“พืชผักอินทรีย์ที่น้องอาสาสมัครปลูกยังไม่งาม แต่ความรักและความสุขจากการได้กลับไปอยู่บ้านเกิดค่อยๆ งอกงามขึ้นแล้ว”

พี่ติ๊บ กรรณิกา ควรขจร มีโอกาสได้ลงพื้นที่และบอกเล่าความคืบหน้าจากโครงการอาสามหาวิทยาลัย ซึ่งมอส. ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดทำขึ้น และเป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการร่วมสร้างสังคมจิตอาสาปี 3

10968035_931110616913027_4224534_n

เมื่อวันที่ 13-14 มกราคม 2558 ได้มีการติดตามอาสาสมัคร 4 คน ที่อยู่ในพื้นที่ อำเภออมก๋อย และ 2 คนในพื้นที่อำเภอแม่วาง หลังจากกลับไปอยู่ในพื้นที่ตนเองนาน 7 เดือน โดยในระยะนี้อาสาสมัครมีภารกิจที่จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์อินทรีย์ในพื้นที่ของตนเอง นอกจากทีมงานซึ่งมีอาจารย์ ม.แม่โจ้ วิทยากรจาก The Network และเจ้าหน้าที่โครงการฯ แล้ว การติดตามครั้งนี้ยังมีอาสาสมัครในพื้นที่ อ.กัลยาณิวัฒนา, อ.สะเมิง จ.ลำปาง และจากเมืองเชียงใหม่ 5 คน ร่วมเรียนรู้และให้กำลังใจแก่กัน

10872175_931110670246355_1575464419_n
อาสาสมัคร 3 คน ในบ้านยางเปา อ.อมก๋อย ได้พัฒนาแปลงผักอินทรีย์ และมีแนวโน้มจะพัฒนาความร่วมมือกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินพัฒนาแปลงเกษตรอินทรีย์และที่พัก ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเรียนรู้เรื่องผักอินทรีย์ อาสาสมัครอีก 1 คน ทำสวนอินทรีย์ปลูกพืชหลายอย่าง และสนใจที่จะทำน้ำตาลจากอ้อย โดยใช้เครื่องหีบอ้อยโบราณที่พัฒนาโดยชาวบ้านในท้องถิ่น

เมื่อถามถึงการเปลี่ยนแปลงเมื่อกลับมาอยู่ในชุมชน ได้รับคำตอบว่าชาวบ้านและองค์กรส่วนท้องถิ่นยอมรับบทบาทของอาสาสมัคร ชาวบ้านมาขอซื้อผักในแปลง และทำให้รายจ่ายลดไปได้จาก 5,000 บาทต่อเดือนเหลือเพียง 2 ถึง 3,000 บาท และที่สำคัญคือ ความสุขตอนนี้สุขล้นเหลือ ได้กลับบ้าน พ่อแม่ดีใจ ครอบครัวก็มีความสุข คิดว่ามาถูกทางที่จะต้องพัฒนาตนเอง พร้อมกับร่วมดูแลและพัฒนาชุมชนไปด้วยกัน

10965425_931110693579686_1296286596_n

กาแฟ Lepato (เลพาทอ) คือ ชื่อกาแฟอินทรีย์ที่อาสาสมัคร กลุ่มคนในชุมชน ในพื้นที่บ้านหนองเต่า ต.แม่วิน อ.แม่วาง และนักพัฒนากลุ่มหนึ่ง ได้ร่วมกันพัฒนามาระดับหนึ่ง และจะพัฒนาต่อให้มีการจัดการที่ดี ทั้งการผลิต การแปรรูป และการตลาด โดยมุ่งให้ผู้บริโภคเข้าใจแนวคิดว่า การผลิตกาแฟนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ การอนุรักษ์ป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ ซึ่งชาวบ้านได้ทำการอนุรักษ์ไว้อย่างเหนียวแน่น กำไรที่ได้จากการขายกาแฟส่วนหนึ่ง ก็นำไปสู่กองทุนรักษาป่าของชุมชน นอกจากกาแฟแล้วก็ยังมีข้าวพันธุ์พื้นเมือง ลูกพลับ อโวคาโด ออกผลตามฤดูกาล ซึ่งก็ต้องมีการจัดการในระบบกลุ่ม การสร้างงานในพื้นที่ก็จะเป็นส่วนหนึ่งให้คนหนุ่มสาวได้กลับมาบ้าน และร่วมพัฒนาท้องถิ่นไปด้วยกัน อันเป็นความฝันของพวกเขา

การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคมซึ่งมีวาระ 1 ปีนี้ มุ่งหวังให้พวกเขาจดจ่อกับการสร้างตนเอง สร้างชุมชน ซึ่งเห็นได้ชัดว่า สามารถสร้างสุขไปพร้อมกันได้อย่างดี พวกเขาเหล่านี้แหละจะเป็นคำตอบของการพัฒนาชนบทในอนาคต

New Picture (4)
กาแฟผลิตเอง คั่วเองของอาสาสมัครในพื้นที่ อ.แม่วิน จ.เชียงใหม่

10968711_931110656913023_338158205_o
แปลงผักอินทรีย์ของ (ผู้หญิง 3 คน) อาสาสมัครที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

 

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

Find the right project for me
en_USEnglish