เรื่องโดย : จี้ วิฬารัก
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 Thai Volunteer Service (TVS) ร่วมกับ Singhadang Feminist Club ได้จัดเวทีเสวนา Islamic Feminism : ใครว่าเป็นมุสลิมแล้วเป็นเฟมินิสต์ไม่ได้ ที่ห้อง ร.403 ตึกคณะรัฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต บรรยายโดย ผศ.ดร.อัมพร หมาดเด็น และ อาจารย์ชาลินี สนพลาย เป็นผู้ดำเนินรายการ ตั้งแต่เวลา 16.30 น. – 18.30 น.
ว่าด้วยเรื่องอัตลักษณ์ซ้อนทับที่เหมือนจะเป็นไปไม่ได้ ระหว่างการเป็นมุสลิม และ การเป็นเฟมินิสต์ โดยที่เวทีเสวนาในครั้งนี้ถูกจัดขึ้นมาโดยเน้นให้เห็นถึงความหลากหลายของขบวนการเฟมินิสต์ ในมิติทางด้านศาสนาอิสลาม เป็นการสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ทั้งคนในศาสนาอิสลาม (มุสลิม) และทุกคนที่สนใจทำความเข้าใจทั้งตัวศาสนาอิสลามและขบวนการเฟมินิสต์ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันสตรีสากลในปีนี้ โดยที่จะมุ่งเน้นไปในเรื่องโลกที่เท่าเทียม ปราศจากอคติ การเหมารวม และการเลือกปฏิบัติ โลกที่มีความหลากหลาย เสมอภาค และครอบคลุม โลกที่ให้คุณค่ากับทุกความแตกต่าง #InspireInclusion โดยที่ทุกคนสามารถร่วมกันสร้างพื้นที่เพื่อความเท่าเทียมได้
อ.ดะห์ ชี้ให้เห็นว่าทำไมต้องมีการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า Islamic feminism หรือ การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี หรือ เรียกร้องความเสมอภาคทางเพศ นั่นเป็นเพราะว่าเกิดการตีความทางศาสนาที่ยึดโยงและเชื่อมโยงในระบบนิยมชาย เพื่อเอื้อผลประโยชน์หรือมอบ Authority — สิทธิหรืออำนาจที่มอบให้แก่บุคคลหนึ่ง เพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ “ผู้ให้สิทธิอำนาจ”
เช่น การบอกว่าการลงโทษภรรยาที่ไม่เชื่อฟัง หรือการตีที่ไม่ทำให้โฉมเสียนั้นทำได้ และมีการอ้าง และก็เป็นคำสอนที่ถูกตีความในกระแสหลัก ถ้ากลับไปดูหลักฐานขั้นต้นที่พูดถึงความเสมอภาคเท่าเทียมไม่ได้อธิบายแบบนั้น มันอธิบายว่าคุณจะต้องเสมอภาคเท่าเทียม
นอกจากนี้เรื่อง Islamic feminism เองก็ไม่ได้มีจุดร่วมกับสตรีนิยมกระแสหลัก ในการเคลื่อนไหวของผู้หญิงมุสลิมที่ไปอยู่ในขบวนสตรีนิยมจะเห็นได้ในกลุ่มทฤษฎี Post colonial และ Post constructuralism อย่างเช่น ขบวนนักสตรีนิยมหลังอาณานิคม หรือ Post colonial feminist หรือ นักสตรีนิยมที่อยู่ในกระแสแนวคิดสตรีนิยมหลังโครงสร้างทั้งหมด เพราะว่าหลังโครงสร้างนิยมให้ความสนใจกับเรื่องการรื้อสร้างองค์ความรู้และเข้าไปปรับเปลี่ยนมุมมอง และแทนที่ด้วยนักคิดใหม่ คือวิธีการของกลุ่มหลังโครงสร้างนิยม ถ้าเป็นแนวคิดสตรีนิยมหลังอาณานิคม ก็จะเป็นนักสตรีนิยมที่เป็นผู้หญิงมุสลิมซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณานิคม โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ที่อยู่ภายใต้อาณานิคมอย่างชัดเจน และเป็นการเมือง ไม่ว่าจะเป็นประเทศในภูมิภาค South East Asia เอง อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือสิงคโปร์ ทำให้เกิด social movement หรือขบวนการการเคลื่อนไหวทางสังคมเกิดขึ้นในสังคมมากมาย ไม่ว่าจะเป็น sister in islam, Musuwah, Kupi รวมไปถึง วารียะห์ ที่เป็นการเคลื่อนไหวของ LGBTQ มุสลิม และการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม และการรวมตัวกันของกลุ่ม LGBTQ ที่ยังคงมีข้อถกเถียงขึ้นมาในกลุ่มชุมชนแม้ว่าประเทศหรือกลุ่มชุมชนจะมีความก้าวหน้าในเรื่องของการเปิดรับความแตกต่างมากมายแค่ไหนก็ตาม แต่อย่างไรก็ดียังมีกลุ่มคนที่มองว่าพวกเขาเหล่านั้นยังคงเป็นลูกหลานมุสลิมและไม่ควรกีดกันหรือปิดบัง ไม่ควรนำออกจากพื้นที่มุสลิม
ชวนอ่านหนังสือ 4 เล่ม ที่ อ.ดะห์ พูดถึงในช่วงเสวนา (คลิ๊กลูกศรเพื่ออ่านต่อ)
Speaking in God’s name โดย Khaled Abou El Fadl ตีพิมพ์ในปี 2001
อาจารย์สอนทางด้านเทววิทยา เป็นอาหรับมุสลิม และสอนในอังกฤษ และมีตัวเล็ก ๆ Islamic law, authority, women กฎหมายอิสลาม อำนาจในเชิง authority และ women ซึ่งก็น่าสนใจว่าคำที่เขาใช้และวิธีการที่อธิบาย เป็นอาจารย์ที่สนใจในการเขียนงานหลายเรื่องและเล่มนี้เขียนเรื่องอำนาจกับผู้หญิง การพูดในนามพระเป็นเจ้า และก็มองมิติผู้หญิง gender lens ผ่านหลักกฎหมายอิสลาม อย่าง “ชารีอะห์”
Do muslim women need saving ? โดย Lila Abu-Lughod ตีพิมพ์ในปี 2013
ซึ่งเป็นงานที่เขียนหลังช่วงเหตุการณ์ 911 เป็นเปเปอร์ที่น่าสนใจอีกมุมนึงที่นักสตรีนิยมอย่างไลลา ที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ที่มีพื้นฐานมาจากตะวันออกกลางอย่างปาเลสไตน์ ให้ความสนใจที่จะวิเคราะห์ว่าความซ้อนของอำนาจทางปกครอง และการเข้าถึงอำนาจ ใครจะมาดูแลมันซ้อนอยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของอาณานิคมนั้นเป็นผลพวงของอาณานิคม การจัดการของโครงสร้างระบบโลกและวิธีการดำเนินการภายใต้รัฐสมัยใหม่ที่มุสลิมอาศัยอยู่ นำมาสู่การดูว่ามุสลิมหลาย ๆ ที่ อย่างเช่นในอัฟกานิสถาน หรือ ปากีสถาน ถึงไม่ได้มีสิทธิมีเสียงเหมือนสิทธิของผู้หญิงสากลทั้ง ๆ ที่กระบวนในการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิมนุษยชนมันก็ได้รับการรับโดยรัฐเหล่านั้นแล้ว ทำไมผู้หญิงมุสลิมถึงถูกกดขี่อยู่ ? ไลลาก็เขียนว่าวิธีในการอธิบายว่าทำไมผู้หญิงมุสลิมถูกกดขี่นี้ ไม่สามารถอธิบายได้โดยตรงได้ ต้องกลับไปดูว่า ใครที่เรียกตนเองว่า ผู้ปกครอง หรือ ผู้ปกป้อง แล้วมีผลอย่างไร
Inside the gender Jihad women’s reform in islam โดย Amina Wadud ตีพิมพ์ในปี 2006
JIhad ในกระแสหลักจะแปลว่า สงครามเพื่อพระเจ้า สงครามอันศักดิ์สิทธิ สงครามการต่อสู้เพื่อพระเป็นเจ้า คำนี้มีการใช้คู่กับ Gender ได้อย่างน่าสนใจ ในขณะเดียวกันคำว่าญิฮัดก็ถูกใช้ในมิติของศาสนาในความหมายที่ว่าต่อสู้กับอารมณ์ตัวเอง ต่อสู้กับความที่เราอยากทำแต่เรารู้ว่าสิ่งนี้จะส่งผลไม่ดี เช่น อาจจะอยากแก้บวช ถืออีกระนาบหนึ่งของนักวิชาการ ว่านี่คือญิฮาด การต่อสู้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำหรือนัฟซู ความหมายญิฮัดทำให้อยู่ในหลายมิติมาก นอกเหนือจากมิติที่เป็นกระแสหลักที่เราให้คำอธิบาย ทีนี้ Gender jihad เขามีคำว่า reform ด้วย คือการปฏิรูป ไม่ใช้คำว่า revolution หรือ การปฏิวัติ reform คือการรื้อในสิ่งที่มันไม่ใช่ที่ใช่ทาง ทำให้มันเข้าที่เข้าทางหรือควรจะเป็นเพื่อผลประโยชน์ใด ๆ ต่อวงสาธารณะหรือผู้คน Gender jihad อะมีนาบอกว่าการทำให้สถานะความสัมพันธ์ทางเพศ มันเป็นเรื่องของความเสมอภาค Justice ความยุติธรรม เขาใช้คำว่า Justice เยอะมาก จริง ๆมีอีกหลายเล่มที่เราไม่ได้พูดถึง ทั้งที่มีคนเขียนเป็นผู้ชาย ผู้หญิงและ trans ด้วย อะมีนะก็ raise ประเด็นนี้ขึ้นมาเช่นกันว่า การละหมาดมันไม่ได้ดูที่เรื่องของเพศเป็นปัญหา การปะปนระหว่างเพศเป็นปัญหา แต่มันคือการตรงต่อพระเป็นเจ้าและในขณะเดียวกันกระบวนการในการละหมาดคือกระบวนการในการขัดเกลาตนเองไม่ใช่ขัดเกลาคนอื่น นอกจากนี้ gender jihad ก็พูดถึงการมีสถานะภาพของผู้หญิงในชุมชนมุสลิมอีกด้วย
Men in charge ? โดย Ziba Mir-Hosseini, Mulki Al-Sharmani, Jana Rumminger ตีพิมพ์ในปี 2015
เป็นงานเขียนที่มีการพูดถึงอายะห์หรือโองการในพระคำภีร์กุรอาน โดยเฉพาะในโองการที่ว่าด้วยบรรดาชายผู้รับผิดชอบหรือคนที่ถูกมองว่าเป็นผู้ปกปักรักษาคุ้มครองและ men in charge ที่ถูกกล่าวอ้างในโองการที่ 43 เป็นวรรคที่มีการกล่าวว่า ผู้ชายเป็นผู้คุ้มครองปกป้อง พิทักษ์ให้กับผู้หญิง เป็น guidance ให้กับผู้หญิง และวรรคนี้เป็นการถ่ายความคิดและตั้งเป็นชื่อหนังสือ และนักเขียนหลายคนเริ่มจากการอภิปรายในวรรคนี้ แล้วหลังจากนั้นก็นำเสนอในหลาย ๆ ที่ รวมทั้งมหาวิทยาลัยในตะวันตก SEA บรรดาคนเขียนก็มองว่า Men in charge คือ DNA ของ Patriarchy เพราะฉะนั้นต้องกลับมาดูว่าในบริบทโองการนี้มีนัยยะอะไร หรือในภาษาอาหรับโบราณมันถูกอธิบายอย่างไร หลักการในการถ่ายถอดความรู้ความเข้าใจ เรื่องความเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองนี้ มีความเข้าใจว่าเป็นผู้ชายในแง่ไหน ในความหมายไหน อันนี้ก็จะเป็นหนังสือที่หนักไปในเรื่องของหลักเทววิทยา และเรื่องของการตีความเข้ามาเกี่ยวด้วย
จากการเสวนาในครั้งนี้ได้หยิบยกแนวคิดของศาสนาอิสลามมาพลิกดูในมิติที่หลากหลายมากขึ้นไม่ใช่เพียงแค่กระแสหลักที่ถูกตีความในโครงสร้างโยงใยความเชื่อความหมายในระบบนิยมชายแต่เพียงอย่างเดียว และได้ทำให้เห็นว่า ณ ตอนนี้มุสลิมในรุ่นถัด ๆ ไป ได้มีกระบวนการสร้างและท้าทายอำนาจของระบอบนิยมชายในสังคมมุสลิมที่เป็นอยู่ด้วยการตั้งคำถามและการกลับเข้าไปหาคำตอบในหลักฐานชั้นต้น เพื่อหาคำตอบและวิเคราะห์หลักฐานต่างๆ ซึ่งนำมาสู่ข้อถกเถียงในสังคม
ทั้งนี้การกัดเซาะรากฐานระบบนิยมชายที่มีมาอย่างเนิ่นนานนั้นไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในระยะสั้นหรือการพูดคุยไม่กี่ครั้ง และแน่นอนว่าภาพจำของศาสนานิยมชายจะยังคงอยู่ต่อ เพราะต้องอาศัยระยะเวลาในการสร้างโยงใยความเชื่อความหมายใหม่นี้ขึ้นมา แต่หลังจากเสวนานี้จบลงได้เกิดการพูดคุยถกเถียงในสังคมในวงกว้างทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย กับการมีอยู่ของ ‘Islamic feminism’ และการมีอยู่ของเสวนานี้ผ่านโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ทั้งนี้มีผู้สนใจให้จัดกิจกรรมบรรยายในหัวข้อนี้ต่อไป นั่นก็ทำให้เห็นและเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า เสวนาในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จในขั้นหนึ่ง และเรื่องเพศในศาสนาจะถูกหยิบยกขึ้นมาตีความและวิเคราะห์ขึ้นมาใหม่ได้อย่างไม่หยุดนิ่ง
เวทีเสวนานี้ได้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันสตรีนิยมและความแตกต่าง แต่ก็ยังคงยึดโยงกับสถานการณ์ของผู้คนในปาเลสไตน์ และทุกชีวิตในเขตสงคราม “ขณะที่พวกเราเฉลิมฉลองวันสตรีสากลกันอยู่ กลุ่มผู้หญิงและทุกคนที่อยู่ในพื้นที่เขตสงครามไม่เพียงแต่ไม่มีโอกาสเฉลิมฉลอง แต่คนในพื้นที่แห่งนั้นไม่รู้ด้วยซ้ำว่าวันนี้วันอะไร และจะมีชีวิตต่ออย่างไรในวันรุ่งขึ้น”
#ceasefirenow
Immediate Ceasefire & end to the Occupation of Palestine.