ข้อมูลองค์กรที่ขอรับอาสามัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่นที่ 9
(วาระการทำงาน 1 กรกฎาคม 2557-30 มิถุนายน 2558)
1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน รับผู้จบนิติศาสตร์ 1 คน
ที่อยู่ 109 ซ.สิทธิชน ถ.สุทธิสารวินิจฉัย สามเสนนอก ห้วยขวาง กทม. 10310
สถานที่ปฏิบัติงาน 111 ซ.สิทธิชน ถ.สุทธิสารวินิจฉัย สามเสนนอก ห้วยขวาง กทม. 10310
โทรศัพท์/โทรสาร 02-6930682
วัตถุประสงค์และภารกิจ
- ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
- ส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่สิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ให้ประชาชนตื่นตัว และยึดถือปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชน
- เสริมสร้างนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายนักสิทธิมนุษยชนให้กว้างขวาง มีสถานะและบทบาทเป็นที่ยอมรับในสังคม
- ส่งเสริมและคุ้มครองการเข้าถึงความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสามารถร้องเรียน ดำเนินมาตรการทางกฎหมาย ฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งรับมอบอำนาจดำเนินคดี หรือดำเนินการใด ๆ ในทางกฎหมาย แทนบุคคลต่าง ๆ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สนส.
- ส่งเสริมการรณรงค์และผลักดันนโยบายและกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชน
- ร่วมมือกับภาครัฐและภาคประชาสังคม เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สนส.
สมาคมได้แบ่งฝ่ายงานออกเป็น 3 ฝ่ายคือ
ฝ่ายเสริมสร้างศักยภาพและเครือข่าย จัดอบรมเสริมสร้างแนวคิดและศักยภาพของสมาชิกสมาคมฯ ซึ่งมีทั้งนักกฎหมาย ทนายความสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายการทำงานอื่นๆ
ฝ่ายคดียุทธศาสตร์ เป็นฝ่ายประสานงานนักกฎหมายและทนายความให้ความช่วยเหลือคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายที่คำนึงถึงหลักนิติธรรม และหลักการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน
ฝ่ายวิชาการและรณรงค์ เป็นแหล่งฐานข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนและการศึกษาวิจัย พิจารณากฎหมายและร่างกฎหมายตลอดจนผลักดันการใช้และการตีความกฎหมายที่คำนึงถึงหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน
หน้าที่หลักของอาสาสมัคร ทำงานตามที่ทางสมาคมฯ มอบหมายและสนับสนุนการทำงานขององค์กร
พื้นที่ปฏิบัติงาน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและแผนงานของสมาคมฯ
หัวหน้าโครงการ นางสาวผรัณดา ปานแก้ว
ความคาดหวังต่ออาสาสมัครที่รับเข้าทำงานในโครงการ
- มีความสนใจในประเด็นการทำงานของสมาคมฯ
- สามารถสนับสนุนการทำงานของสมาคมฯ
- มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และชอบค้นคว้า
- ชอบการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็นสำหรับโครงการ (โดยทั่วไป มอส. ไม่ยินยอมให้มีการกำหนดเพศ)
- มีความสนใจในการทำงานสร้างเครือข่ายนักกฎหมาย ทนายความและการทำงานสิทธิมนุษยชน
- มีความรับผิดชอบในการทำงาน และกระตือรือร้นในการเรียนรู้
- สามารถเดินทางออกต่างจังหวัดและทำงานในวันหยุดได้
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.naksit.org
2. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (Enlaw) รับผู้จบนิติศาสตร์ 1 คน
ที่อยู่ 505/12 ซอยรามคำแหง 39 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร10310
สถานที่ปฏิบัติงาน ตามที่อยู่องค์กร
โทรศัพท์/โทรสาร 02-318-9439
วัตถุประสงค์ และกิจกรรม ขององค์กร มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม เดิมชื่อ โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในปี 2544 มีภารกิจมุ่งตรวจสอบและสนับสนุนให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นอยู่ รวมทั้งการผลักดันให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย เพื่อคุ้มครองการใช้สิทธิของประชาชนและชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
รายละเอียดงานที่จะให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน ปัจจุบันทางมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม มีงานด้านกฎหมาย และงานคดีอยู่หลายประเด็น โดยกรณีที่มีการดำเนินคดีอยู่ขณะนี้ เช่น กรณีปกครองท่าเทียบเรือและคลังสินค้า ที่ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา กรณีปกครองเหมืองหิน อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู กรณีคดีปกครองโรงถลุงเหล็ก อ.บางสะพาน จ.ประจวบคิรีขันธ์ กรณีผลักดันการบังคับคดีตามคำพิพากษา คือ กรณีลำห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี ให้มีการดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว และกรณีที่กำลังเตรียมฟ้องคดี กรณีลักลอบทิ้งน้ำอุตสาหกรรม ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
กรณีเหล่านี้ทางมูลนิธิฯ ได้มีการทำงานศึกษาข้อมูล การให้คำปรึกษาด้านกฎหมายหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในทางกฎหมายอื่นๆ และหากเป็นคดีก็จะเข้าไปช่วยในการดำเนินคดีแก่ผู้ได้รับผลกระทบ และองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งทำหน้าที่ในพื้นที่ นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ กำลังศึกหาหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อนำมาส่งเสริมงานคดี และพัฒนาข้อมูลเพื่อสื่อสารสาธารณะผ่านทางช่องทางต่างๆ โดยอาสาสมัครที่จะมาปฎิบัติงาน สามารถเลือกที่จะศึกษาในกรณีที่สนใจได้
หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
- ช่วยค้นคว้าข้อมูล ข้อเท็จจริง และศึกษาข้อกฎหมาย เพื่อนำมาปรับใช้และร่วมถกเถียงแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ในการทำคดีสิ่งแวดล้อม
- ศึกษาบทเรียนและประสบการณ์การทำคดีสิ่งแวดล้อมและปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม
3.เข้าร่วมหรือช่วยจัดการอบรมสัมมนา เป็นวิทยากรอบรมเกี่ยวกับประเด็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมตามสถานการณ์สังคมและแผนงานของ EnLAW และอบรมกฎหมายให้กับชุมชนที่ขอคำปรึกษาและสาธารณชนทั่วไป
- ร่วมลงพื้นที่เก็บข้อมูล
- ช่วยเหลืองานจัดการสำนักงานทั่วไปตามที่ได้รับมอบหมาย
พื้นที่ปฏิบัติงาน มีพื้นที่ปฏิบัติงานหลักประจำอยู่ที่สำนักงานขององค์กร (505/12 ซอยรามคำแหง 39 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310) แต่จะมีการลงพื้นที่ต่างจังหวัดโดยขึ้นอยู่กับประเด็นงานที่เกี่ยวข้องและจะมีการพิจารณาความเหมาะสมในการให้อาสาสมัครลงพื้นที่เป็นรายกรณี
หัวหนาโครงการ นายสุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
ความคาดหวังต่ออาสาสมัครที่รับเข้าทำงานในโครงการ สามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการทางกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมจนสามารถพัฒนาเป็นนักกฎหมายที่ทำงานด้านสังคมต่อไป
คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็นสำหรับโครงการที่จะขอรับ (โดยทั่วไป มอส. ไม่ยินยอมให้มีการกำหนดเพศ) รักเพื่อนมนุษย์, ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็น, ชอบถกเถียงแลกเปลี่ยน, มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้, สนใจในประเด็นทางกฎหมาย (หากสนใจกฎหมายมหาชนจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.enlawfoundation.org
3. ศูนย์ข้อมูลชุมชน
รับผู้จบนิติศาสตร์ 1 คน และจบปริญญาตรีสาขาอื่นๆ 1 คน
ที่อยู่ 1838/37 ซอยจรัสลาภ ถนนสิรินธร แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
สถานที่ปฏิบัติงาน ประจำที่กรุงเทพ แต่ต้องเดินทางต่างจังหวัดตามพื้นที่ที่ทำงานทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน
โทรศัพท์ 081-7725843
วัวัตถุประสงค์ และกิจกรรม ขององค์กร
1.การนำเอากฎหมายมาคุ้มครองสิทธิชุมชน ด้วยการให้ความช่วยเหลือดำเนินคดีให้แก่ชุมชน
- การสร้างความเข้มแข็งโดยกฎหมายและองค์ความรู้อื่นแก่ชุมชน ด้วยการจัดปรึกษาหารือและอบรม
- การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดงานรณรงค์และใช้คดีเป็นตัวขับเคลื่อน
- เสริมสร้างศักยภาพของคนทำงานในประเด็นสิทธิชุมชนโดยเฉพาะนักกฎหมายและนักกิจกรรม ด้วยการจัดอบรมในองค์กรและส่งเสริมการเรียนรู้นอกองค์กร
กิจกรรม หรือโครงการที่องค์กร ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน (โดยสังเขป)
1.ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชุมชน ด้วยการดำเนินคดีทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีปกครอง
- จัดประชุมปรึกษาหารือกับชุมชนที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และชุมชนในเครือข่าย
- จัดเก็บข้อมูลในชุมชนเพื่อร่วมกับชุมชนในการคุ้มครองสิทธิชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน
- ทำงานรณรงค์ทางสื่อออนไลน์ การจัดประชุมสัมมนา และเข้าร่วมงานรณรงค์กับกลุ่มกิจกรรมอื่นๆ
พื้นที่การทำงาน
ภาคเหนือ โครงการป้องกันน้ำท่วม อ.แม่ใจ จ.พะเยา, เหมืองแล่ลิกไนต์ อ.งาว จ.ลำปาง,โครงการสายส่งไฟฟ้า จ.น่าน (จากเหมืองลิกไนต์หงสา ประเทศลาว),โรงไฟฟ้าชีวมวล บ้านท่าสามัคคี อ.เถิน จ.ลำปาง, โรงไฟฟ้าชีวมวล บ้านผาปัง อ.เถิน จ.ลำปาง,โรงไฟฟ้าชีวมวล อ.เด่นชัย จ.ลำปาง, กรณีบุกรุกที่ดิน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการเหมืองแร่โปแตซ จ.อุดรธานี, โครงการสายส่งไฟฟ้า จ.อุดรธานี (จากโครงการซื้อไฟฟ้าจากลาว),โครงการขุดลอกคลองลำพะเนียง จ.หนองบัวลำภู
ภาคกลาง ปั๊มแก๊สแอลพีจี อ.เมือง จ.ชัยนาท, ประมงโพงพาง อ.เมือง และ อ.ยี่สาร จ.สมุทรสงคราม
ภาคตะวันออก น้ำมันรั่วในทะเล จ.ระยอง, สถานีบรรจุก๊าซ จ.ชลบุรี
ภาคใต้ กรณีการสลายการชุมนุมท่อก๊าซไทยมาเลย์ จ.สงขลา,กรณีการลักหอยแครงในทะเลอ่าวปัตตานี จ.ปัตตานี, กรณีการร้องเรียนการบุกรุกที่สาธารณะประโยชน์ กลุ่มชาวบ้านวังตาหงา อ.ควนโดน จ.สตูล, กรณีเหมืองหินปูนเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา,กรณีที่สาธารณะประโยชน์ บริเวณโรงแยกก๊าซ ทรานส์ไทยมาเลย์ อ.จะนะ จ.สงขลา
ประเด็นข้ามพรมแดน เขื่อนไซยะบุรี ที่สร้างในลาว กระทบ ๘ จังหวัด ในไทย, เหมืองลิกไนต์หงสา ในลาว สร้างโดยคนไทย และขายไฟฟ้าให้ไทย, กรณีเขตอุตสาหกรรมในเมืองทวาย ประเทศพม่า ที่ลงทุนและดำเนินการโดยคนไทย
หัวหน้าโครงการ ส. รัตนมณี พลกล้า และ Mr.Prashant Singh
รายละเอียดงานที่จะให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
– นักกฎหมาย หากเป็นนักกฎหมายซึ่งมีใบอนุญาตว่าความจะได้ร่วมทำคดีว่าความ หากไม่มีใบอนุญาตจะได้ร่วมเตรียมคดีและทำคดีร่วมกับทนายความ
– นักกิจกรรม (ปริญญาตรีสาขาอื่น) ร่วมกันค้นข้อมูล เตรียมงานสำหรับคดีและงานอบรม ปรึกษาหารือกับชุมชน
ทั้งสองส่วนจะต้องเดินทางร่วมกับทีมงานตามกำหนดการที่แบ่งไว้ และร่วมกันเตรียมงาน
หน้าที่หลักของอาสาสมัคร ร่วมทำงานกับทีมคณะทำงานของสำนักงาน ทั้งทีมทนายความ และทีมงานอบรมและรณรงค์
พื้นที่ปฏิบัติงาน (ระบุชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด) กรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งอยู่ในเขตงานพื้นที่การทำงานข้างต้น
ความคาดหวังต่ออาสาสมัครที่รับเข้าทำงานในโครงการ
1.อาสาสมัครได้เรียนรู้การทำงาน ได้ทำงานร่วมกับทีมงานขององค์กร
- ได้เรียนรู้การทำงานกับชุมชน
คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็นสำหรับโครงการที่จะขอรับ (โดยทั่วไป มอส. ไม่ยินยอมให้มีการกำหนดเพศ)
- จบนิติศาสตร์ 1 ตำแหน่ง และจบสาขาอื่น 1 ตำแหน่ง
- สามารถเดินทางไปต่างจังหวัด และค้างต่างจังหวัดได้
- พร้อมเรียนรู้ สู้กับงานหนัก
- สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้พอใช้ (ถ้าเป็นไปได้)
- สนใจทำงานกับชุมชนในประเด็นสิทธิชุมชน สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน
4. มูลนิธิพัฒนาอีสาน จ.สุรินทร์ รับผู้จบนิติศาสตร์ 1 คน
ที่อยู่ 100/1 กิโลเมตรที่ 14 ถนนสุรินทร์-สังขะ ต.ตาอ๊อง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
สถานที่ปฏิบัติงาน มูลนิธิพัฒนาอีสานและชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
กิจกรรมที่องค์กรดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
มูลนิธิพัฒนาอีสาน มีงาน 4 ฝ่ายหลัก คือ ฝ่ายพัฒนา ดำเนินงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม งานเสริสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชน และงานด้านสุขภาพ / ป้องกันเอดส์ ฝ่ายสถาบันส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชน ดำเนินงานด้านฝึกอบรม งานวิจัย ติดตามประเมินผล ฝ่ายกิจการพิเศษ ดำเนินงานด้านระดมทุน ประชาสัมพันธ์ งานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย และการริเริ่มโครงการใหม่ๆ และฝ่ายสำนักงาน ดำเนินการสนับสนุน งานบัญชี การเงิน พาหนะ ธุรการ
หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
- เรียนรู้สถานการณ์ที่ชุมชนประสบปัญหา
- ออกแบบเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้านสิทธิมนุษยชนและการจัดการทรัพยากร
- ประสานความร่วมมือเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงาน
- ร่วมทำงานเป็นทีมหนุนเสริมภารกิจของงานของฝ่ายพัฒนา
สถานที่ปฎิบัติงานของอาสาสมัคร มูลนิธิพัฒนาอีสาน และบ้านโคกตะแบง ต.โคกสะอาด อ.ปราสาท, บ้านอุดม บ้านสมบูรณ์ ต.ชุมแสง อ.จอมพระ และบ้านอื่นๆ ในพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าชีวมวล และตามสถานการณ์ที่ชุมชนประสบ
ความคาดหวังต่ออาสาสมัคร
1.สามารถปรับตัวร่วมงานกับทีมงานได้
- เรียนรู้ปัญหาของชุมชน
- เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ด้านสิทธิและการจัดการทรัพยากรของชุมชน
- หนุนเสริมการทำงานของฝ่ายโดยไม่เกี่ยงงอน พร้อมที่จะเรียนรู้
คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็น (โดยทั่วไป มอส.ไม่ยินยอมให้กำหนดเพศ)
- สนใจที่จะทำงานพัฒนาชุมชน
- มีความรู้ด้านกฎหมาย
- มีมนุษยสัมพันธ์
- สนใจงานด้านสิทธิชุมชนและการจัดการทรัพยากร
- มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้
ที่พักสำหรับอาสาสมัคร พักที่มูลนิธิพัฒนาอีสาน และเมื่อลงพื้นที่พักในชุมชนเป็นช่วงๆ หรือหาที่พักเองแล้วแต่ความสะดวกของอาสาสมัคร
ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิจิตรา ชูสกุลผู้จัดการมูลนิธิฯ และ นส.พิสมัย นามพรม เจ้าหน้าที่ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
5. ศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน จ.ชัยภูมิ รับผู้จบนิติศาสตร์ 1 คน
ที่อยู่ 501 หมู่ที่ 8 บ้านน้ำพุปางวัว ตำบล คอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ 36180
โทรศัพท์ 081-8428754
สถานที่ปฏิบัติงาน สำนักงานคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
วัตถุประสงค์ และกิจกรรม ขององค์กร มีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนคือ1. ศึกษาและพัฒนาประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิชุมชน สิทธิในกระบวนการยุติธรรมฯ2. ศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้บุคลากรที่อยู่ในระบบการศึกษาของรัฐและบุคลากรในท้องถิ่นต่างๆ 3. ศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
รายละเอียดงานที่จะให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน ประเด็นทางสิทธิมนุษยชนและทางกฎหมาย งานศึกษาทำความเข้าในชุมชนต่างๆ
หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
- ศึกษาในประเด็นข้อพิพาทของการจัดการในทรัพยากรของชุมชน กฏระเบียบทางสังคมกับแนวทางเพื่อสร้างความเป็นธรรม
- ศึกษาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
- เผยแพร่กิจกรรมขององค์กรเครือข่ายในท้องถิ่น
พื้นที่ปฏิบัติงาน (ระบุชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด)
ปฏิบัติงานประจำอยู่ที่สำนักงานคอนสาร และปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ ของภาคอีสานและเพชรบูรณ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นายสมนึก ตุ้มสุภาพ และนายถนอมศักดิ์ ระวาดชัย
ความคาดหวังต่ออาสาสมัคร รักและสนใจในประเด็นตามกิจกรรมขององค์กร อดทนกระหายในการเรียนรู้ และพัฒนาเพื่อการปฏิบัติงานที่ดี
ที่พักสำหรับอาสาสมัคร ที่สำนักงานคอนสารซึ่งสามารถพักอาศัยได้เป็นแบบพี่น้อง ตามสภาพของท้องถิ่น
คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็นสำหรับโครงการ (โดยทั่วไป มอส. ไม่ยินยอมให้มีการกำหนดเพศ)
โดยสภาพของการปฏิบัติงานในท้องถิ่นต่างๆ ผู้ชายอาจมีความคล่องตัวของการปรับสภาพในการปฏิบัติงาน แต่ไม่เสมอไปในทุกกรณี ฉะนั้นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่ดี ควรต้องสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพของงานในท้องถิ่นและสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี จึงขึ้นอยู่กับอาสาสมัครที่เตรียมตัวมาพร้อมกับกระบวนการเรียนรู้ในท้องถิ่นเพียงใด
ที่อยู่ 77/1 หมู่ 5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ / โทรสาร 053-810623-4
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
โครงการ เสริมสร้างพลังท้องถิ่น จัดทำข้อบัญญัติตำบล ปฎิรูประบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
- เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. สนับสนุนให้เกิดข้อบัญญัติตำบลที่สามารถคุ้มครองสิทธิชุมชน ในการจัดการทรัพยากรร่วมกับรัฐ
3. สร้างบทเรียนและกระบวนการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะทุกระดับ
กิจกรรม 1. กิจกรรมการหนุนเสริมขีดความสามารถขององค์กรชุมชน ได้แก่ การพัฒนากลไกการทำงานระดับหมู่บ้าน ระดับเครือข่าย/ตำบล การสำรวจจัดทำข้อมูลแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทรัพยากร การพัฒนาระเบียบกติกาและจัดทำแผนการจัดการดิน น้ำ ป่า และการพัฒนาคุณภาพชีวิต การสนับสนุนแผนปฏิบัติการของชุมชน เป็นต้น
2. กิจกรรมการจัดทำวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ กิจกรรมการสำรวจขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากร การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบแผนการจัดการทรัพยากรและพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น
- กิจกรรมด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การสนับสนุนการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยการฝึกอบรม ให้ความรู้เรื่องสิทธิ และกฎหมาย การพัฒนาและประกาศใช้ข้อบัญญัติตำบล การพัฒนาแผนและระบบการจัดการร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาแผนและระบบการคุ้มครองสิทธิชุมชนในการจัดการร่วมกับรัฐเป็นต้น
- กิจกรรมด้านการพัฒนาข้อมูลและการสื่อสารสาธารณะ ได้แก่ กิจกรรมการถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาเป็นชุดความรู้ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ พัฒนาสื่อประกอบการเผยแพร่ขยายผล การพัฒนาและจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด ระดับชาติ เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและภาคีความร่วมมือ โดยมีพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานใน 15 ตำบล ของจังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดงานที่จะให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
- ทำหน้าที่ฝ่ายข้อมูลและเผยแพร่ โดยการรายงานผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ ในรูปแบบบทความกึ่งสารคดี สื่อวีดีทัศน์ คลิป
- ร่วมกับทีมงานเพื่อสร้างระบบข้อมูล การสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ website Facebook twitter power point เอกสารเล่มเล็ก เป็นต้น
หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
– ออกแบบ วางแผน