มอส.

ในแต่ละปี มอส.จะวิเคราะห์ว่าในปีนั้นมีประเด็นสิทธิอะไรบ้างที่มีความมีความเร่งด่วนในการแก้ปัญหา และต้องการกำลังคน รวมถึงการวิเคราะห์องค์กรที่เคยรับอาสาสมัครว่ามีความเหมาะสมในการเป็นพื้นที่การเรียนรู้หรือไม่  มีองค์กรด้านใดที่ไม่เคยรับอาสาสมัครและควรส่งอาสาสมัครไป เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครในรุ่นนั้นมีความหลากหลายในประเด็นการทำงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ในช่วงวาระของอาสาสมัคร รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับอาสาสมัครด้วย   ประเด็นวิเคราะห์ร่วมอีกเรื่องหนึ่งความพร้อมของ มอส.เองได้ด้านงบประมาณว่าในแต่ละปี มอส.จะรับอาสาสมัครได้กี่คน  สอคล้องกับกำลังทีมเจ้าหน้าที่ หรือไม่ อย่างไร

๒. แจ้งข่าวสาร สร้างความเข้าใจไปยังองค์กร

มอส.จะแจ้งข่าวสารการรับอาสาสมัครไปยังองค์กรต่างๆ โดย การส่งจดหมาย  การเข้าพบพูดคุย  การประสานทางโทรศัพท์   และสร้างความเข้าใจในเป้าหมายของโครงการฯและบทบาทขององค์กรในการรับอาสาสมัคร  โดยมีทั้งเอกสารแนะนำ และแบบฟอร์มให้ตอบกลับถ้าประสงค์จะรับอาสาสมัคร

๓. องค์กรตอบคำถามในแบบฟอร์ม

เนื้อหาแบบฟอร์มนั้นเกี่ยวกับการแนะนำองค์กร และโครงการที่ต้องการอาสาสมัคร  วัตถุประสงค์  งานที่จะให้อาสาสมัครทำ  พื้นที่การทำงาน  คุณสมบัติอาสาสมัครที่ต้องการ ระบบการดูแล และความสามารถในร่วมจ่ายค่ายังชีพให้อาสาสมัคร  ข้อมูลเหล่านี้ มอส.จะนำมาทำสรุปสาระสำคัญชี้แจงให้กับผู้สมัครด้วย  องค์กรจะต้องส่งแบบฟอร์มตอบกลับภายในระยะเวลาที่กำหนด

๔. การพิจารณาเลือกองค์กรที่จะรับอาสาสมัคร

  มอส.จะร่วมกันพิจารณาองค์กรที่ต้องการอาสาสมัครทั้งหมดว่าตรงตามคุณสมบัติหรือไม่ โดยเฉพาะองค์กรที่ไม่เคยรับอาสาสมัคร   มีความหลากหลายในประเด็นที่วิเคราะห์ไว้เบื้องต้นหรือไม่ สามารถร่วมจ่ายค่าตอบแทนอย่างไร   ซึ่งหลังจากนี้ อาจจะมีการไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่ไม่ชัด หรือต้องตามไปชี้แจงเป้าหมาย ลักษณะของโครงการกับบางองค์กร หรือการไปเจรจาต่อรองในเรื่องการแบ่งจ่ายค่าตอบแทน หรือต้องไปหาองค์กรเพิ่มเติมเมื่อพบว่าองค์กรที่ขอรับยังน้อยไป ฯลฯ  ในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลานาน และทีมต้องมีประชุมกันเป็นระยะๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ลงตัวว่าองค์กรต่างๆที่ขอรับอาสาสมัครมาจะเหมาะสมกับการรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงานหรือไม่

๕.  การแจ้งผลการพิจารณาไปยังองค์กรต่างๆ  

มอส.จะแจ้งผลไปยังองค์กร และแจ้งกำหนดการต่างๆ ได้แก่การมาชี้แจงโครงการให้กับผู้สมัคร การสัมภาษณ์ อาสาสมัคร การประชุมร่วมขององค์กรที่รับอาสาสมัครเพื่อสร้างความเข้าใจ ในกระบวนการเรียนรู้ของ มอส.  ข้อตกลง และความร่วมมือในการพัฒนาอาสาสมัคร

นอกจากนี้  มอส. จะพิจารณารับ อาสาสมัครสมทบ” จากองค์กรด้านสิทธิที่ต้องการส่งเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่เป็นคนวัยตามเกณฑ์ของอาสาสมัคร เข้ามาร่วมกระบวนการเรียนรู้ ๑ ปีกับอาสาสมัครด้วย รุ่นละไม่เกิน ๕ คน ผู้ที่องค์กรส่งมาต้องมีความตั้งใจ สนใจเรียนรู้ และเขียนใบสมัคร ส่งมาให้ มอส.ด้วย

 
ดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 ตอนนี้กำลัง รับสมัครรุ่นที่ 13
เปิดรับสมัครถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561
Click -> ดาวน์โหลดใบสมัคร
กรอกใบสมัครให้ครบถ้วนและส่งกลับมาที่
admin@thaivolunteer.org

บทที่ 3  กระบวนการคัดเลือกอาสาสมัคร

การคัดเลือกผู้ที่สนใจมาเป็นอาสาสมัครนับว่ามีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้ได้ผู้ที่เหมาะสม และมีความพร้อมที่สุด มอส.จึงได้กำหนดคุณสมบัติพื้นฐาน และจัดกระบวนการคัดเล

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish