ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

โดย กรรณิกา ควรขร มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

284628_230674470299222_100000700136597_752525_1756868_n

การสัมมนาครบวาระการปฏิบัติงาน

เมื่อสิ้นสุดการทำงาน การสรุปและถอดบทเรียนการเรียนรู้ของตนเองเป็นหัวใจสำคัญ เครื่องมือที่ มอส.ใช้ ก็คือ การเสนอรายงานการศึกษาและบทเรียนการทำงาน ที่ได้ให้โจทย์เครื่องมือมาตั้งแต่เริ่มต้น และระหว่างการปฏิบัติงาน ในเวทีนี้องค์กรที่รับอาสาสมัครจะมาร่วมรับฟัง แลกเปลี่ยนมุมมองที่เห็นพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของอาสาสมัคร เป็นการปิดท้ายที่จะเริ่มต้นก้าวต่อไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคง

ประเด็นที่ต้องคิดให้มีอยู่ในระหว่างการสัมมนาทุกครั้ง ตั้งแต่การปฐมนิเทศถึงครบวาระการปฏิบัติงาน คือ การสร้างฐานใจให้เข้มแข็ง การสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งมักจะได้จากการแลกเปลี่ยนกับบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจ จากการได้ไปศึกษาดูงาน ในพื้นที่ ทั้งการลงพื้นที่ไปพบปะกับชุมชน ชาวบ้าน การไปเยี่ยมองค์กรที่เป็นตัวอย่างของการทำงานอย่างมุ่งมั่น และไม่ยอมแพ้ รวมทั้งจากเพื่อนๆ ด้วยกันเองที่มีฐานชีวิตที่ไม่เหมือนกัน เครื่องมือในการสำรวจตนเอง มองตนเองอย่างเท่าทัน เช่น สัตว์ 4 ทิศ (การมองตนเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของสัตว์ 4 ประเภทคือ หมี หนู เหยี่ยว กระทิง) หรือเกมต่างๆ ก็ถูกนำมาใช้ให้สอดคล้อง และที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้เขาสร้างสรรค์ ออกแบบ ที่จะเรียนรู้ สร้างมิตรสัมพันธ์กันเอง

กระบวนการจากการสัมมนาเหล่านี้ เป็นการบ่มเพาะที่สะสมต่อเนื่องควบคู่ไปการเรียนรู้ท่ามกลางการปฎิบัติงาน ซึ่งอาสาสมัครเองจะได้เรียนรู้จากองค์กรจากพี่เลี้ยงในองค์กร จากกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมดจะเป็นเบ้าหลอมให้คิด ให้รู้สึก เมล็ดพันธุ์ของการทำงานเพื่อผู้อื่น เพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่เป็นธรรม สันติ จะเติบโตคู่ไปกับการพัฒนาภายในเพื่อการตระหนักรู้ เท่าทันตนเอง เคารพผู้อื่น อันเป็นหนทางในการพัฒนาสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

New Picture

การติดตามระหว่างการปฏิบัติงาน

การใช้ชีวิตในการทำงานจริง เป็นกระบวนการเรียนรู้ตนเองที่สำคัญ สิ่งที่คาดหวังกับความเป็นจริงมักจะไม่ตรงกันนัก ความคาดหวังของอาสาสมัคร อาจมีมากมายทั้งคาดหวังผู้อื่น คาดหวังกับตนเอง คิดว่าตนเองน่าจะทำได้แต่ก็อาจทำไม่ได้ ถ้าเราไม่เท่าทันตัวเองปรับตัวปรับใจไม่ได้ก็จะทุกข์มาก ถ้าอดทนใช้สติปัญญา หาทางแก้ไข ก็จะเห็นทางออก ดังนั้นพลังภายในที่เข้มแข็ง ความอดทนจะช่วยตนเองได้ การติดตามอาสาสมัคร เป็นตัวช่วยในการรับฟัง ตั้งคำถามเพื่อให้เขาตอบตนเอง ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล

การติดตามอาสาสมัครในพื้นที่ที่ใกล้กันก็สามารถสร้างเป็นกลุ่มการเรียนรู้ของอาสาสมัครได้ เช่นการไปเรียนรู้ ดูงานของเพื่อน การติดตามยังช่วยให้เราได้เข้าใจสถานการณ์ของอาสาสมัคร บางครั้งก็ต้องเข้าไปช่วยในกรณีที่อาสาสมัครไม่สามารถจัดการได้ เช่น ความไม่เข้าใจกันระหว่างอาสาสมัคร และองค์กร หรือองค์กรประสบปัญหาด้านเงินทุนในการดำเนินงาน การสนับสนุนการปฏิบัติธรรมเพื่อฝึกฝนตนเองในด้านลึก ก็เป็นเรื่องที่มอส. ให้สำคัญ และสนับสนุนเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม

ส่วนการติดตาม องค์กรเป็นเรื่องที่จะต้องควบคู่ไปการติดตามอาสาสมัคร เพราะเป็นภารกิจร่วมที่ต้องช่วยกันดูแล คลี่คลายปัญหา ช่วยกันเสริมสร้างอาสาสมัคร วิธีการติดตามมีได้หลายช่องทางในยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งทางโทรศัพท์ Face book, line อย่างไรก็ตามการไปเยี่ยมในพื้นที่ ให้เห็นหน้ากัน ก็เป็นวิธีการที่เราจะเข้าถึงความคิด ความรู้สึก สร้างความไว้วางใจได้ดีที่สุด

indonesia_featured-image

การเสริมสร้าง การเรียนรู้โลก สังคม และจิตอาสา กับคนรุ่นใหม่ในไทย และประเทศเพื่อนบ้าน

หัวใจสำคัญของงานอาสาสมัคร คือ การเรียนรู้โลก สังคม ชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งชีวิตภายในตัวตนของเราเอง การเรียนรู้เหล่านี้ เป็นการเรียนรู้ที่จะบ่มเพาะความคิด จิตใจ นำพาชีวิต ให้ยึดมั่นในการมองเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียม ดำเนินชีวิตที่จะเอื้อต่อผู้อื่น และสังคม อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมที่เป็นสุข และเป็นธรรม ทั้งในระดับชุมชน สังคมไทย สังคมประเทศเพื่อนบ้าน สังคมโลก การเสริมสร้างเยาวชน คนรุ่นใหม่ จึงได้ขยายรูปแบบการทำงาน ไปยังกลุ่มเยาวชน ทั้งในระดับภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้

1. โครงการ Maekong Peace Journey (MPJ) เป็นกระบวนการเรียนรู้คนรุ่นใหม่ 5 คน จากแต่ละประเทศ 5 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ไทย) รวม 25 คนใช้ระยะเวลา 3 อาทิตย์ เป็นการเรียนรู้ทั้งในที่สัมมนาและลงไปเรียนรู้ในชุมชน หลังจากนั้นยังมีกระบวนการคัดเลือก ผู้เข้าร่วม จำนวนหนึ่งแยกย้ายกันไป Internship เรียนรู้ลึกกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ใน 5 ประเทศ เป็นเวลา 3 เดือน มอส. และองค์กรจาก 5 ประเทศ ร่วมกันเป็นคณะทำงานในการออกแบบการเรียนรู้และจัดกิจกรรม ได้จัดกิจกรรมมาแล้ว 3 รุ่น 2 ครั้งแรกจัดที่ประเทศไทย และครั้งที่ 3 จัดที่ประเทศพม่า

เป้าหมายการเรียนรู้ ของ Maekong Peace Journey (MPJ) คือ การเรียนรู้เพื่อก้าวพ้นอคติ เพื่อการเคารพความแตกต่างหลากหลาย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การสร้างสันติภาพ และความเป็นธรรมของสังคมในประเทศ ภูมิภาค และสังคมโลก เนื้อหาการเรียนรู้ประกอบด้วย

• การสร้างความไว้วางใจ
• เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ปัญหาสังคมภูมิภาค รากเหง้าของปัญหา
• การเปลี่ยนแปลงสังคม
• การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
• การสร้างสันติภาพ
• การสื่อสารเพื่อการเคลื่อนไหวทางสังคม

2.โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม รุ่นที่ 1 เริ่มใน ปี 2555 เพื่อเสริมสร้างเยาวชนผู้นำอายุ 18 – 27 ปี จากทั่วประเทศ เป็นหลักสูตรการเรียนรู้ ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ครึ่ง โครงการฯนี้ไม่มีค่ายังชีพ มอส.สนับสนุนการเดินทางมาร่วมการสัมมนาและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม-สัมมนา โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ 6 ครั้ง ดังนี้

• หลักสูตรที่ 1 รู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น การสร้างเครือข่าย เข้าใจจุดเปลี่ยน
• หลักสูตรที่ 2 การเข้าใจสังคม การวิเคราะห์ การพัฒนาที่ยั่งยืน และปฏิบัติการจิตอาสาเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
• หลักสูตรที่ 3 สุนทรียสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่
• หลักสูตรที่ 4 การสื่อสารทางสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลง
• หลักสูตรที่ 5 การเรียนรู้ ดูงาน ประเทศเพื่อนบ้าน
• หลักสูตรที่ 6 การถอดบทเรียน การเปลี่ยนแปลงชีวิตและสังคม

โครงการฯยังได้ส่งเสริม ให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาโครงการย่อยๆ เป็นโครงการสร้างสรรค์ที่จะเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับต่างๆ จากระดับย่อยสู่ระดับใหญ่ กิจกรรมสุดท้าย คือ การที่กลุ่มผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะช่วยกันออกแบบกิจกรรมการสื่อสารสาธารณะ เสนอผลงาน เพื่อให้เยาวชน สังคม ได้เข้าใจ และเห็นพลังของคนรุ่นใหม่ และปฏิบัติการเพื่อให้งานลุล่วงตามเป้าหมาย ถึงแม้ว่ารูปแบบการเรียนรู้จะเปลี่ยนไปจากงานอาสาสมัครเต็มเวลา แต่จุดมุ่งหวังของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ทั้งโครงการในประเทศ และภูมิภาค เหล่านี้ยังมุ่งสู่การบ่มเพาะ ความเข้าใจในตนเอง สังคม และการปฏิบัติงานด้วยใจอาสาสมัคร เพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้ตระหนักถึงพลังตนเอง และเห็นพลังกลุ่มในการสร้างสรรค์สังคม รวมทั้งยังใช้หลักคิดในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องหัว มือ ใจ กัลยาณมิตร และการให้ความสำคัญกับกระบวนการติดตาม การสร้างการมีส่วนร่วม ยังเป็นหลักคิดเดียวกันกับงานอาสาสมัครเต็มเวลา

phil_01

คุณค่างานอาสาสมัคร

มอส. เชื่อมั่นว่า กระบวนการอาสาสมัครที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นกระบวนการเรียนรู้โลก สังคม และผู้คน เป็นการเรียนรู้ที่จะแบ่งปันให้กับผู้อื่น เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้มองเห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง การมองเห็นว่าความยากจน ความทุกข์ยากของผู้คนที่ดำรงอยู่นั้น เป็นเพราะอะไร มีสาเหตุรากเหง้าจากอะไร เรามีส่วนสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับปัญหาต่างๆ ในสังคมหรือไม่ เราจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมและสงบสุขได้อย่างไร เป็นกระบวนการของการสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สร้างคนให้เห็นคุณค่าของตนเอง เห็นคุณค่าของคนอื่น เคารพคนอื่นอย่างจริงใจ ไม่แยกเพศชนชั้น ศาสนา และวัฒนธรรม ฯลฯ

ผลที่เกิดขึ้น

อาสาสมัครนักพัฒนาที่ครบวาระแล้วกว่า 600 คน ประมาณ 300 คน ยังทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ประเด็นทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (ที่ดิน ป่า ทะเล) เกษตรกรรมยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน การคุ้มครองและสิทธิผู้บริโภค แรงงานข้ามชาติ แรงงานนอกระบบ คนจนเมือง สื่อทางเลือก พลังงานทางเลือก เกษตรกรรมที่ยั่งยืน การศึกษาทางเลือก เอดส์ เด็กและเยาวชน ผู้หญิง พนักงานบริการ อดีตอาสาสมัครในรุ่นต้นๆ เป็นแกนสำคัญในการขับเคลื่อนงานในประเด็นต่างๆ เช่นเรื่องการศึกษาทางเลือก พลังงานทางเลือก ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม อาสาสมัครนักกฏหมายสิทธิมนุษยชนกว่า 100 คน 60 เปอร์เซ็นต์ยังทำงานในองค์กร เป็นทนายความสิทธิมนุษยชน เป็นกำลังขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชน งานปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริง

การส่งเสริมการเรียนรู้สังคม และจิตอาสา ของเยาวชน นักศึกษา ทุกฝ่ายต้องช่วยกันอย่างจริงจัง : ประเด็นท้าทายของสถาบันอุดมศึกษา
การเป็นอาสาสมัครเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อประโยชน์ให้กับทั้งตนเอง และสังคม การสร้างพลเมืองที่รู้จักทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาเปรียบ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันโดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจในการสร้างความรู้ สร้างความคิด มีจุดอ่อนในเรื่องการสร้างฐานใจ นักเรียนนักศึกษา จึงกลายเป็นผู้แข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ มากกว่าเป็นผู้รู้จักแบ่งปันเพื่อนมนุษย์ การเป็นอาสาสมัครเป็นวิธีการที่ง่ายสุดในการสร้างคน แต่ก็ไม่ง่ายนักที่สร้างคนให้คงสำนึกจิตอาสาอย่างมั่นคงในท่ามกลางกระแสทุนนิยมที่เร่งเร้าหรือกระตุ้นให้ผู้คนอยากบริโภคเกินความจำเป็น ดังนั้นกระบวนการอาสาสมัคร ไม่ใช่มองเห็นแค่ว่าให้นักเรียน นักศึกษาไปทำกิจกรรมเป็นครั้งๆ ไป แต่ต้องเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน เป็นนโยบาย มีกลไกมีหน่วยงานรองรับ เพื่อพัฒนากระบวนการอาสาสมัคร ที่ต้องถูกคิด และปฏิบัติการอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ด้วยบุคคล องค์กร หลายฝ่ายทั้งในและนอกสถาบัน เพื่อให้งานอาสาสมัครนั้นสามารถหล่อหลอมจิตใจได้อย่างแท้จริง

227465_10150166365517864_141076287863_6891687_1043168_n

รูปแบบของโครงการอาสาสมัครเพื่อสังคม ที่นำเสนอมานี้ เป็นรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นไปที่บัณฑิตที่จบแล้ว ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องที่จะใช้ชีวิตต่ออีก 1 ปีในฐานะอาสาสมัครเต็มเวลาเพื่อการเรียนรู้สังคมอย่างจริงจัง ได้ฝึกฝนการทำงานจริง มหาวิทยาลัยสามารถสร้างสรรค์งานอาสาสมัครให้อยู่ในเนื้อหาของการเรียนการสอน รวมทั้งสร้างสรรค์ โครงการอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่อง มีการประสานความร่วมมือกับชุมชน องค์กรท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนภายนอก มอส.เชื่อมั่นว่าจะเป็นการรวมพลังของการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพให้กับสังคม และส่งผลไปสู่การสร้างสังคมที่มีคุณภาพต่อไปอย่างแน่นอน

ประเด็นท้าทายของสถาบันการศึกษาคือการสร้างการมีส่วนร่วมของบุคคลากรอาจารย์ นักศึกษา ให้เข้ามีส่วนร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมทำงานอาสารวมทั้งพัฒนานโยบาย กลไกภายในมหาวิทยาลัย ที่จะสนับสนุนการทำงาน เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ขอปิดท้ายด้วยข้อความของอดีตอาสาสมัครรุ่น 1 คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก

“ ….. แม้ปัญหาสังคมจะใหญ่ยิ่งกว่าแบกโลกไว้ทั้งโลก แต่เมื่อมนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราเริ่มอาสาที่จะทำอะไรให้สังคม ดูเหมือนว่าโลกทั้งโลกถูกสั่นสะเทือน ท่ามกลางสังคมที่สลับซับซ้อน มีปัญหาซ่อนเงื่อน ซ่อนปม จนผู้คนขมขื่นกันถ้วนหน้า ไม่มีอัศวินม้าขาวมาแก้ไขอย่างที่มีคนเล่าขาน มีเพียงจิตวิญญาณแห่งอาสาสมัครของคนเล็กคนน้อย อันหลากหลายในสังคม ที่ทุ่มเทกายใจในการทำงานเพื่อสังคมด้วยใฝ่ฝันอยากเห็นสังคมที่ดีงาม มีความเป็นธรรมและยั่งยืน อย่างไม่ลดละกระมัง ที่จะสามารถขุดรากเหง้าของปัญหาปมเงื่อนที่ซ่อนลึก และทลายโขดหินแห่งปัญหาให้ถล่มลงมาได้”

หมายเหตุ บทความนี้ตีพิมพ์แล้วในหนังสือ “เส้นทางการเรียนรู้โลกและสังคมด้วยจิตอาสา” หนังสือประกอบงาน “มหกรรมจิตอาสาในสถานการศึกษา Education Volunteer Expo 2013-2014 ติดตามรายละเอียดได้ที่ FB เพจ มหกรรมจิตอาสาในสถาบันการศึกษาก้าวสู่ปี 2

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai