“ทำให้คนอื่นดีขนาดนี้ทำไมเราไม่ทำเพื่อตัวเองแบบนี้บ้าง ”

ประโยคทรงพลังที่ทำให้ นิภารัตน์ อันแสน หรือ นิกกี้หวนกลับบ้านเกิดของเธอ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ซึ่งตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้เธอก็ได้ออกมาทำในสิ่งที่คิดและออก แบบเองอย่าง 100 เปอร์เซ็นต์

กลับบ้าน สร้างตัวตน สร้างคน

” เริ่มจากชวนคนในชุมชนแค่ไม่กี่คนมาช่วยงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ในสวน แต่หลังจากที่มีฐานลูกค้ามากขึ้น
เราก็ได้จ้างคนในชุมชนมากขึ้น รายได้ก็หมุนเวียนอยู่ที่บ้านของเรา”

นิกกี้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดในการอยู่ร่วมกับชุมชนของเธอ เธอกลับมาก่อร่างสร้างความฝัน ทำสวนผักสลัดของเธออย่างทุ่มเท ซึ่งได้พิสูจน์ความสามารถและสร้างโอกาส ทางธุรกิจบนความอยู่รอดของตัวเองให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ขณะเดียวกัน เธอก็เป็นคนรุ่นใหม่กลับบ้านที่ไม่ได้คำนึงถึงแค่การอยู่ร่วมกับชุมชน แต่ยังให้โอกาสคนอื่น ๆ ในสังคม
ในการสร้างงานและมอบองค์ความรู้ทางเกษตรกรรมให้อย่างเต็มอกเต็มใจด้วย

ช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาส ไม่ตัดสินใคร

บางครั้งคนเราไม่ได้ต้องการแค่อาหารที่จะทำให้อิ่มท้องเท่านั้น ความอิ่มเอมใจก็สำคัญต่อการมีชีวิอยู่ไม่แพ้กัน
บทบาทของนิกกี้เป็นมากกว่าเกษตรกรรุ่นใหม่ เพราะภายในจิตใจของเธอถูกหล่อเลี้ยงด้วยการเล็งเห็นคุณค่าและมอบโอกาสให้กับสังคม 

“เราได้ให้โอกาสเด็กที่หลงผิดเข้ามาช่วยงานที่บางวัน เราก็อาสาเข้าไปมอบองค์ความรู้ สวนผัก ให้ความรู้ ส่งเสริมอาชีพให้นักโทษในเรือนจำ เกษตรกรรมในแบบของเรากับนักเรียนในโรงเรียน คนตาบอด และโรงเรียนรอบ ๆ ชุมชน”
นิกกี้เล่าให้ฟังถึงกิจวัตรของเธอที่เป็นมากกว่าชาวสวนหรือนักธุรกิจขนาดย่อม เธอบอกว่าสิ่งเหล่านี้คือตัวตนของเธอ
นิกกี้มีความใฝ่ฝันว่าอยากทำสวนของเธอให้เป็นสวนแห่งการเรียนรู้ เป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับคนที่อื่น ๆ ที่สนใจในสิ่งเดียวกันได้

“พื้นที่ตรงนี้เปิดต้อนรับทุกคน อย่างไม่เลือกชนชั้นวรรณะ เราอยากมอบโอกาสให้กับทุกคนที่สนใจ” 
นิกกี้พูดอย่างหนักแน่นและเปี่ยมไปด้วยความภาคภูมิใจ

ความสูญเสียเปลี่ยนแนวคิด ชีวิต และมุมมอง

เพราะเคยผ่านการสูญเสียมา จึงทำให้เธออยากมอบสิ่งดี ๆ ให้กับคนอื่นตลอดช่วงเวลาที่เธอยังมีชีวิตอยู่  
“ตอนนั้นช่วงที่กลับมาอยู่บ้านเราสูญเสียน้องที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกันไป เขาเป็นคนดีมาก การสูญเสียครั้งนั้นทำให้เราย้อนมองชีวิตว่าคนเราเกิดมาแล้ว เมื่อตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้”

นิกกี้เล่าอย่างซาบซึ้งก่อนจะทิ้งท้ายประเด็นว่า
“เราคิดจะทำแต่สิ่งที่ดี ๆ ถ้าเรามีของดีมีความรู้มากมาย
แต่ไม่เคยส่งต่อให้ใครเลย เราก็จะตายไปอย่างนั้น ตายกับสิ่งที่มันอยู่แค่กับเรา”

ทำธุรกิจโดยไม่ได้คาดหวังผลกำไร

เป้าหมายของเธอไม่ใช่ความคาดหวังว่าจะเติบโตในธุรกิจนี้เพียงคนเดียว แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือการมอบโอกาสให้กับคนที่สนใจ “ถึงแม้ว่าความคิดที่อยู่ในหัวเรามันเป็นธุรกิจ แต่เรายินดีมาก ๆ ที่หลายคนเอาแนวคิดเราไปทำตามแล้วก็ประสบความสำเร็จได้” โดยนิกกี้ยังบอกอีกด้วยว่าเธอพร้อมจะมอบองค์ความรู้ที่เธอมีให้กับคนที่อยากได้สิ่งนี้จริง ๆ และเงินซื้อสิ่งที่เธอมีไม่ได้เสมอไป เธอทิ้งวนแกมหยอกว่าถ้าพูดคุยถูกคอเป็นพิเศษเธอยินดีที่จะทำให้ฟรี นิกกี้พูดออกมาจากตัวตนของเธออย่างตรงไปตรงมา

บ้าคลั่งและทุ่มเท

“วันนี้เรามองกลับไปแล้วก็เห็นว่าช่วงเวลาที่อยู่บ้าน 1 ปีนั้นผ่านมารวดเร็วเหลือเกิน ทุกอย่างเกิดขึ้นไวจนหลายคนบอกว่าเราบ้าที่ทำสิ่งนี้ได้” นิกกี้เล่าด้วยน้ำเสียงปนยิ้ม หลังจากที่ได้ย้อนมองถึงสิ่งที่เธอสร้างขึ้นมาด้วยสองมือและหนึ่งไอเดียของเธอเอง เธอบอกว่าการกลับมาทำอะไรที่บ้านเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทาย แต่ทำให้เธอได้จัดการกับทั้งจิตใจ อารมณ์ หรือแม้แต่สติปัญญาได้เป็นอย่างดี

อุปสรรคด่านแรกคือจิตใจ

จิตใจของตัวเราเองและความคิดของคนสำคัญที่อยู่รอบข้าง เป็นสิ่งที่เราจะต้องเอาชนะให้ได้ ถ้ามีฐานจิตใจที่มั่นคงเข้มแข็ง คิดด้านบวกและรู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าโจทย์จะยากแค่ไหนเราทุกคนก็จะผ่านด่านที่ท้าทายที่สุดไปได้

“เราเริ่มจากไม่มีเงิน แต่เราไม่ได้มองหนี้สินหรือว่าเงินเป็นอุปสรรคของการลงมือทำเลย ทุกสิ่งมาจากฐานใจ การได้เอาตัวเองไปพิสูจน์และทำในหลายสิ่ง ทำให้เราร้อยล้วนๆ” นิกกี้เล่าถึงพลังแข็งแกร่งที่อยู่ภายใจจิตใจของเธอ

สร้างตัวเองให้เป็นนวัตกรรม

นิกกี้มีความฝันอยากเปลี่ยนแปลงมุมมองที่มีต่อกายและใจคือรากฐานของชีวิตที่มั่นคงเกษตรกร เธอบอกว่าการทำเกษตรแล้วต้องหน้าดำ ตากแดด เป็นความคิดแบบเก่าแล้ว ซึ่งวันนี้เธอกำลังพยายาม หลังจากที่ได้พูดคุยและฟังเรื่องราวของนิกกี้ ก็ชวนทำลายภาพจำเดิมๆ เพื่อยกระดับคำว่าเกษตรกรรม ตั้งคำถามว่าบุคลิกที่ทุ่มเทและจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยบ้านเราให้ Cool ขึ้น 

“เรากำลังมองหาไอเดียในการทำเกษตรกรรมโดยที่เราไม่ต้องลงแรงมาก” นิกกี้เอ่ยขึ้นก่อนจะสะท้อนตัวตนของเธอให้ฟังต่อว่าเธอเป็นคนกล้าคิดในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้า และเธอมักจะแก้ปัญหาต่าง ๆ จากสิ่งที่เธอถนัด

“การได้เอาตัวเองไปพิสูจน์และทำในหลายสิ่ง ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาในแบบของเราจิตใจของเธอ และในอนาคตเราอยากจะปรับวิธีเหล่านี้เพื่อให้เกิดการและเป็นประโยชน์กับคนอื่นได้” เธอพูดอย่างเชื่อมั่นว่าความจริงที่ว่านี้จะนำเธอไปสู่การพัฒนาตัวเองอีกขั้น

กายและใจคือรากฐานของชีวิตที่มั่นคง

หลังจากที่ได้พูดคุยและฟังเรื่องราวของนิกกี้ ก็ชวนตั้งคำถามว่าบุคลิกที่ทุ่มเทและจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นของเธอ งานที่เธอทำและสิ่งที่เธอได้รับก็น่าจะเพียงพอแล้ว หากจะบอกว่าเธอเป็นคนรุ่นใหม่กลับบ้าน ที่ประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั่น แต่เธอกลับตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอาสาคืนถิ่น ซึ่งเธอบอกว่ากระบวนการเรียนรู้ของโครงการหล่อหลอมเธอ และมีผลอย่างมากต่อความคิดและไอเดียที่เธอมีในวันนี้

“อาสาคืนถิ่นสร้างฐานกายฐานใจที่เข้มแข็งขึ้นให้กับเรา”

เธอเล่าว่าโครงการพาให้เธอมาพบกับโอกาสในการเรียนรู้วิถีชีวิตของเพื่อนๆ ทั้ง 14 คน สร้างเครือข่ายและสร้างการตระหนักรู้ให้กับเธอ

“คำว่าอาสาคืนถิ่นมันมีความหมาย ทำให้เราตระหนักรู้ถึงสังคม ไม่เคว้ง และการได้เจอคนที่คิดเหมือนกัน ทำให้รู้สึกอุ่นใจว่าเราไม่ได้เดินคนเดียว” เธอกล่าวก่อนที่จะทิ้งท้ายถึงคนที่คิดถึงการกลับบ้านว่าให้ฟังเสียงหัวใจของตัวเอง และจงหนักแน่นในสิ่งที่ตัวเองเลือก

ชวนเพื่อนๆ ติดตามเรื่องราวความเคลื่อนไหวของ “นิกกี้” ได้ที่เพจ สวนจันทร์เจ้า Janjao Garden Organic by Nicky

นิกกี้-นิการัตน์ อันแสง
อาสาคืนถิ่น รุ่น 4 จังหวัดมหาสารคาม
ข้อมูล : เว็บไซต์อาสาคืนถิ่น

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish