ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ


“เราไม่ต้องรอให้เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้อย่างแท้จริงก่อน ค่อยเปลี่ยนแปลงสังคม มันเป็นกระบวนการเรียนรู้มันต้องไปแบบคู่ขนาน ควบคู่กัน เราเองก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา” …….สุภาวดี เพชรรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม [มอส.]

เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์พี่กระแต สุภาวดี เพชรรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ถึงแนวคิดและบทเรียนการทำโครงการคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงรุ่น 1-2, 16 พฤษภาคม 2557 ณ โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี

166060_415437141820170_939792062_n

แนวคิดและการก่อเกิด

การก่อเกิดงานนี้มาจากแนวคิดของนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งที่เห็นปัญหา และเป็นห่วงเป็นใยสถานการณ์คนรุ่นใหม่ภายใต้สถานการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อน จึงคิดค้นกระบวนการ เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนหนุ่มสาวมีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ปัญหาสังคม รวมถึงเคารพและอยู่ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย และมีสำนึกเพื่อเป็นนักเปลี่ยนแปลงทางสังคม

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือสสส.ซึ่งเป็นผู้ให้ทุน เริ่มต้นจากความสนใจเด็กบ้านกาญจนา มีป้าทิชา ณ นคร เป็นที่ปรึกษาหลัก ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ คือทำให้เด็กเปลี่ยนแปลงตัวเอง และมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ป้าทิชา จึงมาคุยกับมอส.เราก็สนใจ จึงตัดสินใจทำโครงการนี้ จึงพยายามคิดหาวิธีการหรือค้นหารูปแบบการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ ที่แตกต่างออกไปจากการทำงานอาสาสมัครแบบเดิม เพราะโครงการนี้มีความท้าทายตรงที่ ต้องเอาเด็กที่มีที่มาที่แตกต่างหลากหลายในสังคมมาร่วมกระบวนการ เป็นการจำลองภาพสังคมจริง

ส่วนหนึ่งเราเชื่ออยู่แล้วว่า มอส.เป็นพื้นที่เพื่อเสริมสร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเรียนรู้ปัญหา เพื่อร่วมสร้างความเป็นธรรมและสันติในสังคม ภายใต้แนวคิดนี้ประสบการณ์ 34 ปีที่เรามี เราก็มั่นใจ องค์ความรู้ที่เรามีสามารถนำมาปรับกับคนหนุ่มสาวที่ไม่ต้องมีวาระ 1 ปีก็ได้ แต่เป็นกระบวนการที่เป็น 1 ปี แต่มีหลักสูตรเป็นโมดุลไป

โดยสรุปคือ โครงการนี้ตรงกับความคิดความเชื่อของเรา ตรงประสบการณ์ ประกอบกับสถานการณ์ทางสังคมที่ซับซ้อน และอยู่บนพื้นฐานของความขัดแย้งทั้งการเมือง สังคม ทำอย่างไรให้ผู้คนอยู่อย่างเคารพความหลากหลาย และทำงานร่วมกันในบทบาทของนักปฏิบัติการทางสังคม เป็นเรื่องท้าทายมาก

1150401_10201405427953654_773997757_n

คุณค่าและเนื้อหาหลัก

ตอนเราทำรุ่นที่ 1 [เมษา 2555-สิงหาคม 2556] จึงอยู่ในความมั่นใจไม่มั่นใจตลอดเวลา ทำให้เราเห็นว่าเราไม่ได้เก่งไปทุกเรื่อง เกิดการคิดหากระบวนการใหม่ ที่เรียนรู้ไปกับน้องด้วย นี่คือสิ่งสำคัญ 1 ปีที่ผ่านมาเราได้พลังเยอะเรื่องการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ที่นำมาสู่การต่อยอดการคิดค้นการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับน้อง เพราะหากเราเชื่อว่าน้องมีความต่าง กระบวนการเรียนรู้ก็ต้องต่าง และตรงจริต สุดท้ายมอส.ต้องเป็นคนเปิดพื้นที่ให้เห็นคุณค่าหลักหรือค่านิยม ที่คนรุ่นใหม่อยากเห็นร่วมกันคืออะไร

รุ่นแรกคุณค่าหลักเขาใช้คอนเซปส์ว่า “เปลี่ยนแปลงตัวเอง เปลี่ยนแปลงสังคม” คอนเซปส์ที่มอส.ยึดฐานใจเปลี่ยนใจให้มีสำนึกอาสาสมัคร จริงๆ น้องมีฐานที่มาแตกต่าง อาจเป็นเอ็นจีโอ เป็นคนปฏิบัติการในชุมชน แต่ฐานใจแน่นกว่า เพราะอยู่กับปัญหามาก่อน พวกเขามาเพิ่มพลัง และทำให้เห็นว่า จะมีคนแบบนี้คนที่พร้อมจะสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมดีขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป

ฐานใจตรงนี้ก็ต่อยอด น้องอาสาใช้คำชัดเจนว่า เขามีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า พลังตรงนี้จะเป็นพลังที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง มันเสริมพลังระหว่างเพื่อนด้วย หนุนเสริมกันในการทำงาน มันทำให้ก้ามผ่านปัญหาที่น้องมีอยู่ร่วมกัน ข้ามเครือข่ายการเรียนรู้ พอเราเปิดรับรุ่นที่ 2 [พฤษภาคม 2557-สิงหาคม 2558] น้องรุ่น 1 ก็มาช่วยในกระบวนการ ไม่ได้ขาดหายไปไหน เขาอยากสร้างกระบวนการเคลื่อนไหวที่ข้ามประเด็น นี่เป็นคุณค่าหลักที่เห็น

IMG_9083

ดอกผลของงานสร้างคนหนุ่มสาว

ประเด็นเรื่องการเคารพความแตกต่าง มันต้องท้าทายตัวเองตลอดเวลาว่าต้องทำให้ได้อย่างที่พูด จุดนี้ เป็นจุดที่ย้ำเตือนให้เราเคารพความต่างให้ได้จริง มันจึงท้าทายน้องและท้าทายเราด้วย แต่ไม่ต้องรอให้เปลี่ยนแปลงตัวให้ได้อย่างอย่างแท้จริงก่อน ค่อยเปลี่ยนแปลงสังคม มันควบคู่กัน เราเองก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอด ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ขาวสะอาดก่อนค่อยเปลี่ยนแปลงสังคม แต่มันต้องไปแบบคู่ขนานกัน เป็นกระบวนการเรียนรู้

กระบวนการที่เราทำกับโครงการนี้ก็คล้ายๆ กับงานอาสาสมัครที่มอส.เคยทำ คือเน้นเรื่องการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติจริง แต่งานอาสาสมัครที่ผ่านมาจะเข้มกว่า แต่คนรุ่นใหม่ฯ ฐานของพวกเขาจะมีปฏิบัติการทางสังคมอยู่แล้ว แต่ก็มีโอกาสได้ลงไปเรียนรู้ข้อเท็จจริงทางสังคมในประเด็นอื่น ต่างพื้นที่ แน่นอนว่ากระบวนการมอส.จะเน้นฐานใจเรื่องสำนึกอาสาสมัคร การได้ไปเรียนรู้ความทุกข์ยากจากคนยากคนจน คนด้อยโอกาส มันสร้างจากฐานตรงนี้ขึ้นมาได้ เสริมความเป็นเครือข่ายจากการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นเอกลักษณ์ของกระบวนการเรียนรู้ของมอส.ที่เราเน้นย้ำมาตลอด

พอน้องจบกระบวนการปีครึ่ง เขาก็เป็นนักปฏิบัติการทางสังคม ไปทำงานต่อในชุมชนของเขามี 1-2 เปอร์เซ็นต์ที่หลุดจากกระบวนการ ที่เหลือเราก็มาเพิ่มฐานใจให้แน่น พาไปเรียนรู้ในสิ่งที่เขาไม่เคยรู้ บทบาทต่อไปของมอส.คือ จะเกาะเกี่ยวน้องกลุ่มนี้ได้อย่างไร น้องอื่นๆ ด้วย เราก็พยายามเปิดพื้นที่ เสริมให้น้องโตขึ้น ทั้งความรู้ และทักษะการทำงานและทักษะชีวิต

IMG_9103

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai