แม้ภารกิจหลักของ “ธันย์ชนก” คือการรับผิดชอบงานตามบทบาทของเจ้าหน้าที่สำนักงานก็ตาม แต่เธอก็ยังพยายามทำงานรณรงค์สร้างความตระหนักถึงงานด้านสังคมกับเพื่อนๆ ของเธอที่เดินตามกระแสหลักทางสังคม เช่น ภาคธุรกิจ บริษัทกฎหมายเอกชน อัยการ หรือกระทั่งผู้พิพาษาที่มีอำนาจเหนือกว่าหลายคนในสังคมไปด้วย เธอบอกว่า “บางคนไม่เคยตระหนักเลยว่าปัญหาความเดือดร้อนเหล่านี้มันมีอยู่จริงในสังคมเรา ซึ่งครั้งหนึ่งฉันก็เคยเป็นเช่นเดียวกับพวกเขา”
หัวใจของคนที่ทำงานชุมชนนั้นยิ่งใหญ่นัก พวกเขาพอใจกับมันแม้จะได้รับค่าตอบแทนเพียงไม่มากนัก สิ่งนี้สร้างแรงบันดาลใจให้เธอมุ่งมั่นงานด้านสิทธิมนุษยชนต่อไป การเป็นอาสาสมัครขององค์กรพัฒนาเอกชนที่มีค่าตอบแทนเพียงน้อยนิด สำหรับเธอแล้วถือว่ามันเป็นปัญหาใหญ่มาก แต่เธอบอกว่า “ฉันโชคดีกว่าใครหลายๆ คนที่มีครอบครัวคอยช่วยเหลือและสนับสนุนฉันในหลายด้าน” ต่างจากชาวบ้านที่กลับต้องเป็นฝ่ายช่วยเหลือครอบครัวของตัวเอง แต่เมื่อพวกเขาได้พบเจอกับสถานการณ์ปัญหาจริงของพื้นที่ พวกเขาจะไม่มีทางที่จะเดินหนีมันไปเฉยๆ “รุ่นพี่ของฉันหลายคนพยายามที่จะสร้างสมดุลให้กับรายรับและรายจ่ายด้วยการเดินทางไปทำงานโดยใช้มอเตอร์ไซค์ หรือจักรยานแทนรถยนต์ ปรากฏการณ์เหล่านี้มันทำให้ฉันพบว่าเงินไม่ใช่คำตอบทุกอย่าง ความเชื่อนี้ยิ่งทำให้ฉันยิ่งรู้สึกว่ามันมีน้ำหนักมากขึ้น “เมื่อคนๆ หนึ่งถูกหยิบยื่นข้าวปลาอาหารให้ พร้อมกับการกล่าวคำขอบคุณ ปรากฏการณ์นี้ มันทำให้ฉันรู้สึกว่า มันเป็นอะไรที่มีคุณค่ามากกว่าเงินทองหลายเท่าตัว”
ในอนาคตเธอฝันที่จะได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เธอก็ยังไม่แน่ใจว่า ถึงที่สุดแล้วเธอต้องการเป็นผู้พิพากษาหรือไม่ แต่ไม่ว่าเธอทำงานในส่วนใด เธอจะทำงานเพื่อสังคมต่อไป เธอบอกว่า “ไม่ว่าอนาคตจะทำงานอะไรก็ตาม สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากงานที่ฉันทำมาคือ การที่เราเห็นชาวบ้านเดือดร้อน แล้วเรารู้สึกว่ามันเป็นภารกิจของเราที่ต้องคอยช่วยเหลือ นั่นคือสิ่งที่ฉันคิดว่ามันสำคัญมาก” แค่เราคิดว่าจะต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ชีวิตประจำวันและงานของเราจะถูกปรับเปลี่ยนแบบอัตโนมัติ แม้ทุกคนมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อเติมเต็มชีวิตของตัวเอง แต่เมื่อถึงคราวที่ต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น เราก็ควรทำมันให้ดีที่สุด
หลังจากที่เธอได้เข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ ของ มอส.แล้วเธอพบว่า โครงการได้ให้ประโยชน์แก่ตัวอาสาสมัครหลายด้าน เธอมั่นใจเหลือเกินว่า ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะได้เปิดโลกทัศน์ที่แตกต่างออกไป เธอบอกว่า “มันเป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตที่จะได้เห็นความจริงของโลกอีกด้าน”
ข้อเสนอที่เธอฝากถึงโครงการ อส.นักสิทธิ์คือ โครงการควรจะมุ่งเน้นที่วิธีการใช้ทักษะและการใช้ความรู้สำหรับการทำงาน โดยเฉพาะเทคนิคการจัดการความรู้ให้มากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เธอคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญมากสำหรับอาสาสมัครน้องใหม่ เธอกล่าวทิ้งท้ายว่า “คนหนุ่มสาวจงอย่ากลัวกับการไปเจอประสบการณ์ใหม่ๆ มันเป็นสิ่งที่สื่อไม่เคยได้บอกเอาไว้ อีกทั้งเราก็ไม่ได้มีโอกาสที่จะได้พบกับชีวิตจริงด้านนี้บ่อยนัก ฉันกล้ารับรองเลยว่า เมื่อคุณได้มายืนอยู่จุดนี้เมื่อไหร่หละก็ มันจะเปลี่ยนคุณ ไม่ใช่แค่ว่ามันจะทำให้คุณเป็นคนที่เก่งขึ้นเท่านั้น แต่คุณจะเป็นคนใหม่ที่เจ๋งกว่าเดิม ฉันไม่อยากบังคับใคร แต่ฉันแค่อยากจะสนับสนุนให้คนหนุ่มสาวได้ลองใช้ชีวิตดู….ก็เท่านั้น”
(ติดตามอ่านเรื่องราวดีๆ ของอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนได้ทุกวันจันทร์–ที่นี่)
—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์
อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง