สำหรับท่านที่ต้องการทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม และต้องการประสบการณ์เข้าไปเรียนรู้ชุมชน กิจกรรมครูอาสาสอนนักเรียนที่ ชุมชนพี่น้องกะเหรี่ยงปาเกอญอ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย สอนเด็กๆระดับ ชั้นเด็กเล็ก – ป.6 และนักเรียน กศน. โดยท่านสามารถกำหนดช่วงเวลาไปสอนได้ ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 วัน /ครั้ง เน้นการสอนภาษาไทย และอังกฤษ เพื่อให้เด็กเขียนอ่านได้คล่อง รวมถึงวิชาอื่นๆ ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา และวิชาพื้นฐานทั่วไป ทางโรงเรียนมีตำราให้ แต่ท่านอาจนำหนังสือนิทานหรือหนังสือสื่อการสอนสร้างเสริมทักษาไปเพิ่มได้
ที่พัก
ไม่มีค่าใช้จ่าย พักกับชาวบ้านในชุมชน
อาหาร
สบทบช่วยค่าอาหารในครอบครัวที่ไปพัก 75 บาท/วัน (3 มื้อๆละ 25 บาท)
การเดินทาง
ให้ท่านเดินทางไปเอง และประสานมูลนิธิฯเพื่อเข้าชุมชน
-ท่านสามารถเดินทางไปยังอำเภอเวียงป่าเป้า นัดชุมชนมารับที่หน้า โลตัสเอ็กเพรส ในบริเวณตลาดหัวเวียง
-จากกรุงเทพฯ แนะนำเดินทางโดยรถไฟหรือรถทัวร์ เที่ยวที่ไปลงเชียงใหม่ตอนเช้าเพื่อไม่ให้เสียเวลาเข้าหมู่บ้าน แล้วท่านสามารถต่อรถไปเวียงป่าเป้าได้ โดย
1) รถทัวร์ปรับอากาศไป อ.แม่สาย (รถกรีนบัส) ที่สถานีขนส่งอาเขต เชียงหม่ แจ้งพนักงานบนรถโดยสารว่า ลงตลาดหัวเวียง ราคาตั๋วโดยสาร 130 บาท
2) รถสองแถวคันสีเหลืองที่ตลาดช้างเผือก ราคาตั๋วโดยสาร 60 บาท
3) รถเหมาเข้าหมู่บ้าน คนละ 100 บาท (โดยต้องแจ้งทางมูลนิธิฯให้ประสานรถมารับล่วงหน้า)
ประสานกิจกรรม
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
Contact : Thai Volunteer Service (TVS)
409 ซ.โรหิตสุข ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ แขวง/ เขต ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
409 Ratchadapesek, Huay Kwang, Bkk 10320
โทร./ Phone 095-9977724 (เวลางาน)
E-mail volunteerservice@gmail.com
Website www.thaivolunteer.org
————————————-
เกี่ยวกับชุมชนและโรงเรียน
ชุมชนบ้านห้วยหินลาดนอกเป็นชุมชนกะเหรี่ยงปกาเกอะญอที่ตั้งชุมชนมาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี มีภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ การทำมาหากินยังคงพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก เป็นชุมชนห่างไกลและมีข้อจำกัดในการติดต่อกับภายนอก ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ (เพิ่งมีสัญญานระบบทรู เมื่อต้นปี 2560) และการเดินทางเข้าชุมชนเป็นทางดินคดเคี้ยว ลาดชัน ต่อมาเมื่อรัฐบาลมีนโนบายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ที่ทุกคนต้องเข้าเรียนตามกฎหมาย ทำให้คนในชุมชนเริ่มทะยอยส่งลูกหลานของตัวเองไปเรียนที่โรงเรียนบ้านป่าตึง ที่อยู่ห่างจากบ้านห้วยหินลาดนอกไปราว 7 กิโลเมตรโดยการเดินทางไปตามถนนดินที่คดเคี้ยวและขึ้นลงตามความลาดชันของพื้นที่เป็นหลัก ไม่สามารถเดินเท้าไปกลับได้ ผู้ปกครองที่มีมีรถมอเตอร์ไซไม่กี่ครอบครัวที่สามารถไปส่งลูกได้ แต่ต้องเสียเวลารับส่งมาก ครอบครัวที่ไม่มีรถรับส่งหรือไม่มีญาติหรือคนรู้จักให้เด็กอาศัยอยู่ใกล้โรงเรียนจึงตัดสินใจไม่ส่งเข้าเรียน ส่วนเด็กที่พอหาที่พักอาศัยใกล้โรงเรียนได้ครอบครัวจำต้องส่งเด็กแม้อายุยังน้อยและช่วยเหลือยังไม่ได้นักไปอาศัยอยู่กับญาติหรือเพื่อนบ้านนอกชุมชนแม้จะต้องแลกกับการที่เด็กจะขาดความอบอุ่น ความสุขและความเอาใจใส่จากครอบครัวก็ตาม นอกจากนี้ครอบครัวยังต้องมีภาระค่าใช้จ่ายกินอยู่ให้ลูกๆและครอบครัวที่ไปอาศัยรวมทั้งค่าเดินทางไปกลับวันหยุดหรือช่วงปิดเทอม ด้วยเหตุนี้และเพื่อลดค่าใช้จ่ายผู้พ่อแม่บางคนจึงต้องจำใจส่งลูกไปเรียนกับโรงเรียนประจำในย่านเขตเมืองซึ่งเป็นโรงเรียนขององค์กรเพื่อการกุศลเพื่อลดค่าใช้จ่ายได้เรียนฟรี และกินอยู่ฟรี พ่อแม่รับกลับบ้านเฉพาะช่วงปิดเทอม โดยไม่มีโอกาสได้ดูแลหรือเห็นความเป็นอยู่ของลูกๆในช่วงเปิดเรียน จากเหตุการไฟไหม้หอพักโรงเรียนกินอยู่ประจำที่อำเภอวียงป่าเป้า ทำให้เด็กนักเรียนอายุช่วง 6-13 ปีที่อยู่รวมกันและยังช่วยตัวเองได้จำกัดเสียชีวิตจำนวนมาก เป็นตัวอย่างที่ทำให้สังคมเรียนรู้ข้อจำกัดการเข้าถึงการศึกษาของเด็กๆในชุมชนห่างไกล และชุมชนเกิดความตระหนักในความปลอดภัยของเด็กๆที่ต้องอยู่ห่างพ่อแม่
ชุมชนบ้านหินลาดนอกได้เห็นปัญหาและอุปสรรคเพื่อให้เด็กได้เรียนหนังสือ และได้หารือเพื่อร่วมกันหาทางออกมาเป็นระยะ และหาข้อมูลมูลการจัดการศึกษานอกเหนือจากโรงเรียนในระบบได้อย่างไร จนพบว่ากฏหมายเปิดให้ชุมชนจัดการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาทางเลือกในรูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยได้ โดยได้รับการรับรองตามกฏหมาย ผนวกกับมีโครงการนำร่องครูอาสาทางเลือกกมาช่วยจัดรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสมกับบริบทชุมชน ในเดือนพฤษภาคม ปี 2554 ทางชุมชนจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งโรงเรียนทางขึ้นเองในชุมชน พร้อมเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐลงไปสนับสนุน เพื่อให้เด็กไม่ต้องไปเรียนนอกบ้านห่างไกลครอบครัว โดยระหว่างรอความช่วยเหลือจากทางราชการ ชุมชุนได้สร้างศาลาชั่วคราว จัดหาครูอาสา และให้คนในชุมชนที่พอมีความรู้อ่านออกเขียนได้ สอนเด็กๆ ส่วนอาหารกลางวันให้เด็กห่อข้าวเปล่ามา แล้วโรงเรียนช่วยทำกับข้าวให้ โดยชุมชนช่วยลงขันขันเพื่อเป็นค่ากับข้าวและค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ ในโรงเรียนด้วย
เดือนกันยายน ๒๕๕๔ ภายหลังหารือกับทางราชการได้ข้อสรุปว่าสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งรับผิดชอบโดยตรงยังไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนให้ได้ จึงเสนอให้อีกหน่วยงานหนึ่งภายใต้กระทรวงศึกษาธิการคือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงป่าเป้า (กศน.) เป็นหน่วยงานลงไปสนับสนุน ดูแลแทน จึงได้ความร่วมมือส่วนหนึ่งจาก กศน.อำเภอเวียงป่าเป้าช่วยส่งครู กศน. มาสอนอาทิตย์ละวัน และใช้ชื่อทางการว่า “ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงบ้านห้วยหินลาดนอก” ทำให้ชาวบ้านตัดสินใจจัดการศึกษาร่วมกับทาง กศน. มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนวันเรียนอื่นๆอีกสี่วันต่อสัปดาห์ทางชุมชนยังคงต้องดิ้นร้นหาครูอาสาและชาวชุมชนมาช่วยสอน แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนไม่เต็มที่จากส่วนราชการก็ตามทางชุมชนยังมีความสุขในการให้ลูกเรียนใกล้บ้านและได้อยู่ใกล้ชิดครอบครัว ในส่วนอาคารเรียนก็ใช้วัสดุชั่วคราวช่วยกันสร้าง ให้พอเป็นที่เรียนได้ไปพลางๆก่อน เพราะชุมชนไม่มีงบประมาณสร้างอาคารเรียนที่ถาวรได้ รวมถึงพื้นที่ใช้สอยอื่น เช่น โรงอาหาร ลานกิจกรรม ห้องทำงานครู หรือพื้นที่เอนกประสงค์อื่น ก็ยังคงเป็นสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว ส่วนค่าตอบแทนครูอาสาที่ต้องสอนประจำ ทางชุมชนลงขันค่าใช้จ่ายและขายผลิตภัณฑ์จากชุมชน เช่น น้ำผึ้งป่า ซึ่งชุมชนกำลังอยู่ระหว่างทดลองทำวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบ Social Enterprise เพื่อหาทางพึ่งพาตนเองในการดูแลโรงเรียนในระยาว
ปัจจุบันโรงเรียนมีครูอาสาชาวชุมชนคนเดียวที่เป็นครูสอนเต็มเวลา โดยสอนเด็กทุกระดับชั้น