แนะนำตัวให้เรารู้จักหน่อย ว่าชื่ออะไร ทำงานอยู่องค์กรไหน
ปาน : ชื่อปานวาด ชื่อเล่นชื่อปานค่ะ ทำงานเป็นอาสาสมัครให้กับ GAATW (Global Alliance Against Traffic in Women) ทำงานในประเด็นเรื่องแรงงานผู้หญิงค่ะ ที่จริงชื่อไทยชื่อว่ามูลนิธิร่วมมือเพื่อต้านการค้าหญิง ก็จะเป็นเกี่ยวกับเรื่องของการจะยกระดับทุก ๆ อาชีพไม่ใช่แค่ในประเทศไทย มันเกี่ยวกับทุก ๆ ประเทศเลย ให้แรงงานทุก ๆ คนได้รับสิทธิ ยกระดับผู้หญิงทุก ๆ คนให้เป็น Worker ค่ะ

อยากให้ช่วยอธิบายว่าชิ้นงานนี้มีแรงบันดาลใจมาจากอะไร ทำไมถึงใช้รูปแบบนี้ในการสื่อสาร
ปาน : งานที่ทำเนี่ยใช้ชื่อว่า ฆาตกรรมจำลอง คือเราสื่อประเด็นถึงเรื่อง Sex Worker อย่างที่บอกว่าเราทำงานเกี่ยวกับประเด็นแรงงานใช่มั้ย เราได้ทำประเด็นแรงงานทุกอย่างเลยไม่ว่าจะเป็นแรงงานชาวพม่า แรงงานชาวกัมพูชา แล้วเราก็เคยแตะประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของ Sex Worker เหมือนกัน แต่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่ในไทย เราทำเรื่องของ Sex Worker ในต่างแดนด้วย แต่เรารู้สึกว่าประเทศไทยก็ยังมีปัญหาเรื่อง Sex Worker อยู่เหมือนกัน เพราะว่า Sex Worker ยังไม่ถูกยอมรับว่าเป็นอาชีพ เราเลยอยากเรียกร้องให้ Sex Worker หรือที่เราเรียกกันว่าโสเภณี ให้เค้าได้รับสิทธิคุ้มครอง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางด้านกฏหมาย หรือว่าเค้ามีโอกาสที่จะสามารถเรียกร้องความยุติธรรมสำหรับตัวเค้าเมื่อตอนเค้าโดนกดขี่ได้ค่ะ ก็เลยเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เราอยากทำเรื่องนี้ เพื่อที่จะสื่อสารออกไปให้คนที่เค้าผ่านไปผ่านมาได้เห็น ได้ค่อย ๆ คิดทบทวนกับตัวเอง เหมือนบางครั้งพอได้แลกเปลี่ยนความคิดกับคนที่เค้ามีความเห็นตรงกันกับเรา กับคนที่มีความเห็นแตกต่างกับเรา เรารู้สึกว่าอย่างน้อยเราจะนำสิ่งเหล่านั้นไปพัฒนาแล้วก็หาคำตอบมาให้พวกเค้าพร้อม ๆ ไปกับการเรียกร้องในอนาคต ซึ่งเราคิดว่ามันอาจจะส่งเสริมให้แรงขับเคลื่อนของการสนับสนุน Sex Worker ให้ถูกกฏหมายมันเป็นจริงได้ในเร็ววันค่ะ

มี Feedback จากคนที่มาดู ที่เราประทับใจมั้ย
ปาน : ด้วยความที่เรามาจัดงานที่นี่ (GalieOasis) มันค่อนข้างที่จะเป็น Public สำหรับกลุ่มวัยรุ่น เรามองว่าหลาย ๆ คนหรืออาจจะเกือบ 100% เลยมั้ง เค้าค่อนข้างเห็นด้วยแล้วก็สนับสนุนให้อาชีพนี้มันถูกกฏหมาย แต่เราก็เห็นคน ๆ นึงนะที่เค้าไม่ได้เห็นด้วยแล้วเค้าก็ไม่ได้เข้ามามีการถามข้อมูลอะไรเพิ่มเติมกับเรา ด้วยความที่เค้ามากับลูก เค้าก็ไม่ได้ปล่อยให้ลูกได้สนุกไปกับทุกงาน รวมถึงงานของเราด้วย แล้วมีจังหวะที่ลูกเค้าอยากจะสะกดคำในโปสเตอร์ซักอย่างของเรามั้ง แล้วเค้าก็พาลูกเดินลงไป มันทำให้เราเห็นภาพว่า อ๋อ…การที่มันถูกปิดกั้น มันไม่ได้ถูกปิดกั้นแค่ความรู้สึก ทั้งความรู้สึกเวลาที่เราถูกตีกรอบไว้ว่าอันนี้มันผิดนะ มันถูกปิดกั้นทั้งการกระทำของผู้ใหญ่เองด้วย แล้วมันส่งผลให้เราคิดได้ว่า อาชีพนี้ที่มันถูกปิดกั้นมันไม่ใช่แค่สังคมกว้าง ๆ มันน่าจะเป็นสังคมรอบข้างเรา สังคมบ้านเรา พ่อแม่พี่น้องที่เค้าตีความหมายว่ามันไม่ใช่อาชีพที่ดี มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจดจำ เพราะฉะนั้นเอาลูกชั้นกลับบ้านดีกว่า เราเลยรู้สึกว่า หรือเราอาจจะต้องหาวิธีสื่อสารกับครอบครัว ลึกลงไปในโครงสร้างของคนใกล้ชิด มันน่าจะเป็นวิธีสื่อสารที่ดีกว่าสื่อสารกับสังคมวงกว้างได้ยิน มันอาจจะไม่ได้ดีกว่าหรอก แต่เรารู้สึกว่าพอเราทำงานเชิงลึกมันอาจจะเป็นไปได้ดีมากกว่า

งานชิ้นนี้มันจะไปทำงานกับคนที่มาดูหรือสังคมวงกว้างต่อยังไงได้บ้าง
ปาน : เราตั้งใจไว้อยู่แล้วว่าให้เค้าตั้งคำถามเมื่อเค้าเข้ามาในบู๊ธเรา เพราะว่าคำที่เราใช้ในโปสเตอร์มันค่อนข้างที่จะเสียดสีประเด็นสังคมเยอะมาก ถ้าใครที่มองว่าประเด็นเรื่องศาสนาเป็นประเด็นที่สำคัญในชีวิตเค้ามาก ๆ เราว่ามันค่อนข้างที่จะไปส่งผลต่อความคิดของเค้า เรามองว่าเนี่ยถ้าเกิดจากการตั้งคำถามแล้วว่า ผิดตรงไหน ผิดยังไง มันเป็นเรื่องที่ดีนะ เรารู้สึกว่าการจะเปลี่ยนแปลงมันขึ้นอยู่กับการตั้งคำถามว่า ทำไมถึงต้องเปลี่ยนแปลง เราเลยรู้สึกว่า ต่อไปในอนาคต เมื่อทุกคนเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้แล้ว การหาคำตอบมันจะเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สังคมมันขับเคลื่อนไปค่ะ


รับชมบรรยากาศงาน แสง – สร้าง – สิทธิ (Light of Rights) เพิ่มเติมได้ที่นี่ !

ติดตามพวกเราได้ที่ อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน | Thai Volunteer Service (TVS)

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish