‘ส้วม’ ประเทศโลกที่สาม ในมิติ ‘กลุ่มเคลื่อนไหว’ : สารคดี ‘MR. TOILET’ 

CLICK รับฟัง เลิกงานแล้ว..มาคุยหนังกัน : สารคดี ‘MR. TOILET’ ตลกร้ายเรื่องขาดแคลนส้วม

สารคดี ‘MR. TOILET’  

MR. TOILET’ สารคดีชีวิตของ เเจ็ค ซิม ชายอายุราว 65 ปี ชาวสิงคโปร์ ผู้มีความมุ่งมั่นสร้างห้องปลดทุกข์สะอาด และปลอดภัย ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ กระทั้งเมื่อปี 2001 เขาก่อตั้งองค์การสุขาโลก  WTO (World Toilet Organization) มอบความรู้ รณรงค์ ส่งเสริมนโยบาย เปรียบเสมือนความหวังของประเทศขาดแคลน

‘มิสเตอร์ทอยเล็ต’ กลายเป็นฉายาชายผู้นี้ ผู้มีความหลังในวัยเยาว์เติบโตในย่านสลัมสิงคโปร์ แทบไม่มีห้องน้ำดีๆใช้ กระทั้งเขาเติบโตจนประสบสำเร็จการทำธุรกิจ แต่ชีวิตกลับตาลปัตรเมื่อเขาตัดสินใจทุ่มชีวิตที่เหลือเพื่อสร้างห้องน้ำสะอาดของคนจนทั้งโลก และนั้นทำให้ประเทศอินเดีย กลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายของ แจ็ค 

คมหนังเล่า วัฒนธรรมขับถ่ายสุดเสี่ยง ‘อินเดีย’ 

การขับถ่ายประเด็นนี้อาจจะกลายเป็นเรื่องขำขันของโลกประเทศสุขาที่ดี แต่นั้นคงไม่ใช่ประเทศอินเดีย กลางความเชื่อคติโบราณ ผู้คนขับถ่ายในที่ลับคือ ‘จัณฑาล’ หรือ วรรณต่ำสุดที่ถูกเหยียดหยาม แต่หากเป็นวรรณะอื่นต้องทำในที่แจ้ง ซึ่งนั้นมาสู่ปัญหาสาธรณสุข โรคภัยและ เหตุขืนใจสตรี

“ผู้หญิงอินเดียนอกจากจะเข้าไม่ถึงเรื่องส้วมที่ถูกสุขลักษณะแล้ว ในอินเดียถ้าใครเคยได้ยินมา ก็คือจะเป็นประเทศที่มีสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กสูงมากนะคะ” สิริพรรณี สุปรัชญา กลุ่มพลังคลับ กล่าว

กลุ่มพลังคลับ แลกเปลี่ยนทัศนะสารคดียังสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำโครงสร้างสังคม ผ่านวัฒนธรรมความเชื่อ การเข้าขับถ่ายกลางแจ้งคนอินเดียทำกันเป็นเรื่องปกติ พัฒนาก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ และน้ำที่ปนเปื้อน หรือแม้กระทั่งนำไปสู่ปัญหาความรุนแรงและการล่วงละเมิดต่อผู้หญิง นั้นนำมาสู่ความลำบากใจสตรีเมื่อถึงเวลาปลดทุกข์ต้องรอให้ผู้ชายทำธุระให้เสร็จก่อน เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย 

“ส้วมควรเป็นพื้นที่ส่วนตัว โดยเฉพาะมิติเรื่องเพศ”  ธนากร อัฐประดิษฐ์ นักวิชาการอิสระ กล่าว

ในสังคมที่ยังไม่มีห้องน้ำมิดชิดอย่างสมัยนี้ คิดว่ามันเป็นพื้นที่ควรจะปิดขนาดไหนหรือต้องเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่ปิดเลยห้ามเลยโดยเฉพาะมิติเรื่องการเรื่องเพศใช่ครับถ้าปัญหาที่อินเดียเราก็จะเห็นว่ามันมีเรื่องนำไปสู่ปัญหาเรื่องเพศ

‘ส้วมดี’ คือความมั่นคง 

ส้วมดี นั้นไม่เป็นแค่ที่ปล่อยทุกข์เพลิดเพลินใจ แต่ทวีปยุโรปสมัยโรมัน พลวัตรเรื่องส้วม เริ่มพัฒนาส้วมสาธารณะเริ่มจากรูปแบบเทคโนโลยี แต่แล้วการแชร์อุปกรณ์เช็ดก้นนั้น ทำให้โรคระบาดมันเกิดขึ้นในในสังคมสมัยนั้น 

“ก่อนจะเข้าน้ำต้องบูชาเทพเจ้าเพื่อให้รอดพ้นพ้นจากความปลอดภัยในการเข้าส้วม” ธนากร เปิดเผย

โรคระบาดจากส้วมนำไปสู่กองทัพอ่อนแอลง ประชากรลดลง มีผลต่อการเมือง ยุคนั้นกลายคือความมั่นคงทางการเมืองอาณาจักร คนยุโรปเลยต้องหาทางแก้ไขเรื่องโรคระบาด สู่การมีส้วมที่ดีพื่อให้รอดพ้นพ้นจากความปลอดภัยในการเข้าส้วม

นักวิชาการอิสระ ยังอธิบายอีกว่า ส้วม เรื่องใกล้ตัวที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยยะสำคัญ และเป็นอีกมุมวิธีการรัฐไทย ถูกนำมาใช้แท็กติกเรื่องมนุษยธรรมพื้นฐานของมนุษย์ในการสกัดกั้นการแสดงออกคิดในมุมของการควบคุมอำนาจส้วมเป็นความมั่นคงถ้าสกัดรถส้วมได้มีผลต่อการชุมนุม

“การต่อสู้ทางประชาธิปไตยของประเทศไทยการชุมนุม หากลดสวมของกรุงเทพมหานครกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบั่นทอนแรงของผู้ชุมนุมไป” ธนากร กล่าว

ประเด็น ‘ตลกร้าย’ แต่ไม่ใช่กับ ‘คนกล้า(บ้า)’

การท้าทายความเชื่อเหล่านั้น ดูเป็นเรื่องไม่ง่ายขนาดนั้น คนที่ครีเอทริเริ่ม หรือบางมุมแฝงความเกรียน กลับกล้าดันประเด็นตลกร้ายนี้เสียเอง หรือว่าสังคมควรมีคนเหล่านี้เยอะๆ เพื่อนำมาสู่การเติมเต็มสังคมในมุมที่ต่างๆ

“มีคนบ้าๆคนหนึ่งชื่อ แจ็ค ซิม” อติเทพ จันทร์เทศ ผู้สื่อข่าวและช่างภาพเคลื่อนไหวประจำ The Isaam Record กล่าว

ช่างภาพสื่อออนไลน์แดนอีสาน เผย คนริเริ่มโปรเจคพยายามขยับประเด็นทางสังคม ต่อสู้เพื่อการที่จะได้มีห้องน้ำของคนในประเทศโลกที่สาม ซึ่งนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว นี้คือจุดเชื่อมโยงสังคมไทยกับหนังสารคดีเรื่องนี้ 

“ช่วง 10 ปีหลัง องค์กรเอ็นจีโอ หรือ องค์กรพัฒนาเอกชนในบ้านเรา เริ่มเริ่มขยับประเด็นเรียกว่าแคมเปญกันมากขึ้น หรือแม้กระทั้งองค์กรลักษณะองค์กรทางการเมือง ขณะที่นโยบายของพรรคการเมืองก็จะเป็นนโยบายเชิงหว่านแจก นั้นอาจจะไม่ได้นำสู่เปลี่ยนแปลงสังคมใดๆได้เลย” อติเทพ กล่าว

บุคคลที่รวมตัวกันทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม เป็นหนึ่งตัวแปรอย่างมีนัยยะสำคัญ เข้ามามีบทบาทในการชี้ เสนอแนะทางออกของปัญหาที่องค์ปรการปกครอง เต็มไปด้วยภาระอันยุ่งเหยิง ด้วยมุมมองใกล้ชิดบุคคลประสบปัญหาตรงในพื้นที่ได้ องค์กรเอ็นจีโอเข้าช่วยเติมเต็มสังคม 

‘ผู้ให้’ มุมความสำเร็จ ‘แจ็ค’ ท้ายเรื่อง

วิธีกลยุทธ์ในการทำงานที่หลากหลาย แจ็ค ใช้ทั้งความตลก ความเป็นทางการในเวทีระดับโลก ขับเคลื่อนเชิงเชิงนโยบาย แคมเปญ มันมีวิธีกลยุทธ์ในการทำงานที่หลากหลาย คำถามนำพาไปเห็นระบบราชการที่สิงคโปร์ อินเดีย สะท้อนเห็นชัดถึงความคล้ายกันของสังคมเอเชีย

การทำงานคือเข้าไปสอนความเชื่อคนมากกว่าห้าพันปีในสังคมอินเดียตามที่สารคดี การเปลี่ยนแปลงมันดูเป็นเรื่องที่ยาก คำถามของคนที่ชื่อแจ๊ค สิ่งที่เขาทำมันไม่ใช่ความหวัง แต่คือไอเดียทีที่มันไม่ตายครับมันเป็นไอเดียที่ผุดขึ้นมาแล้วแต่ว่าไอเดียมันจะขยายไปเรื่อยๆ และนั้นนำมาสู่ คนในออฟฟิศ ที่พยายามเฝ้ารอความสำเร็จ 

“แต่มันทำให้ผมคิดว่าจริงๆแล้วความสำเร็จที่จะทำมันคืออะไรมันไม่ใช่มันสำเร็จไปแล้วเหรอมันแทรกซึมกับผู้คนไปแล้ว” อติเทพ กล่าว

ท้ายบทสรุปสารคดีฉายให้เห็นกลุ่มเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งในประเทศจีน ที่ แจ็ค เคยตั้งคำถามเด็กว่าห้องน้ำมันสำคัญกับเราไหม ในช่วงแรกของหนัง ซึ่งสารคดีตอนจบพาไปหาเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ที่มีห้องน้ำใหม่ ความคิดนักเรียนตอนนี้เป็นอย่างไร นี้คือบทจากการใช้วิธีกลยุทธ์การทำงานที่หลายของแจ็ค ซิม 

.

จัดโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

#มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม #หยุดพรบควบคุมการรวมกลุ่ม #ไม่เอาพรบควบคุมภาคประชาสังคม #NoNpoBill

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish