บ้านหนองเลาและบ้านธาตุภูซางอยู่ไม่ไกลจากอุทยานแห่งชาติภูซาง ทำให้ทัศนียภาพของชุมชนมีความโดดเด่นสวยงาม ชุมชนมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว โดยมีทีมวิจัยเยาวชนและคนรุ่นใหม่มาร่วมกันออกแบบกิจกรรมทำการท่องเที่ยวของชุมชนขึ้น ทำให้เกิดโครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวให้กับเยาวชนและชุมชนที่ขาดประสบการณ์ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

อ่อน แปลว่า เด็ก
โฮม แปลว่า บ้าน
ละอ่อนโฮม จึงแปลว่า เด็กบ้าน

ทีมวิจัยเยาวชนและคนรุ่นใหม่ร่วมกันสำรวจบริบทของชุมชนในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต เกิดการเรียนรู้สภาพของชุมชนในมิติการท่องเที่ยวเพื่อนำไปเป็นแผนในการพัฒนาร่วมกันระหว่างชุมชนและรัฐ ด้วยกระบวนการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม ทำให้เยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชนมีโอกาสได้สื่อสารแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างกันจากการทำงาน เยาวชนร่วมคิดร่วมตัดสินใจร่วมปฏิบัติการโดยใช้ชุมชนเป็นพื้นที่การเรียนรู้ กาดละอ่อน จึงกลายเป็นพื้นที่แสดงศักยภาพของเด็กตามความถนัดและความสนใจและโควิด 19 ทำให้สังคมตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร จึงเป็นแรงจูงใจให้กลุ่มเยาวชนสนใจกิจกรรมการทำอาหารมากขึ้น ด้วยการหยิบเอาอาหารมาสร้างมูลค่าหรือว่ามาเพิ่มคุณค่าในตัวเด็ก

ที่มีปัจจัยตั้งต้น คือ ทีมวิจัย ศักยภาพ พื้นที่ ศักยภาพชุมชนด้านการท่องเที่ยว นำมาสู่กระบวนการดำเนินการ ได้แก่ การหาเป้าหมาย การออกแบบกิจกรรม การจัดการ การทดลองการท่องเที่ยว และการประเมินผล ซึ่งกระบวนการทั้งหมด นี้เกิดจากการศึกษาข้อมูล การวางแผน การพัฒนาการดำเนินการ เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนโดยมีพื้นฐานจากชุมชน ซึ่งโมเดลนี้สามารถถ่ายทอดรูปแบบการพัฒนาสู่ชุมชนอื่นได้อีกด้วย 

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish