(รับอาสาสมัคร 1 คน)
ที่อยู่องค์กร : 66/4 ซอยลาดพร้าว 16 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
เว็บไซต์ : www.tihr2014.com
Facebook : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
วัตถุประสงค์ และกิจกรรมขององค์กกร
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเป็นการรวมตัวของกลุ่มทนายความ นักกกหมายสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 หลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากในช่วงดังกล่าว คสช. มีการเรียกบุคคลไปรายงานตัว จับกุม คุมขังบุคคลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการใช้ศาลทหารกับพลเรือน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์คือ
1. บันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ภายหลังการรับประหาร
2. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางกฏหมายแก่ผู้ได้รับผลกระทบ
3. เผยแผ่ความรู้ ทั้งในเรื่องกฏหมายและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศ
กิจกรรม/โครงการที่องค์กรดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ดำเนินงานโดยการติดตาม ให้คำแนะนำทางกฏหมาย และคำปรึกษาเบื้องต้น หากได้รับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการจับกุมหรือควบคุมตัว อันเนื่องจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหารและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. หากมีการจับกุมหรือดำเนินคดีบุคคคล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนก็จะเป็นทนายความรับว่าความในการดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นในชั้นตำรวจ อัยการ หรือชั้นศาลโดยไม่คิดมูลค่า
นอกจากนี้ ได้ดำเนินการเก็บบันทึกข้อมูลเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่สืบเนื่องมาจากรัฐประหารคสช. การจัดทำความเห็นทางกฏหมาย แถลงการณ์ คูมือ รายงานสถานการณ์ รวมทั้งข้อเสนอแนะทางนโยบาย เผยแผ่ต่อสาธารณะและหน่วยงานหรือองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ
โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for human Rights) อาสาสมัครนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน ประจำฝ่ายคดีความ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้การติดตามและการให้ความช่วยเหลือทางกฏหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. เพื่อให้มีการเผยแพร่ การวิเคราะห์ข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อมูลคดี ข้อกฏหมาย
3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำข้อมูลคดีของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
กิจกรรม
1. ให้ความช่วยเหลือทางกกหมายแก่ผู้ที่ถูกละมิดสิทธิ เช่น รับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์ ลงพื้นที่ติดตาม สอบข้อเท็จจริงและให้ความชาวยเหลือเบื้องต้น และให้ความช่วยเหลือทางกฏหมายกับบุคคลดังกล่าวทั้งในชั้นตำรวจ อัยการและชั้นพิจารณาคดีในศาล
2. รวบรวมข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อมูลคดี และทางกฏหมาย ที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
3. วิเคราะห์ข้อมูล จำทำรายงาน ความเห็นทางกฏหมาย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
บุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อันมีผลสืบเนื่องมาจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
รายละเอียดงานที่ให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
มีกิจกรรมหลัก 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายคดีและฝ่ายข้อมูล โดยอาสาสมัครจะปฏิบัติในฝ่ายคดี ซึ่งเน้นงานด้านการให้ความช่วยเหลือและดำเนินการทางกฏหมาย โดยปฏิบัติงานตามกรอบยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และภารกิจของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
1. ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางกฏหมาย อาทิเช่น ให้คำปรึกษาทางกฏหมายแก่ผู้ร้องเรียน ศึกษาค้นคว้าหลักทฤษฏีทางกฏหมาย ร่างคำฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง ติดตามทนายความไปสถานีตำรวจหรือไปศาล หรือรับมอบหมายให้ไปดำเนินการแทนเกี่ยวกับการดังกล่าว
2. ติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน ลงพื้นที่สังเกตการณ์และรวบรวมข้อมูล สอบข้อเท็จจริง รวบรวมเอกสารหลักฐาน จัดทำฐานข้อมูลคดี
3. วิเคราะห์ข้อมูล ทำหนังสือร้องเรียน ทำรายงาน ความคิดเห็นทางกฏหมาย
4. ติดต่อประสานงาน ทนายความเครือข่าย องค์กรเอกชน และหน่วยงานของรัฐ
พื้นที่ปฏิบัติงาน
กรุงเทพมหานคร (เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่ต้องไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดเป็นบางครั้ง)
คุณสมบัติอาสาสมัคร
จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ และยึดหลักสิทธิมนุษยชน
องค์กรทั้งหมดที่เปิดรับ อาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่น 15
1. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน /ชัยภูมิ
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
2. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ /หนองบัวลำภู
THE PROJECT FOR PUBLIC POLICY ON MINERAL RESOURCES (PPM)
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
3. กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก /ชลบุรี
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
4. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.) /สุราษฏร์ธานี
Southern Peasants’ Federation of Thailand (SPFT)
(รับอาสาสมัคร 2 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
5. มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) /เชียงราย
(รับอาสาสมัคร 2 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
6. มูลนิธิเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม /เชียงใหม่
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
7. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.) /เชียงใหม่
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
8. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) /นนทบุรี
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
9. Biothai : มูลนิธิชีววิถี /นนทบุรี
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
10. เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ /สมุทรสาคร
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
11. มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน /กรุงเทพฯ
The foundation of transgender alliance for human rights
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
12. สมาคมนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน /กรุงเทพฯ
Human Rights Lawyer Association (HRLA)
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
13. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน/กรุงเทพฯ
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
14. ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม/กรุงเทพฯ
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
15. มูลนิธิเพื่อพนักงานบริการ (Swing Thailand) /กรุงเทพฯ
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
16. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน /กรุงเทพฯ
Thai Lawyers for human Rights
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
17. อไซลัมแอคเซส ประเทศไทย /กรุงเทพฯ
(รับอาสาสมัคร 1 คน) รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
ชวนร่วมบริจาคสมทบทุน เพื่อส่งต่อการแบ่งปัน
สนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสังคม
สามารถบริจาคได้ที่บัญชี “กองทุนมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม โดยมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม” ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 075-2142483
โครงการของ มอส.
- โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน
- โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
- โครงการพลเมืองอาสา
- โครงการแลกเปลี่ยนสหรัฐอเมริกา
- โครงการอาสาสมัครนักวิจัย PAR
- โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมสร้างชุมชนยั่งยืน (อาสาคืนถิ่น)
- โครงการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพองค์กรทำงานด้านเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างพลังพลเมืองเข้มแข็ง (Young Move)
.
ติดตามเรื่องราวของ มอส. คลิ๊ก
Facebook Twitter และ Youtube