อาสาเล่าเรื่องครั้งนี้ แอดมินพร้อมที่จะพาทุกคนไปรู้จักกับเรื่องราวของนักธุรกิจยุคใหม่ “พิรัล-พิรัล วีสมหมาย”
อาสาคืนถิ่นรุ่น 4 ที่นำพาความสนุกสนานไปสู่ชุมชน ด้วยธุรกิจ “ร้านบอร์ดเกม” ที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่หลายคนชื่นชอบ

แต่ก่อนที่จะพาย้อนไปถึงเรื่องราวความเป็นมา พิรัลได้มีโอกาสบอกเล่าถึงสถานการณ์ความเป็นอยู่ปัจจุบันของทางร้านว่าได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใดในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้อย่างเข้มข้น

“ร้านผมโดนปิดมาตั้งแต่ต้นพฤษภาคม นี่เดือนสิงหาแล้วก็ยังโดนปิดอยู่แบบไม่มีทีท่าจะได้เปิด ปีที่แล้วก็โดนปิดยาวไปประมาณ 3 เดือน ตอนนี้เบ็ดเสร็จก็น่าจะ 7 เดือนแล้วที่ร้านโดนปิดไป อย่างที่โดนปิดรอบล่าสุดขนมก็ยังมีในสต็อคอยู่รัฐบาลมาบอกกระทันหัน เอาจริงๆ ก็ไม่เคยบอกล่วงหน้าถึง 1 อาทิตย์เลยด้วยซ้ำนะ เค้าไม่เข้าใจธุรกิจแล้วก็ไม่รับฟังผู้ประกอบการทั้งๆ ที่ข้อมูลผ่านโซเชียลอะไรก็มีให้เห็น”

เสียงบอกเล่าจากพิรัลซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดอย่างเต็มเปา และยังไม่รวมถึงบรรดาเพื่อนร่วมงานของพิรัล ทั้งพนักงานให้คำแนะนำเล่นเกม และคนที่ดูแลขนมและเครื่องดื่ม ซึ่งท้ายสุดแล้วต้องแยกย้ายกัน
กลับบ้านไปอย่างน่าเสียดาย

“ตอนนี้ที่ร้านก็ปรับมาเป็นให้เช่าบอร์ดเกมแทน แต่ข้อเสียก็มีอยู่มากด้วยความที่จังหวัดเรามันไม่เหมือนกรุงเทพที่มีคนเล่นบอร์ดเกมกันเยอะ คนที่เล่นเป็นระดับกลางๆ ยังพอเช่าเกมไปสอนเพื่อนเล่นได้ แต่ที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบชวนๆ กันมา แต่คนบอร์ดเกมเป็นยังมีไม่ค่อยเยอะ จะให้เช่าไปสอนเล่นกันเองมันก็ไม่สะดวก”

“ถ้ามองในเรื่องโควิด รัฐบาลก็มีการจัดการอะไรหลายๆ อย่างที่มันไม่ใช่เรื่องปกติ สั่งปิดร้านค้าแต่ไม่มีการเยียวยา ถึงจะเรียกว่าเยียวยาแต่ก็เป็นการยืดลมหายใจคนประกอบธุรกิจเฉยๆ แต่ไม่ได้ช่วยเหลือเค้าจริง แล้วถ้าเราไปหาข้อมูลสถิติคนที่จบชีวิตตัวเองลงแค่ในช่วงครึ่งปีมานี้ มันมากพอๆ กับจำนวนคนของทั้งปีที่แล้วทั้งปีอีก”
พิรัลบอกเล่าด้วยความรู้สึกสลดใจ

แม้ใครหลายๆ คนจะบอกว่าท่ามกลางสถานการณ์ที่แสนวิกฤตนี้ ประชาชนไม่ควรรอคอยเพื่อหวังพึ่งรัฐบาล แต่จะต้องมีการ “ปรับตัว” เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดด้วย พิรัลซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบเองก็ได้แสดงความเห็นต่อคำกล่าวลักษณะนี้อย่างน่าสนใจ

“มันไม่ใช่แค่การปรับตัวนะ เพราะถ้าคุณอยู่ในประเทศที่ดี ที่มีมาตรฐานในการรองรับสถานการณ์ มีสวัสดิการให้ประชาชน เค้าต้องมองออกว่าจะสนับสนุนประชาชนที่มีอาชีพที่หลากหลายได้ยังไง ทั้งนักดนตรี คนทำงานเอนเตอร์เทน คนทำงานโรงแรม สปา จะทำยังไงคนกลุ่มนี้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุข”

“รวมไปถึงเรื่องความหวังด้วย…ต้องบอกเลยว่าคนรุ่นใหม่ไม่มีความหวัง ยิ่งถ้าเรารู้ว่าเรามีวิกฤตแบบนี้ แล้วถ้ายังมีวิกฤตครั้งหน้ารัฐบาลก็ยังเป็นแบบนี้ คงไม่มีใครอยากมาดิ้นรน เพราะมันไม่ตลกแล้วมันก็ไม่สนุกเลย เพื่อนๆ ที่อยู่ในรุ่นเดียวกันใครๆ ก็อยากย้ายประเทศ มันไม่ใช่เทรนด์แต่มันกลายเป็นเป้าหมายและความฝันใหม่ของคนรุ่นใหม่ ทีนี้พอคนที่มีศักยภาพ คนที่จ่ายภาษีให้รัฐบาลเริ่มย้ายออกไปแล้ว สุดท้ายก็คนสูงอายุในประเทศนี่แหละที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”

แม้ว่าท้ายสุดแล้ว ความฝันในการกลับบ้านและทำงานที่บ้านของพิรัลจะถูกสั่นคลอนลงด้วยสถานการณ์รอบข้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เรื่องราวของพิรัลที่มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นอาสาคืนถิ่นที่ยังคงทำต่อเนื่องยาวมายันปัจจุบันก็ยังคงน่าสนใจ และเห็นได้ถึง “ความฝันและความหวัง” ของผู้ประกอบกิจการคนนึง ที่ครั้งหนึ่งอยากสร้างอะไรบางอย่างให้กับสังคมที่เค้าอยู่จากจังหวัดศรีสะเกษ

แอดมินขอชวนเพื่อนๆ อ่านอีกหนึ่งประสบการณ์/ เรื่องราวของพิรัลจากช่วง 1 ปีที่พิรัลได้เข้าร่วมโครงการ
“อาสาคืนถิ่น รุ่น 4” ได้ที่นี่

____________________________________________________

ทางเลือกในการกลับบ้านมีมากกกว่าหนึ่ง
“บอร์ดเกม’ คือเครื่องมือหลักในการคืนถิ่นของพิรัล ฟังดูอาจจะซับซ้อนและเข้าใจยาก และหลายคนคงจะตั้งคำถาม
ว่าบอร์ดเกมเกี่ยวอะไรกับการกลับบ้าน อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจในการกลับบ้านเป็นความรู้สึกจากสิ่งที่อยู่
ภายในตัวตนของแต่ละบุคคล ไม่มีความตั้งใจใดเลยที่จะเหมือนกันไปเสียทุกคน

“เราตั้งคำถามถึงความเจริญตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมปลาย ตอนนั้นเราเริ่มสงสัยว่าเมืองหนึ่งจะเจริญได้ต้องมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง
การหาคำตอบของเราตอนนั้นพบว่า ‘การศึกษา’ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาเมือง”


นี่คือแรงบันดาลใจที่จุดประกายความตั้งใจกลับบ้านของ พิรัล วีสมหมาย อาสาคืนถิ่น รุ่น 4 วัย 25 ปี จากจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดที่ตัวเขาเองนิยามว่าเป็นเมืองที่ความเจริญทางเศรษฐกิจอยู่ในลำดับท้ายตาราง
ในขณะเดียวกันเขากลับรู้สึกรัก หวงแหน และอยากให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับเมืองแห่งนี้ ตั้งคำถามและลงมือทำ เพื่อปูทางไปสู่คำตอบที่ต้องการ

การกลับบ้านของพิรัลค่อนข้างน่าสนใจ ถึงแม้ว่าภาคอีสานจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ แต่เขาไม่ได้กลับมาเพื่อเป็นเกษตรกรตัวอย่าง เขากลับมาด้วยความรู้สึกยิ่งใหญ่ที่ไม่ได้มองเพียงแค่เรื่องการเรียนรู้และการอยู่รอดของตัวเอง
“เราอยากทำอะไรเพื่อสังคม เราอยู่ที่ไหนก็อยากให้สิ่งที่ชอบอยู่ในที่ที่เราอยู่ด้วย” พิรัลพูดเปิดประเด็นเรื่องความตั้งใจกลับบ้านอย่างมีนัยสำคัญ

“คุณปู่คือต้นแบบและเป็นแรงบันดาลใจให้กับเรา ท่านเสียไปแล้ว แต่ความดีและสิ่งที่ท่านสร้างเอาไว้มันยังคงเหลืออยู่เป็นตำนาน และยังถูกพูดถึง เราอยากเป็นแบบนั้น” พิรัลเล่าด้วยน้ำเสียงซาบซึ้ง
เรื่องราวของเขาน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆเพราะการกลับบ้านมาเปิดธุรกิจร้านบอร์ดเกมในจังหวัดเล็กๆ แบบนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประสบความสำเร็จ และเขาเองได้รับแรงสนับสนุนจากคนในครอบครัวเป็นอย่างดี

“ที่บ้านช่วยสนับสนุนสิ่งที่เราอยากทำเต็มที่อยู่แล้ว อย่างทุนเริ่มต้นเขาก็ช่วยเรา แต่การกินอยู่ของเราหลังจากนั้นมาจากการทำร้านบอร์ดเกม”
ถ้าหากทำธุรกิจเหมือนคนทั่วๆ ไป ที่หวังเม็ดเงินและผลกำไรมหาศาลนี่ถือเป็นความท้าทายอย่างมากในวงการธุรกิจ เพราะบอร์ดเกมเป็นศิลปะ การเรียนรู้ที่ยังไม่แพร่หลายนัก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดของบ้านเรา

“ความใฝ่ฝันของเราคือการอยากให้พื้นที่ที่เราอยู่มีการศึกษาที่ดีเราอยากเป็นเหมือนที่ปรึกษาทางธุรกิจของจังหวัด อยากให้คนศรีสะเกษได้กลับมาทำงานที่บ้านมากขึ้น” พิรัลพูดถึงความฝันที่ไม่ใช่เพื่อตัวเขาเอง แต่เพื่อทุกคน

ตัวตนและบอร์ดเกม’ โมเดลแห่งการพัฒนาที่มีชีวิต ยิ่งได้พูดคุยกับพิรัล ก็ยิ่งพบกับความเหลือเชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ฟังแล้วน่าตื่นเต้นไปพร้อมๆ กับรู้สึกยินดีที่บ้านเมืองของเรามีคนแบบนี้อยู่ ความจริงแล้วร้านบอร์ดเกมเป็นเสมือนโมเดลการบริหารจัดการหรือทรัพยากรทางสังคมขนาดย่อม ที่เขาเชื่อเหลือเกินว่ามันจะสามารถต่อยอดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างกับสังคม และถึงแม้ว่าอาจจะไม่มาก แต่คนที่ได้เรียนรู้มากที่สุดก็คือตัวเขาเอง

บอร์ดเกมเป็นศิลปะการแข่งขันที่ไม่ได้ให้แค่ความรู้ แต่ยังให้สมาธิ สร้างการโฟกัส สร้างความคิดที่เป็นระบบแบบแผน
อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของอารมณ์ สามารถยอมรับความล้มเหลวหรือความพ่ายแพ้ตรงหน้าได้
“มีเด็กคนหนึ่งมาเล่นที่ร้านของเรา ครั้งแรกที่เขาเล่นแพ้เขาแสดงอาการหัวเสียอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อมาบ่อยเข้า เราเห็นว่าเด็กคนนี้ใจเย็นลงสามารถยอมรับความล้มเหลวตรงหน้าได้ดีขึ้น” พิรัลยกตัวอย่างเรื่องราวดีๆ ที่ได้จากบอร์ดเกม

“ครั้งแรกที่เห็นโครงการอาสาคืนถิ่นเราสนใจมากเพราะกำลังอินกับการกลับบ้านมาเพื่อทำอะไรบางอย่างให้กับสังคม
โครงการนี้ดูท้าทาย “เราตั้งคำถามทันทีว่าจะทำให้เรากลับบ้านได้อย่างไรในเมื่อคุณไม่ใช่รัฐบาล”
เมื่อถามพิรัลว่าเขารู้สึกอย่างไรกับการทำร้านบอร์ดเกมโดยหวังว่าจะสามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นของตัวเองได้ สิ่งที่เขากำลังทำอยู่เป็นความเสียสละที่ยิ่งใหญ่หรือไม่ ?

พิรัลตอบอย่างไม่ลังเลว่า “เราไม่ได้เสียอะไรออกไปเลย เราทำแบบที่เป็นตัวเองเป็นตัวตนของเรา กลับดีใจและรู้สึกดีที่ได้
ทำอะไรเพื่อคนอื่น เป็นความสุขของเราเอง”
เขาเล่าอย่างภาคภูมิใจในตัวเอง

ก่อนจะทั้งท้ายประเด็นนี้ว่า เขาไม่ได้คาดหวังให้ร้านบอร์ดเกมโด่งดังและได้รับความนิยม
ไม่ว่าอย่างไรอนาคตก็เป็นเรื่องของอนาคต ตราบใดที่ยังมีคนเล่น ร้านนี้ของเขาจะยังคงอยู่ และถ้าหากวันหนึ่งต้องปิดตัวลง แต่บอร์ดเกมที่เขาหลงใหลจะยังคงเป็นเครื่องมือของเขาตลอดไป
“ถ้ายุคของมันสิ้นสุดลง เราก็คงหาวิรีอื่นๆ เพื่อสานฝันใน
สังคม โครงการนี้ดูท้าทายเราตั้งคำถามทันทีว่าจะทำให้
การพัฒนาต่อไป”


อาสาคืนถิ่นให้โอกาส สนับสนุนให้คนกล้าได้ลงมือทำพิรัลแสดงทัศนะต่อความเป็นอยู่ในภาพรวมของ
ประเทศไทย โดยเปรียบเทียบกับทฤษฎีจิตวิทยาลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslows’s
hierarchy of needs) ถึงความเป็นไปได้ยากในการก้าวขึ้นบันไดแต่ละขั้นเพื่อให้ถึงจุดหมายที่สมบูรณ์ของชีวิต
ในเมื่อคนส่วนใหญ่ในบ้านเรายังเติมเต็มในเรื่องที่เป็นพื้นฐานที่สุดยังไม่ได้

ดังนั้นความต้องการแค่ความมั่นคงในชีวิตเพียงอย่างเดียวจึงเป็นเรื่องยาก
ที่จะทำให้บ้านเมืองเราอยู่รอดได้อย่างมีความสุข



“ครั้งแรกที่เห็นโครงการอาสาคืนถิ่นเราสนใจมากเพราะกำลังอินกับการกลับบ้านมาเพื่อทำอะไรบางอย่างให้กับ
สังคม โครงการนี้ดูท้าทายเราตั้งคำถามทันทีว่าจะทำให้เรากลับบ้านได้อย่างไรในเมื่อคุณไม่ใช่รัฐบาล”
พิรัลเล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาสมัครร่วมโครงการอาสาคืนถิ่น

“ไม่น่าเชื่อว่าการที่เราเข้ามาตรงนี้จะทำให้เราได้เรียนรู้และมองเห็นแนวทางไปต่อได้อย่างมากทีเดียว” พิรัลกล่าวทิ้งท้าย ก่อนจะเอ่ยชวนคนรุ่นใหม่ให้กลับบ้านในแบบของเขา

“การกลับบ้านอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อคุณมีความกล้าและมองเห็นทรัพยากรคุณกลับมาได้เลยแล้วไปต่อด้วยกัน”
พิรัล-พิรัล วีสมหมาย
อาสาคืนถิ่น รุ่น 4


เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish